Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73759
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรพงศ์ ตระการศิรินนท์-
dc.contributor.authorหทัยชนก สีหะวงศ์en_US
dc.date.accessioned2022-08-04T10:28:59Z-
dc.date.available2022-08-04T10:28:59Z-
dc.date.issued2021-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73759-
dc.description.abstractThis research aims to 1) study the role of network partners who conduct development activities into the area of Ban Mae Sa Noi 2) study the Hmong way of life and quality of life of ethnic group Ban Mae Sa Noi, Pong Yaeng Sub district, Mae Rim District, Chiang Mai Province. The qualitative data were collected via in-depth interviews and observations. According to the 12 key informants, these are divided into two groups. The former is four network partners who are government officers involving in a part of development this community. The latter is 8 people, namely community leaders, scholars, villagers and elders from interview resources will be verified as a result of this research will be summarized and presented in a descriptive way. The results of the research revealed that the process of development and the motivation from network partners have impacted on many ways of the Hmong ethnic groups' life, Ban Mae Sa Noi. The results were as follows: 1) costumes, 2) culture and traditions, 3) occupations, and 4) lifestyle and architecture home style. These are led to both of direct and indirect effects from the external agencies and the government which promotes supporting and development into this area. In most case, the operations of government will focus on development and improvement of identity culture, ancient tradition and supporting job opportunities. Moreover, it was significantly realized to improve the standard of living and local infrastructures in order to build a strong community, which could sustainably live with self-independent, and to encourage transferring culture and intellectual life of ethnic Hmong groups to new generations. Referring to the in-depth interviews, community observation and related academic writing, researchers have major conclusions that the network agencies have a strong commitment to encourage the community be employed and emphasize their identity by using the local uniqueness combined with the wisdom of the Hmong ethnic group. Furthermore, the cultural heritage has be appeared to the people through the native products which is beneficial and creates a sense of self-esteem and self- worth. Furthermore, it was found that sufficiency economy approached to developing community, while maintaining the cultural identity of the local preservation group could continuously pass the cultural practices to the next generation.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาพื้นที่สูงของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง บ้านแม่สาน้อย ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeHighland development of Mong ethnic group of Baan Mae Sa Noi, Pong Yeang Subdistrict, Mae Rim District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashม้ง -- ความเป็นอยู่และประเพณี-
thailis.controlvocab.thashม้ง -- อัตลักษณ์ชาติพันธุ์-
thailis.controlvocab.thashม้ง -- แม่ริม (เชียงใหม่)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เข้าไปดำเนินกิจกรรมการพัฒนาในพื้นที่บ้านแม่สาน้อย และ 2) ศึกษาวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง รวมไปถึงคุณภาพชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง บ้านแม่สาน้อย ตำบลโปงแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและจากการสังเกต จากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 12 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือหน่วยงานภาคีเครือข่าย 4 คน ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปดำเนินงานพัฒนาในพื้นที่และภาคชุมชน 8 คน ได้แก่ แกนนำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้อาวุโส จากแหล่งข้อมูลการสัมภาษณ์จะนำมาตรวจสอบความสมบูรณ์ สรุปและนำเสนอในรูปแบบเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า จากกระบวนการพัฒนาและการขับเคลื่อนงาน โดยหน่วยงานภาคีเครือข่ายส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง บ้านแม่สาน้อยนั้น ซึ่งสังเกตข้อค้นพบจาก 1) วิถีชีวิตด้านการแต่งกาย 2) วิถีชีวิตด้านวัฒนธรรมประเพณี 3 วิถีชีวิตด้านการประกอบอาชีพ และ4) วิถีชีวิตลักษณะบ้านเรือน สะท้อนให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลการเปลี่ยนแปลงจากการดำเนินงานของหน่วยงานภายนอก โดยรัฐที่เข้าไปส่งเสริม สนับสนุนและการพัฒนาในพื้นที่บ้านแม่สาน้อย มีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยส่วนใหญ่หน่วยงานจะมีรูปแบบการดำเนินงานของรัฐเน้นที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาส่งเสริมฟื้นฟูอัดลักษณ์วัฒนธรรมและประเพณี และส่งเสริมการมีอาชีพ และรายได้โดยให้ความตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาโครงพื้นฐาน สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพื่อให้ชุมสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน รวมไปถึงส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมภูมิปัญญากลุ่มชาติพันธุ์มั่ง ให้กับคนรุ่นใหม่ได้ปฏิบัติตามประเพณีชนเผ่าม้งอันดีงามต่อไป จากการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตบริบทในชุมชน และเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องผู้ศึกษาได้ข้อสรุปสำคัญเบื้องต้น พบว่า หน่วยงานภาคีเครือข่ายแสดงความมุ่งมั่นเข้าไปผลักดันให้คนในชุมชนมีอาชีพและสามารถลี้ยงตนเองได้ โดยใช้ฐานความเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง ทุนทางวัฒนธรรมที่มีให้เกิดประโยชน์และสร้างความภาคภูมิใจและตระหนักถึงคุณค่าของตนเองรวมไปถึงให้สังคมภายนอกยอมรับวัฒนธรรมอันดีงามเหล่านี้ผ่านผลิตภัณฑ์ของกลุ่มชาติพันธ์ม้ง บ้านแม่สาน้อย นอกจากนี้ ยังพบว่าแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเงื่อนไขสำคัญต่อการพัฒนาของชุมชน พร้อมกับการดำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์จากการรวมกลุ่มอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมที่ได้ดำเนินการถ่ายทอดประเพณีจากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นหลังต่อไปen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621932030 หทัยชนก สีหะวงศ์.pdf897.07 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.