Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73744
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณวิสาข์ ไชยโย-
dc.contributor.authorวีรพงษ์ ศรีสองคอนen_US
dc.date.accessioned2022-07-31T03:59:40Z-
dc.date.available2022-07-31T03:59:40Z-
dc.date.issued2021-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73744-
dc.description.abstractThis research on moral relations between humans and environment regarding pragmatism philosophy of William James has two purposes: one, to study the metaphysical and ethical concepts in his pragmatism and two, to study the moral relations between humans and environment in his philosophy. This research is a qualitative research, mostly a documentary research, conducted by collecting information from books and writing of William James, and other relevant secondary documents. It aims to analyze the relations between humans and environment through Environmental Ethics framework and conclude its result as a descriptive research. From the study, it is found that James views existing things in this universe composed of manifold parts; all exist independently from one another, as equal, and without a domination over others. Nonetheless, these parts do not entirely exist separately from each other. All interact under the laws of nature, e.g., the gravity law, or under the time and space. These relations occur in a form of “and” or “or” only. As a result, nature of things is characterized as “union” of networks of massive relationships, derived from uniform cooperation of minor parts, resulting in diverse and uniform nature at the same time. Another characteristic of things is that it is changeable and evolving all the time. Living and non-living things which exist in the natural world relate and depend on one another under the moral relations of Holism. In Ethics, James believes that the moral consciousness is indistinguishable from human existence. Humans are the origin of all moral thoughts. If this world is without humans, what is deemed as morals is unreal. As such, James denies the absolute morality and a priori morality. Moral consciousness is conceived through social constructs or a posteriori. Criteria in addressing ethical problems are diverse, based on values and beliefs of people in a particular society. Moral criteria are thus measured by practical consequences. Should any moral criteria be able to solve potential conflicts, they would be adequate. Even though humans are capable of defining moral values by themselves, it does not entail that humans are central to the natural world. Humans, animals, and things are parts of the immense natural system and are equitable. Reasoning ability, linguistic articulation, and human culture are only consequences of evolution. They are not a justification for the superior status over other species in nature. James features existing materials in this empirical world as a part of the personal identity of humans, which reflects the inseparable connectivity of humans and things.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความสัมพันธ์ทางศีลธรรมระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมตามแนวทางปรัชญาปฏิบัตินิยมของวิลเลียม เจมส์en_US
dc.title.alternativeMoral relationship between humans and environment according to William James’ pragmatismen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashศีลธรรมจรรยา-
thailis.controlvocab.thashมนุษย์-
thailis.controlvocab.thashอภิปรัชญา-
thailis.controlvocab.thashจริยศาสตร์-
thailis.controlvocab.thashปฏิบัตินิยม-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ทางศีลธรรมระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมตามแนวทางปรัชญาปฏิบัตินิยมของวิลเลียม เจมส์ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทางอภิปรัชญาและจริยศาสตร์ในปรัชญาปฏิบัตินิยมในทรรศนะของวิลเลียม เจมส์ และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางศีลธรรมระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมในปรัชญาปฏิบัตินิยมของวิลเลียม เจมส์ งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Research) โดยการรวบรวมข้อมูลจากหนังสือและงานเขียนของเจมส์ รวมทั้งเอกสารชั้นรองอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางศีลธรรมระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ผ่านกรอบแนวคิดจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม แล้วสรุปผลการวิจัยในเชิงพรรณนา จากการศึกษาพบว่าเจมส์มองสรรพสิ่งที่ดำรงอยู่ในจักรวาลนี้ประกอบขึ้นจากส่วนย่อยที่หลากหลาย ทั้งหมดดำรงอยู่ด้วยความเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กันและกัน มีสถานะที่เท่าเทียม ปราศจากการครอบงำหรือมีอำนาจเหนือส่วนอื่นๆ แต่ส่วนย่อยที่หลากหลายเหล่านั้นก็มิได้ดำรงอยู่โดยแยกขาดจากกันอย่างสิ้นเชิง ทั้งหมดต่างมีปฏิสัมพันธ์กันโดยอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ เช่น กฎแรงโน้มถ่วงหรืออยู่ภายใต้เวลาและอวกาศ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ในรูปแบบ "และ" หรือ "กับ" เท่านั้น ดังนั้นธรรมชาติของสรรพสิ่งจึงมีลักษณะเป็น "สหภาพ" (Union) ของเครือข่ายความสัมพันธ์ขนาดใหญ่ที่เกิดจากการทำงานร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพของส่วนย่อย เป็นผลให้ธรรมชาติมีลักษณะทั้งหลากหลายและเป็นหนึ่งในเวลาเดียวกัน ลักษณะอีกประการหนึ่งของสรรพสิ่งคือมีความเปลี่ยนแปลงและวิวัฒน์ไปสู่สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา สิ่งต่างๆ ทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิตที่ดำรงอยู่ในโลกธรรมชาติจึงมีความเกี่ยวโยงพึ่งพาซึ่งกันและกัน ภายใต้รูปแบบของความสัมพันธ์ทางศีลธรรมแบบองค์รวม (Holism) ในทางจริยศาสตร์เจมส์เชื่อว่าสำนึกทางศีลธรรมเป็นสิ่งที่ไม่อาจแยกขาดจากการมีอยู่ของมนุษย์ได้ มนุษย์เป็นบ่อเกิดของความคิดทางศีลธรรมทั้งปวง หากโลกนี้ปราศจากมนุษย์แล้วสิ่งที่เรียกว่าศีลธรรมก็เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ดังนั้นเจมส์จึงปฎิเสธกฎศีลธรรมสัมบูรณ์ (Absolute morality) และแนวคิดที่มองว่าศีลธรรมเป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนประสบการณ์ (A Priori) จอมมองว่าสำนึกทางศีลธรรมเป็นสิ่งที่เกิดจากกระบวนการหล่อหลอมประกอบสร้างทางสังคมหรือเป็นสิ่งที่มาหลังประสบการณ์ (A Posteriori) เกณฑ์ในการตัดสินปัญหาทางจริยธรรมมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับค่านิยมความเชื่อของคนในสังคมนั้น เกณฑ์ทางศีลธรรมจึงถูกวัดด้วยผลของการปฏิบัติ หากเกณฑ์ทางศีลธรรมรูปแบบใดสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแข้งที่เกิดขึ้น ได้ย่อมถือว่าเป็นเกณฑ์ที่เหมาะสม แม้มนุษย์สามารถกำหนดคุณค่าทางศีลธรรมด้วยตนเอง แต่ไม่ได้เป็นการบอกว่ามนุษย์มีสถานะเป็นศูนย์กลางของโลกธรรมชาติแต่ประการใด มนุษย์ สัตว์ ตลอดจนสรรพสิ่งล้วนเป็นเพียงส่วนย่อยของระบบธรรมชาติขนาดใหญ่ ที่ต่างมีสถานะเท่าเทียมกัน ความสามารถในการใช้เหตุผลการประดิษฐ์ภาษา และวัฒนธรรมของมนุษย์เป็นเพียงผลจากความสามารถของวิวัฒนาการไม่ใช่การยืนยันว่ามนุษย์มีสถานะที่เหนือกว่าสปีชีส์อื่นๆ ในธรรมชาติแต่อย่างใด เจมส์ให้ความสำคัญกับวัตถุที่ดำรงอยู่ในโลกแห่งประสบการณ์นี้ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นอัตลักษณ์บุคคล (Personal identity) ของมนุษย์ ซึ่งเป็นการ สะท้อนว่ามนุษย์และสรรพสิ่งต่างมีความเชื่อมโยงเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันอย่างแยกไม่ออกen_US
Appears in Collections:HUMAN: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610131017 วีรพงษ์ ศรีสองคอน.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.