Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72193
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุภารัตน์ วังศรีคูณ-
dc.contributor.advisorอัจฉรา สุคนธสรรพ์-
dc.contributor.authorปรเมษฐ์ อินทร์สุขen_US
dc.date.accessioned2022-02-03T05:05:43Z-
dc.date.available2022-02-03T05:05:43Z-
dc.date.issued2020-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72193-
dc.description.abstractSepsis must be managed correctly and promptly in order to decrease patients’ complications and mortality rates. Proper management of orthopedic patients with sepsis will promote patient safety. This retrospective descriptive study aimed to analyze the situation of management for orthopedic patients with sepsis in a tertiary hospital. The samples included data of 275 orthopedic patients with sepsis treated in orthopedic wards from January 2017 to December 2019, and 11 healthcare supervisors and 62 healthcare personnel who worked from January 2017 to December 2019. Data collection tools included the Management Situation for Orthopedic Patients with Sepsis Record Form, the Structure Related to Management for Orthopedic Patients with Sepsis Questionnaire and the Semi-Structured Questions, and the Process Related to Management for Orthopedic Patients with Sepsis Questionnaire and the Semi-Structured Questions, all of which were developed by the researcher based on the Donabedian (2003) framework and the International Guidelines for Management of Sepsis and Septic Shock (Rhodes et al., 2017) The findings were as follow: 1. Structures: The organization had a standard policy in the management of patients with sepsis. There were key performance indicators, but no systematic data collection or report. The patient classification score was used for workforce planning and management. There was no patient team care (PCT), collaboration guidelines, or health care team management algorithm for orthopedic patients with sepsis. There was no broad-spectrum antibiotic reserve in any ward. 2. Processes: The average times of the sepsis screening and diagnosis process were 58.73 and 43.28 minutes, respectively. In the sepsis management process, 82.90 percent of the samples had blood collection for culture within 3 hours and 31.27 percent received broad-spectrum antibiotics within 3 hours after being diagnosed with sepsis. In the septic shock management process, 15.63 percent of the samples had blood collection for lactate measurement within 3 hours, 50.00 percent received initial fluid resuscitation within 3 hours and 32.07 percent received vasopressors within 6 hours. 3. Outcomes: Of the samples, 13.18 percent developed septic shock. The samples’ mortality rate was 18.19 percent. The findings have revealed opportunities for improvement in the management of orthopedic patients with sepsis. Improvement of quality in the structures and processes will facilitate better outcomes.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectผู้ป่วยen_US
dc.subjectภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดen_US
dc.titleการวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดen_US
dc.title.alternativeSituational Analysis of Management for Orthopedic Patients with Sepsisen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดจำเป็นต้องได้รับการจัดการอย่างถูกต้องและรวดเร็วเพื่อลด ภาวะแทรกซ้อน และอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย การจัดการผู้ป่วยออร์โธปิ ดิกส์ที่มีภาวะติดเชื้อใน กระแสเลือดอย่างเหมาะสมจะช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยปลอดภัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง เชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ที่มีภาวะติดเชื้อ ในกระแสเลือดในโรงพยาบาลตติยภูมิ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ข้อมูลของผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ที่มีภาวะติดเชื้อ ในกระแสเลือดที่ได้รับการรักษาหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2560 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2562 จำนวน 257 คน กลุ่มผู้บริหารของบุคลากรทางสุขภาพและบุคลากรทางสุขภาพที่ปฏิบัติงาน ระหว่างเดือน มกราคม พ.ศ. 2560 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2562 จำนวน 11 และ 62 คน ตามลำดับ เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลสถานการณ์การจัดการดูแลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด แบบสอบถามและแนวคำถามด้านโครงสร้างที่เกี่ยวกับการจัดการ ผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และแบบสอบถามและแนวคำถามด้าน กระบวนการที่เกี่ยวกับการจัดการผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งพัฒนาโดย ผู้วิจัยตามกรอบแนวคิดโดนาบีเดียน (Donabedian, 2003) ร่วมกับแนวปฏิบัตินานาชาติเรื่องการจัดการ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด (Rhodes et al., 2017) ผลการวิจัย พบว่า 1. ด้านโครงสร้าง หน่วยงานมีมาตรฐานเชิงนโยบายในการจัดการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อ ในกระแสเลือด มีการกำหนดตัวชี้วัดแต่ยังไม่มีการรวบรวมและรายงานตัวชี้วัดอย่างเป็นระบบ มีการ ใช้ระบบการคำนวณระดับของผู้ป่วยในการจัดสรรและเกลี่ยอัตรากำลัง ยังไม่มีการจัดระบบทีมนำ แนวทางในการประสานงาน และผังไหลในกระบวนการทางานร่วมกันของบุคลากรสุขภาพใน การจัดการดูแลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และไม่มีการสำรองยาปฏิชีวนะที่ ออกฤทธิ์กว้างและครอบคลุมไว้ในหอผู้ป่วย 2. ด้านกระบวนการ ระยะเวลาเฉลี่ยในกระบวนการคัดกรองและวินิจฉัยภาวะติดเชื้อใน กระแสเลือดเท่ากับ 58.73 และ 43.28 นาที ตามลำดับ สำหรับกระบวนการจัดการภาวะติดเชื้อใน กระแสเลือด ร้อยละ 82.90 ของกลุ่มตัวอย่างได้รับการเจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อภายใน 3 ชั่วโมงหลังจาก ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และร้อยละ 31.27 ได้รับยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์กว้าง และครอบคลุมภายใน 3 ชั่วโมงหลังได้รับการวินิจฉัย ในกระบวนการจัดการภาวะช็อกจากภาวะติดเชื้อ ในกระแสเลือด ร้อยละ 15.63 ของกลุ่มตัวอย่างได้รับการเจาะเลือดเพื่อประเมินค่าแลคเตท ภายใน 3 ชั่วโมง ร้อยละ 50.00 ได้รับการช่วยเหลือโดยการให้สารน้ำภายใน 3 ชั่วโมง และร้อยละ 32.07 ได้รับยากระตุ้นความดันโลหิตภายใน 6 ชั่วโมง 3. ด้านผลลัพธ์ ร้อยละ 13.81ของกลุ่มตัวอย่างมีอาการเปลี่ยนแปลงไปสู่ภาวะช็อกจากภาวะ ติดเชื้อในกระแสเลือด และอัตราการเสียชีวิตของกลุ่มตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 18.19 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงโอกาสในการพัฒนาคุณภาพการจัดการผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ที่มีภาวะ ติดเชื้อในกระแสเลือด การพัฒนาคุณภาพด้านโครงสร้าง และกระบวนการจะช่วยส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ ที่ดียิ่งขึ้นต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611231056 ปรเมษฐ์ อินทร์สุข.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.