Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73661
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย-
dc.contributor.advisorศันสนีย์ จำจด-
dc.contributor.advisorต่อนภา ผุสดี-
dc.contributor.authorเอกพันธ์ แซ่ย่างen_US
dc.date.accessioned2022-07-18T10:52:10Z-
dc.date.available2022-07-18T10:52:10Z-
dc.date.issued2020-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73661-
dc.description.abstractThe large agriculture area is getting high risk of potassium (K) deficiency due to the intensive cultivation of the modern rice varieties with high yield, while K is applied into the crop lower than its uptake resulting in decreases potassium in soil, crop productivity and quality. Therefore, supplying K fertilizer into the cultivation soil has become important in rice crop to achieve the desirable productivity. However, there is a limit information on source and rate of K fertilizer that could be potentially applied into rice crop for approaching grain yield and quality. The objective of this study was to determine the effects of K fertilizer source and rates on yield and quality of Chai Nat 1 rice grain. The experiment was conducted at Mae Hia Agricultural Research, Demonstration and Training center, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University during August 2018 to December 2019. The experiment was divided into two parts, field and greenhouse conditions. The field experiment was arranged in randomized completely block design (RCBD) with four replications. The four source of K were 1. Muriate of potash (MOP) 2. Polyhalite (POLY4) 3. MOP with ammonium sulfate (AS) 4. MOP with POLY4 and three rates of K consisted of 20, 40, and 60 K2O/ha. Potassium fertilizer was applied to the soil in all treatments except control. The greenhouse experiment was set in 4×2 factorial in completely randomized design (CRD) with 4 replications. The first factor was four source of K including MOP, POLY4, MOP with AS, and MOP with POLY4. The second factor was two water conditions including waterlogged and well-drained. Potassium fertilizer was applied at 60 kg K2O/ha to the soil in all treatments except control. The field experiment, grain yield, straw dry weight and yield components were not affected by sources and rates of K fertilizers but they were affected on the concentration and total uptake of rice plants. Applying all forms of K at 60 kg K2O/ha had K concentration in the straw and K uptake in the shoot higher than the control, ranging from 18 to 28% and from 33 to 47%, respectively. The greenhouse experiment, grain yield and straw dry weight were affected differently by K source and water conditions but no interaction effects between the factors was found. Applying K in MOP with AS increased grain yield and straw dry weight by 31% and 22%, respectively compared with the control, while no significant difference in the other K sources were found. Applying K in all treatments resulted in higher number of tillers per plant and panicles per plant than the control, except in MOP. Rice plants grown under waterlogged condition had 23% and 24% grain yield and straw dry weight higher than that of the well-drained treatment, respectively. Similarly, the higher culm length, number of tillers per plant, number of spikelets per panicle and grain weight were found in rice plants grown under the waterlogged condition. Grain yield was positive correlated with yield components in all parameters. The interaction between K sources and water conditions had significantly influenced on K concentrations and uptake in the stem of rice during booting stage. Applying all forms of K under waterlogged condition had K concentration and uptake higher than the control, ranging from 24 to 41% and from 45 to 47%, respectively except in MOP. In booting stage, the leaf K concentration of rice plants applied with MOP +AS and MOP + POLY4 had the highest K concentration which was 14% and 25% higher than the control, respectively and the total K uptake was 141 mg per plant. The water conditions had influenced on K concentration and uptake in different plant parts differently during plant growth. At maturity, rice plants grown under the waterlogged had K concentration in the stem, leaf, and flag leaf and total uptake higher than that of the well-drained condition. Grain yield was significantly positive correlated with K concentration in the leaf at booting stage, in the stem at 50% flowering stage and in the leaf and flag leaf at maturity. Increasing K concentration in the stem and leaf in all growth stages and in the flag leaf at maturity could increase grain yield in rice crop. However, no effect of K sources and water conditions on rice milling quality was found in this study. This study suggests that the productivity the rice variety Chai Nat 1 can be improved by growing under the waterlogged condition rather than the well-drained condition. Even though, applying K fertilizer into rice crop in the form of POLY4 resulted in the highest productivity, but the selection of K sources should also consider together with some other factors such as fertilizer cost and practically use in the fields. The K source of MOP should be applied into rice crop together with AS. However, the experiment should be confirmed by carrying on the similar experiment in the field condition and increasing number of varieties to obtain the responsive data among different rice varieties.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมต่อผลผลิตและคุณภาพของเมล็ดข้าว พันธุ์ชัยนาท 1en_US
dc.title.alternativeEffects of potassium fertilizer application on yield and quality of ‘Chai Nat 1’ Rice Grainen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashข้าว -- เมล็ดพันธุ์-
thailis.controlvocab.thashข้าว -- เมล็ดพันธุ์ -- คุณภาพ-
thailis.controlvocab.thashปุ๋ยโพแทสเซียม-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractปัจจุบันพื้นที่ดินส่วนใหญ่ที่เหมาะกับการเพาะปลูกพืชมีปัญหาการขาดโพแทสเซียมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการปลูกข้าวพันธุ์สมัยใหม่ที่ให้ผลผลิตสูงอย่างต่อเนื่อง แต่การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมในดินต่ำกว่าการดูดใช้ของพืช ทำให้ปริมาณโพแทสเซียมในดินลดลง ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพเมล็ดข้าว การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมจึงมีความจำเป็นเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตของข้าวที่มีความต้องการโพแทสเซียมในปริมาณมาก แต่ยังขาดข้อมูลบ่งชี้ว่าการใช้โพแทสเซียมในรูปแบบใดและอัตราส่วนเท่าไรที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการดูดใช้ การสร้างผลผลิตและคุณภาพเมล็ดข้าว ดังนั้นการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอิทธิพลของชนิดและอัตราการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมต่อผลผลิตและคุณภาพของเมล็ดในพันธุ์ข้าวชัยนาท 1 ทดลอง ณ ศูนย์วิจัยสาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 โดยแบ่งทดลองใน 2 สภาพคือ การทดลองในสภาพแปลงและโรงเรือน การทดลองในสภาพแปลงวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อค (RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วยปุ๋ยโพแทสเซียม 4 ชนิด คือ 1. Muriate of potash (MOP) 2. โพลีฮาไลท์ (POLY4) 3. MOP ร่วมกับแอมโมเนียมซัลเฟต (AS) 4. MOP ร่วมกับ POLY4 และอัตราปุ๋ยโพแทสเซียม 3 ระดับ คือ 20, 40 และ 60 กิโลกรัมโพแทสเซียมออกไซด์ต่อเฮกตาร์ โดยทุกกรรมวิธีได้รับปุ๋ยโพแทสเซียม ยกเว้นกรรมวิธีควบคุม การทดลองในสภาพโรงเรือนมีการจัดชุดการทดลองแบบ 4×2 แฟคทอเรียลสำหรับการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) จำนวน 4 ซ้ำประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่ 1 ชนิดปุ๋ยโพแทสเซียมจำนวนทั้งหมด 4 ชนิด คือ 1. MOP, 2. POLY4, 3. MOP ร่วมกับ AS และ4. MOP ร่วมกับ POLY4 ปัจจัยที่ 2 การจัดการสภาพน้ำ 2 แบบ ได้แก่ น้ำขังและไม่ขังน้ำ โดยทุกกรรมวิธีได้รับปุ๋ยโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์เท่ากันในอัตรา 60 กิโลกรัมโพแทสเซียมออกไซด์ต่อเฮกตาร์ การทดลองในสภาพแปลง พบว่า ชนิดและอัตราการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมไม่มีผลต่อผลผลิตเมล็ด น้ำหนักแห้งฟาง และองค์ประกอบผลผลิต ในข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 แต่มีอิทธิพลต่อความเข้มข้นโพแทสเซียมในฟางและการดูดใช้โพแทสเซียมในต้นข้าว พบว่าการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมทุกชนิดที่อัตรา 60 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ ทำให้ความเข้มข้นโพแทสเซียมในฟางและการดูดใช้โพแทสเซียมในต้นข้าวมากกว่ากรรมวิธีควบคุมอยู่ในช่วง 18–28% และ 33–47% ตามลำดับ ส่วนการทดลองในสภาพโรงเรือน พบว่า ชนิดปุ๋ยโพแทสเซียมและสภาพการจัดการน้ำมีอิทธิพลต่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตในข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 โดยการใส่ปุ๋ย MOP ร่วมกับ AS ทำให้ผลผลิตเมล็ดและน้ำหนักแห้งฟางเพิ่มขึ้น 31% และ 22% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม แต่ไม่พบความแตกต่างในกรรมวิธีการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมชนิดอื่น และพบว่าการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมทำให้ข้าวมีจำนวนหน่อต่อต้นและจำนวนรวงต่อต้นมากกว่ากรรมวิธีควบคุม ยกเว้นการใส่ปุ๋ย MOP เพียงชนิดเดียวเท่านั้น สภาพการปลูกแบบน้ำขังทำให้ผลผลิตเมล็ดและน้ำหนักแห้งฟางเพิ่มขึ้นมากกว่าการปลูกแบบไม่ขังน้ำ 23% และ 24% ตามลำดับ การปลูกแบบน้ำขังทำให้ข้าวมีความสูงของต้น จำนวนหน่อต่อต้น จำนวนเมล็ดดี และน้ำหนักเมล็ดสูงกว่าการปลูกแบบไม่ขังน้ำ พบว่าผลผลิตเมล็ดมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับองค์ประกอบผลผลิตทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่าง 2 ปัจจัย ต่อความเข้มข้นและการดูดใช้โพแทสเซียมในลำต้นข้าวระยะตั้งท้อง โดยการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมภายใต้สภาพการปลูกแบบน้ำขังทำให้ความเข้มข้นและการดูดใช้โพแทสเซียมมากกว่ากรรมวิธีควบคุมอยู่ในช่วง 24-41% และ 45-47% ตามลำดับ ยกเว้นการใส่ปุ๋ย MOP เพียงชนิดเดียว ส่วนความเข้มข้นโพแทสเซียมในใบข้าวในระยะตั้งท้อง พบว่าการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมชนิด MOP ร่วมกับ AS และ MOP ร่วมกับ POLY4 มีความเข้มข้นโพแทสเซียมในใบสูงสุดมากกว่ากรรมวิธีควบคุมเท่ากับ 14% และ 25% ตามลำดับ และพบว่ามีการดูดใช้โพแทสเซียมเฉลี่ย 141 มิลลิกรัมต่อต้น ส่วนสภาพการจัดการน้ำ พบว่า การปลูกแบบน้ำขังมีความเข้มข้นและการดูดใช้โพแทสเซียมในลำต้น ใบ และใบธงข้าวในระยะสุกแก่มากกว่าการปลูกแบบไม่ขังน้ำ โดยผลผลิตเมล็ดข้าวมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเข้มข้นโพแทสเซียมในใบข้าวในระยะตั้งท้อง ในลำต้นข้าวในระยะดอกบานประมาณ 50% รวมถึงใบและใบธงข้าวในระยะสุกแก่ ดังนั้นการเพิ่มความเข้มข้นโพแทสเซียมในลำต้นและใบ รวมถึงความเข้มข้นโพแทสเซียมในใบธงข้าวในระยะสุกแก่สามารถทำให้เพิ่มผลผลิตเมล็ดได้ อย่างไรก็ตามไม่พบอิทธิพลของชนิดปุ๋ยโพแทสเซียมและสภาพการจัดการน้ำต่อคุณภาพการขัดสีเมล็ดข้าว ดังนั้นเมื่อพิจารณาผลผลิตของข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 จากการผลการทดลองสรุปได้ว่าสภาพน้ำขังมีความเหมาะสมมากกว่าการปลูกแบบไม่ขังน้ำ ส่วนการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมชนิด POLY4 เพื่อเป็นแหล่งโพแทสเซียมสามารถทำให้ข้าวมีผลผลิตมากกว่าการใส่ปุ๋ย MOP อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมเพื่อนำมาใช้ในการเพิ่มผลผลิตข้าวควรคำนึงถึงปัจจัยด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ต้นทุน และความเป็นไปได้ในการนำไปประยุกต์ใช้ และหากต้องมีการใส่ปุ๋ย MOP ในนาข้าวอาจใส่ร่วมกับปุ๋ย AS ที่เป็นแหล่งของไนโตรเจนด้วย อย่างไรก็ตาม ควรทำการทดลองซ้ำในสภาพแปลงเพื่อยืนยันผลการทดลองและเพิ่มจำนวนพันธุ์ข้าวในการทดสอบเพื่อบ่งชี้การตอบสนองของข้าวพันธุ์ต่าง ๆ ร่วมด้วยen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610831020 เอกพันธ์ แซ่ย่าง.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.