Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73475
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพจนา พิชิตปัจจา-
dc.contributor.authorศรัณย์ เทพมาen_US
dc.date.accessioned2022-06-30T10:08:35Z-
dc.date.available2022-06-30T10:08:35Z-
dc.date.issued2021-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73475-
dc.description.abstractA study on Transparency and Performance Relations of Local Administrative Organizations in Chiang Mai Province aims to (1) study the performance efficiency level of local administrative organizations in Chiang Mai Province, (2) to analyze the relationship between the result of the integrity and transparency assessment and the performance efficiency of local administrative organizations in Chiang Mai Province, and (3) to analyze other factors that affect to the performance efficiency of local administrative organizations in Chiang Mai Province. In this study, the researcher selected the quantitative method by using the dependent variable data analysis model as the fraction or percentage. The researcher aims to analyze the integrity and transparency level relating to the performance efficiency of local administrative organizations in Chiang Mai Province. According to the sampling of this study, the researcher selects 210 local administrative organizations in Chiang Mai Province, including 1 city municipality, 4 town municipalities, 116 subdistrict municipalities, and 89 subdistrict administrative organizations, except Chiang Mai Provincial Administrative Organization. This study gathers secondary data from reliable sources. The data consist of the local performance assessment (LPA) of local administrative organizations for the fiscal year of 2019, the result of the integrity and transparency assessment in the government agencies performance (ITA) for the fiscal year of 2019, organization types, local government revenues and expenditures, area size, population, expenditure budget, number of staff, and distance. The results of this study showed that, first, all local administrative organizations in Chiang Mai Province passed the minimum standard of LPA identified by the Department of Local Administration. The results in all aspects on average were at an excellent level. Considering each aspect this study further found that the third aspect was at a good level and the first, second, fourth, and fifth were at an excellent level. Specifically, the Suthep Subdistrict Municipality, Mueang Chiang Mai District, had the highest points of the LPA compared to others. On the other hand, Hot Subdistrict Administrative Organization, Hot District, bad the lowest LPA score compared to others. Second, the ITA is significantly related to the LPA, suggesting that when the local administrative organizations have high transparency level, their efficiency increase rather than others. Finally, the organizational type, total local expenditure per capita, and population were also significantly associated with the increase of local organization's performance. However, an increase in staff number caused a decrease in local administrative organization performance efficiency. In conclusion, this study indicated the necessity of enhancing local administrative organization's performance consistent with the LPA indicator and the suggestions for increasing sustainable efficiency in the long run. For further study, the researcher might study the other factors such as leadership or administrator attitude to achieve the essential data for improving the higher efficiency, or study on the same topic but scale up the population scope to the entire country.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความสัมพันธ์ของความโปร่งใสและผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeTransparency and performance relations of Local Administrative Organizations in Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashการปกครองท้องถิ่น -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการทุจริตและประพฤติมิชอบ-- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการบริหารรัฐกิจ-- เชียงใหม่-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ของความโปร่งใสกับผลการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ (2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการทำงานกับประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ และ (3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยเลือกใช้รูปแบบการศึกษาเชิงปริมาณ โดยใช้ตัวแบบการวิเคราะห์ ข้อมูลตัวแปรตามที่เป็นเศษส่วนหรือร้อยละ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาวิเคราะห์ระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการทำงานที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกบาครั้งนี้ผู้วิจัยได้เลือกใช้กลุ่มตัวอย่างคือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ ยกเว้นองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งสิ้นจำนวน 210 แห่ง ประกอบด้วยเทศบาลนคร 1 แห่ง, เทศบาลเมือง 4 แห่ง, เทศบาลตำบล 116 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 89 แห่ง โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในระดับทุติยภูมิจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ได้แก่ ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการทำงานของหน่วยงานภาครัฐประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562, ผลการประเมินประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562, ประเภทขององค์กร, รายรับและรายจ่ายของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ขนาดของพื้นที่, จำนวนประชากร, จำนวนบุคลากร, และระยะทางห่างจากตัวจังหวัด ผลการศึกษาพบว่า (1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ทุกแห่งมีผลการประเมินประสิทธิภาพในการทำงานในภาพรวมผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำตามที่กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด โดยมีผลการประเมินทุกด้านเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่ 3 มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี และด้นที่ 1, 2, 4, และ 5 มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก โดยเทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ มีผลการประเมินภาพรวมสูงที่สุด ส่วนองค์การบริหารส่วนตำบลฮอด อำเภอฮอด มีผลการประเมินภาพรวมต่ำที่สุด (2) ตัวแปรการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ มีความสัมพันธ์แบบแปรผันตรงกับประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความโปร่งใสในการทำงานสูง จะทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้นเช่นกัน และ (3) เมื่อพิจารณาตัวแปรด้านปัจจัยกายภาพขององค์กร พบว่า ตัวแปรประเภทขององค์กร, ตัวแปรรายจ่ายรวมต่อหัวประชากร และตัวแปรจำนวนประชากรที่มีค่าเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้ามพบว่าค่าของตัวแปร จำนวนบุคลากรที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลดลง ส่วนตัวแปรอิสระอื่น ๆ ไม่มีผล โดยสรุปแล้วการศึกษาครั้งนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการยกระดับประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดประสิทธิภาพการทำงาน และการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานที่ยั่งยืนในระยะยาว สำหรับการศึกษาในครั้งต่อไปควรจะศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น ภาวะผู้นำหรือทัศนคติของผู้บริหาร เพื่อให้ให้ข้อมูลที่สามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาระดับประสิทธิภาพให้สูงยิ่งขึ้น หรือทำการศึกษาในลักษณะเดียวกันแต่ขยายกลุ่มเป้าหมายในทั่วประเทศต่อไปen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621932024 ศรัณย์ เทพมา.pdf13.59 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.