Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73461
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล | - |
dc.contributor.advisor | สุรพล เศรษฐบุตร | - |
dc.contributor.advisor | ต่อนภา ผุสดี | - |
dc.contributor.author | ชฎาพร พรหมเผ่า | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-06-27T10:41:40Z | - |
dc.date.available | 2022-06-27T10:41:40Z | - |
dc.date.issued | 2020-11 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73461 | - |
dc.description.abstract | The objective of this research were to 1) some basic socio-economic characteristics of farmers in Hang Dong District. 2) Wellness of farmers in Hang Dong district Chiang Mai province and 3) factors related to the wellness of farmers in Hang Dong district. Chiang Mai Province, The population used in the study was rice farmers in Hang Dong district. Chiang Mai Province 1,700 registered with the Hang Dong District Agricultural Office Planting year 2017/2018. The sample size was determined by using the formula of Taro Yamane at the 93% confidence level, receiving 183 samples. The data were collected using an interview form with reliability equal to 0.825. The data collection between April 2018 and May 2018. The data were analyzed by using descriptive statistics such as frequency percent, average, maximum, minimum, standard deviation, and used stepwise multiple regression analysis to test the hypothesis, which can be summarized as follows. The results revealed that the farmers were male, with an average age of 58.35 years old, and had finished education at the primary level. The farmers had experienced of rice cultivation in average of 34.50 years. In 2017/2018, farmers had an average household income of 107,693.99 Baht. They had an income from the average rice planting of 33,195.41 Bath and an outcome from the average rice planting of 5,427.32 Bath. And the farmers had debt for an average of 97,590.00 Bath. , which farmers had an average agricultural area of 7.10 rai, most of the farmers 78.80 percent. It was popular to grow sticky rice species of San Pa Tong 1 only. The average rice yield was 696.40 kg / rai. Most farmers rented land for agriculture and used farm labor in their households. From the study of sources funds used by farmers to grow rice, it was found that most of them 74.30% use their own capital to grow rice. And the most farmers do not had a social position. According, To the study of farmers' treatment of diseases (from June 2017 to interview date), it was found that 77.60% of farmers had never received treatment for disease but if there is a need for treatment, most of the farmers, 96.7 percent, use the district hospital services mainly. Which most farmers do not have any underlying disease. And the important sources of information on rice cultivation are agricultural extension officers, broadcasting towers, other farmers, radio and television, respectively. The level of wellness of farmers in HangDong district, Chiang Mai Province In this research, the level of wellness of farmers was classified into 4 as follows: 1) Physical wellness 2) Mental wellness 3) Social wellness 4) Spiritual wellness, was found that the farmers had the average level overall moderate (mean score 2.83). The results were as follows: 1) Farmers had the Physical wellness level was moderate (mean score 3.33) 2) Farmer had the Mental wellness level was a moderate (mean score 3.25) 3) Farmer had the Social wellness level was a moderate (mean score 3.10). And 4) Farmer had the Spiritual wellness level was a moderate (mean score 2.94), respectively From the hypothesis testing, it was found that the related factors to the wellness of farmers in Hangdong District, Chiang Mai Province were as follows Physical wellness found that 2 independent variables were related to the level of Physical wellness with a value of R2 equal to 0.047, which could explain the relationship between the independent variable and the dependent variable 4.70%, namely 1) Land ownership was positively related to the Physical wellness of farmers in Hang Dong district. Chiang Mai Province and 2) The rice plantation area size was significantly associated with the Physical wellness of farmers in Hang Dong district. Chiang Mai Province statistically significant at the level of 0.01 Mental wellness that there was 1 independent variable that was associated with the level of Mental wellness with a value of R2 equal to 0.071, which could explain the relationship between the independent variable and the dependent variable. 7.10% was an outstanding debt burden. There was a negative relationship with the mental health of farmers in Hang Dong district. Chiang Mai Province statistically significant at the level of 0.01 Social wellness found that 2 independent variables correlated with the Social wellness with a value of R2 equal to 0.064, which could explain the relationship between the independent variable and the dependent variable 6.40%, namely 1) The experience of rice cultivation was positively related to the Social wellness of farmers in Hang Dong district. Chiang Mai Province At the level of 0.01 and 2) Income from rice cultivation was positively related to the Social wellness of farmers in Hang Dong district. Chiang Mai Province statistically significant at the level of 0.01 Spiritual wellness that there was 1 independent variable that was associated with the Spiritual wellness with R2 of 0.043, which could explain the relationship between the independent variable and the dependent variable. 4.30% was the experience of rice cultivation related to the Spiritual wellness of farmers in Hang Dong district. Chiang Mai Province statistically significant at the level of 0.01 In this study, problems found that the most farmers faced a shortage of quality seeds. And not enough Faced with the problem of rice production damaged by natural disasters, which tends to happen frequently continuously both from long-standing floods, drought, disease and insect infestations Causing damage to farmers' rice yields Farmers with existing debts. When faced with natural disasters crisis often unable to cope with the problems that arise As a result, the need to borrow money to invest more. Moreover, the production cost is high. When changing the production system to modern production but there is no control on the price of the production factor. In addition, farmers have to use higher amounts of inputs every year. To accelerate the maintenance of the soil to get good produce, farmers have higher production costs every year, there is no decrease, and farmers are faced with unstable production prices. The needs of the farmers found that they needed to support the villagers to manage rice varieties by themselves. By emphasizing the potential of farmers as self-managers and want the government to support in terms of academics in selecting good rice varieties and suitable for each area. Product insurance from natural disasters when problems arise, resulting in higher production costs. From re-investment Or loss due to unable to harvest produce make farmers need Product assurance from natural disasters In addition, farmers also need to promote a group of farmers so they can negotiate prices and sell their produce. And promoting knowledge about the use of agricultural technology to reduce costs In addition, farmers also want to tackle debt problems. Rapid economic and social changes Farmers therefore have to adjust the methods of growing rice. To be able to adapt to changing situations Using external inputs that requires more investment And more importantly, due to the decline in rice prices Farmers therefore have incomes that are insufficient with essential expenses. Need to borrow debt to spend in the family and use it for the next investment. The suggestion of this study found that: 1) Should promote knowledge and understanding about various aspects of health To achieve a deeper understanding in order to create a positive attitude for the target group Both rice farmers household members of rice farmers and the children of rice farmers and 2)Government officials or involved officials should give priority, especially encouraging farmers to use more machinery that will help compensate for the decline in labor This will lead to the development of technologies and innovations that will help the agricultural sector become more productive with less dependence on labor and 3)The most of the farmers are elderly and have a lot of experience in growing rice. But at the same time, the farmers' heirs are not interested in growing rice. Therefore, there should be a stimulus or promotion for the development or modern ideas from the new generation. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาวะของเกษตรกรในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Factors related to wellness of farmers in Hang Dong District, Chiang Mai Province | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | เกษตรกร | - |
thailis.controlvocab.thash | คุณภาพชีวิต | - |
thailis.controlvocab.thash | เครื่องชี้ภาวะสุขภาพ | - |
thailis.controlvocab.thash | คุณภาพชีวิต | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานบางประการทางเศรษฐกิจและ สังคมของเกษตรกรในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 2) ระดับสุขภาวะของเกษตรกรในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาวะของเกษตรกรในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 1,700 ราย ที่ขึ้นทะเบียนกับสานักงานเกษตรอำเภอหางดง ปี การเพาะปลูก 2560/2661 การคำนวณ ขนาดกลุ่มตัวอย่างได้ปรับใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ระดับความเชื่อมั่น 93% ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 183 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.825 ในการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอ้างอิงเพื่อทดสอบ สมมติฐานการวิจัยโดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ซึ่งสามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุเฉลี่ย 58.35 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวของเกษตรกรเฉลี่ย 34.50 ปี ในปีการเพาะปลูก 2560/2561 มีรายได้ ทั้งหมดของครัวเรือนเฉลี่ย 107,693.99 บาท โดยเกษตรกรมีรายได้จากการปลูกข้าวเฉลี่ย 33,195.41 บาท มีรายได้จากนอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 5,427.32 บาท และมีหนี้สินคงค้างเฉลี่ย 97,590.00 บาท ซึ่งเกษตรกรมีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 7.10 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 78.80 นิยมปลูกข้าวเหนียวพันธุ์สันป่าตอง 1 เพียงอย่างเดียว โดยมีผลผลิตข้าวเฉลี่ย 696.40 กิโลกรัม/ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่เช่าที่ดินเพื่อการเกษตรและใช้แรงงานการเกษตรในครัวเรือน จากการศึกษาแหล่ง ทุนที่เกษตรกรนามาใช้ในการปลูกข้าว พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 74. 30 ใช้ทุนตัวเอง ในการปลูกข้าว และเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางสังคม จากการศึกษาการเข้ารับการรักษาโรค ของเกษตรกร(ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 ถึงวันสัมภาษณ์) พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 77.60 ไม่เคยเข้ารับการรักษาโรค แต่หากมีความจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาโรคโดยเกษตรกรส่วน ใหญ่ร้อยละ 96.7 จะใช้บริการโรงพยาบาลประจำอำเภอเป็ นหลัก ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีโรค ประจำตัว และแหล่งข้อมูลข่าวสารด้านการปลูกข้าวที่สาคัญ คือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร หอ กระจายข่าว เกษตรกรรายอื่นๆ วิทยุ และโทรทัศน์ ตามลำดับ จากการศึกษาระดับสุขภาวะของเกษตรกรในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผู้วิจัยได้จัด ระดับสุขภาวะออกเป็น 4 ประเด็น ประกอบด้วย 1) สุขภาวะทางกาย 2) สุขภาวะทางจิต 3) สุขภาวะ ทางสังคม และ4) สุขภาวะทางปัญญา พบว่า เกษตรกรมีระดับสุขภาวะภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (คะแนนเฉลี่ย 2.83) โดยสามารถแสดงผลได้ดังนี้ 1) เกษตรกรมีระดับสุขภาวะทางกายอยู่ในระดับ ปานกลาง (คะแนนเฉลี่ย 3.33) 2) เกษตรกรมีระดับสุขภาวะทางจิตอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.25) 3) เกษตรกรมีระดับสุขภาวะทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.10) และ 4) เกษตรกรมีระดับสุขภาวะทางปัญญาอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.94) ตามลำดับ จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาวะของเกษตรกร ในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ดังนี้ สุขภาวะทางกายของเกษตรกร พบว่า มีตัวแปรอิสระจำนวน 2 ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับ ระดับสุขภาวะทางกาย โดยมีค่า R2 เท่ากับ 0.047 ซึ่งสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร อิสระและตัวแปรตามได้ร้อยละ 4.70 ได้แก่ 1) ลักษณะการถือครองที่ดินมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ สุขภาวะทางกายของเกษตรกรในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 2) จำนวนพื้นที่ปลูกข้าวมีความสัมพันธ์เชิงลบกับสุขภาวะทางกายของเกษตรกรในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สุขภาวะทางจิตของเกษตรกร พบว่า มีตัวแปรอิสระจำนวน 1 ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับ ระดับสุขภาวะทางจิต โดยมีค่า R2 เท่ากับ 0.071 ซึ่งสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ และตัวแปรตามได้ร้อยละ 7.10 คือ ภาระหนี้สินคงค้างมีความสัมพันธ์เชิงลบกับสุขภาวะทางจิตของ เกษตรกรในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สุขภาวะทางสังคมของเกษตรกร พบว่า มีตัวแปรอิสระจำนวน 2 ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับ ระดับสุขภาวะทางสังคม โดยมีค่า R2 เท่ากับ 0.064 ซึ่งสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร อิสระและตัวแปรตามได้ร้อยละ 6.40 ได้แก่ 1) ประสบการณ์การปลูกข้าวมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ สุขภาวะทางสังคมของเกษตรกรในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ0.01 และ 2) รายได้จากการปลูกข้าวมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับสุขภาวะทางสังคมของเกษตรกรใน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ระดับสุขภาวะทางปัญญาของเกษตรกร พบว่า มีตัวแปรอิสระจำนวน 1 ตัวแปรที่มี ความสัมพันธ์กับระดับสุขภาวะทางปัญญา โดยมีค่า R2 เท่ากับ 0.043 ซึ่งสามารถอธิบายความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามได้ร้อยละ 4.30 คือ ประสบการณ์การปลูกข้าวมีความสัมพันธ์เชิง บวกกับสุขภาวะทางปัญญาของเกษตรกรในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 และผลการศึกษาปัญหาของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ประสบปัญหาการ ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ และไม่เพียงพอกับความต้องการ ประสบปัญหาผลผลิตข้าวเสียหาย จากภัยธรรมชาติ ซึ่งมีแนวโน้มเกิดขึ้นบ่อยครั้งต่อเนื่อง ทั้งจากน้ำท่วมยาวนาน ฝนแล้ง โรคและแมลง ระบาด ทำให้ผลผลิตข้าวของเกษตรกรเสียหาย เกษตรกรที่มีหนี้สินเดิมอยู่แล้ว เมื่อเผชิญกับวิกฤตภัย ธรรมชาติ มักไม่สามารถรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ต้องกู้เงินเพื่อมาลงทุนเพิ่ม อีกทั้งต้นทุน การผลิตสูง เมื่อปรับเปลี่ยนระบบการผลิตไปสู่การผลิตสมัยใหม่ แต่ไม่มีการควบคุมราคาปัจจัยการ ผลิต ประกอบกับเกษตรกรต้องใช้ปัจจัยการผลิตในปริมาณที่สูงขึ้นทุกปี เพื่อเร่งบำรุงดินให้ได้ผลผลิต ที่ดีทำให้เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นทุกปี ไม่มีลดลง และเกษตรกรต้องเผชิญกับราคาผลผลิตที่ ไม่แน่นอน ความต้องการของเกษตรกร พบว่า ต้องการการสนับสนุนให้ชาวบ้านสามารถจัดการพันธุ์ ข้าวได้ด้วยตัวเอง โดยเน้นศักยภาพของเกษตรกรให้เป็นผู้จัดการด้วยตนเอง และต้องการให้ภาครัฐ สนับสนุนในส่วนของวิชาการเพื่อคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ดีและมีความเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ การประกันภัยผลผลิตจากการเกิดภัยธรรมชาติเมื่อเกิดปัญหาส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น จากการ ลงทุนซ้ำหรือการขาดทุนเนื่องจากไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ทำให้เกษตรกรมีความต้องการ การประกันผลผลิตจากการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ นอกจากนี้เกษตรกรยังต้องการการส่งเสริมการ รวมกลุ่มเกษตรกรให้สามารถต่อรองราคาและขายผลผลิตได้ และการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการใช้ เทคโนโลยีทางการเกษตรเพื่อลดต้นทุน นอกจากนี้เกษตรกรยังต้องการแก้ไขปัญหาหนี้สิน การ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว เกษตรกรจึงต้องปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าว เพื่อให้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก ที่ต้องมีการ ลงทุนเพิ่มขึ้น และที่สาคัญเนื่องจากราคาข้าวตกต่ำเกษตรกรจึงมีรายได้ที่ไม่พอกับค่าใช้จ่ายจำเป็น ต้องกู้หนี้ยืมสิน เพื่อใช้จ่ายในครอบครัว และใช้เป็นค่าลงทุนครั้งต่อไป ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) ควรให้การส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ สุขภาวะด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพื่อเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีแก่กลุ่มเป้าหมาย ทั้ง เกษตรกรผู้ปลูกข้าว สมาชิกในครัวเรือนของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และลูกหลานของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และ 2) เจ้าหน้าที่รัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญโดยเฉพาะการส่งเสริมให้ เกษตรกรใช้เครื่องจักรกลมากขึ้น ซึ่งจะช่วยชดเชยจำนวนแรงงานที่ลดลง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะช่วยให้ภาคการเกษตรมีศักยภาพในการผลิตเพิ่มขึ้นโดยพึ่งพาแรงงาน น้อยลงและ 3) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและมีประสบการณ์ในการปลูกข้าวมาก แต่ใน ขณะเดียวกันทายาทเกษตรกรไม่ให้ความสนใจกับการปลูกข้าว ดังนั้นควรมีการกระตุ้นหรือส่งเสริม เพื่อให้มีการพัฒนาหรือแนวคิดสมัยใหม่จากคนรุ่นใหม่ | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
590831045 ชฎาพร พรหมเผ่า.pdf | 3.35 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.