Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73667
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุษณีย์ จินตะเวช-
dc.contributor.advisorพิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น-
dc.contributor.authorกมลทิพย์ ใจมาคำen_US
dc.date.accessioned2022-07-19T10:25:56Z-
dc.date.available2022-07-19T10:25:56Z-
dc.date.issued2020-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73667-
dc.description.abstractProper family management among caregivers of children with congenital heart disease after cardiac surgery at home may help children recover faster. The objective of this correlational descriptive research was to examine factors related to family management among caregivers of children with congenital heart disease after cardiac surgery.The conceptual framework was based on Family Management Measure (FaMM) (Knafl et al., 2012) combined with a review of literature. The samples, selected purposively, were 85 caregivers of children aged 1 to 6 years old who came for a follow- up visit at the pediatric out-patient department at least 2 weeks after cardiac surgery. Data were collected in 3 hospitals in northern Thailand and a Heart Center in northeastern Thailand from May to November 2020. The research instruments included the Social Support Questionnaire and the Family Management Measure. All of the questionnaires were tested for reliability.Data were analyzed using descriptive statistics, Eta Coefficient, Pearson’s product moment correlation coefficient. Findings revealed that: 1. The total mean scores of family management of caregivers were at a moderate level (X̅ = 136.85, SD = 12.09). The mean score of each of dimension was also at a moderate level: child’s daily life (x̅ = 18.26, SD = 3.05), condition management ability (X̅ = 42.67, SD = 5.65), condition management effort (X̅=11.61, SD= 2.30), family life difficulty (X̅ = 35.19, SD = 8.80) and view of condition impact (X̅ = 29.12, SD = 4.38). 2. Demographic factors of the family, namely siblings, family structure, and usual residence, had no statistical correlation with family management in any aspect (p >.05). Social support showed a statistically significant positive correlation at a moderate level with child’s daily life (r = .50, p < .01), had a statistically significant positive correlation at a high level with condition management ability (r=.51, p < .01) and showed a statistically significant negative correlation at a moderate level with family life difficulty (r =- .34, p < .01). However, social support had no statistical correlation with condition management effort and view of condition impact (p >.05). The findings of this study provide preliminary information of family management and factors related to family management among caregivers of children with congenital heart disease after cardiac surgery. Nurses may use this information to provide social support to caregivers. As such, caregivers may have appropriate family management to care for children after cardiac surgery.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการครอบครัวในผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังผ่าตัดหัวใจen_US
dc.title.alternativeFactors related to family management among caregivers of children with congenital heart disease after cardiac surgeryen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในเด็ก-
thailis.controlvocab.thashกุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ-
thailis.controlvocab.thashเด็ก -- โรค-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการจัดการครอบครัวในดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังผ่าตัดหัวใจขณะอยู่บ้านที่เหมาะสม สามารถช่วยเด็กฟื้นตัวภายหลังผ่าตัดได้เร็ว การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการครอบครัวในผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังผ่าตัดหัวใจ โดยใช้กรอบแนวคิดการจัดการครอบครัวของ คนาเฟิล และคณะ (2012) ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือ ผู้ดูแลหลักของเด็กอายุตั้งแต่ 1 ถึง 6 ปี หลังผ่าตัดหัวใจอย่างน้อย 2 สัปดาห์ที่มาติดตามรักษาในคลินิกเด็กโรคหัวใจและศัลยกรรมโรคหัวใจ แผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 3 โรงพยาบาลในภาคเหนือ และ 1 ศูนย์หัวใจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 จำนวน 85 ราย เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมและแหล่งสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามการจัดการครอบครัว เครื่องมือผ่านการทดสอบคุณภาพด้านความเชื่อมั่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อีต้า สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยการจัดการครอบครัวในผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังผ่าตัดหัวใจ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 136.85 , S.D.=12.09) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าคะแนนเฉลี่ยรายด้านทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านชีวิตประจำวันของเด็ก (x̅ = 18.26, S.D. = 3.05) ด้านความสามารถในการจัดการสภาวะความเจ็บป่วย (X̅ = 42.67, S.D. = 5.65) ด้านความพยายามในการจัดการสภาวะความเจ็บป่วย (X̅ = 11.61, S.D. = 2.30) ด้านความยากลำบากในชีวิตครอบครัว (X̅ = 35.19, S.D. = 8.80) และด้านมุมมองของผลกระทบจากสภาวะความเจ็บป่วย (X̅ = 29.12, S.D. = 4.38) 2. ปัจจัยส่วนบุคคลของครอบครัว ได้แก่ จำนวนพี่น้อง ลักษณะครอบครัว ถิ่นที่อยู่อาศัย ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติ ( p > .05) กับการจัดการครอบครัวในผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังผ่าตัดในทุกด้าน การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับการจัดการครอบครัวด้านชีวิตประจำวันของเด็กในผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังผ่าตัดหัวใจ (r = .50, p < .01) การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูงกับการจัดการครอบครัวด้านความสามารถในการจัดการสภาวะความเจ็บป่วยในผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังผ่าตัดหัวใจ (r=.51, p < .01) การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบระดับปานกลางกับการจัดการครอบครัวด้านความยากลำบากในชีวิตครอบครัวในผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังผ่าตัดหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =- .34, p < .01) แต่การสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กันทางสถิติ (p >.05) กับการจัดการครอบครัวด้านความพยายามในการจัดการสภาวะความเจ็บป่วยและด้านมุมมองของผลกระทบจากสภาวะความเจ็บป่วยในผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังผ่าตัดหัวใจ ผลการวิจัยในครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานการจัดการครอบครัวและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการครอบครัวในผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังผ่าตัดหัวใจ พยาบาลอาจใช้ข้อมูลนี้สำหรับส่งเสริมและให้การสนับสนุนทางสังคมแก่ผู้ดูแล เพื่อให้มีการจัดการครอบครัวในการดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดภายหลังผ่าตัดที่เหมาะสมen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611231051 กมลทิพย์ ใจมาคำ.pdf13.34 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.