Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72117
Title: การตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลกับคดีเกี่ยวกับความมั่นคง
Other Titles: Digital forensics and Crimes Against National Security
Authors: วรินทรา ศรีวิชัย
Authors: วรินทรา ศรีวิชัย
Keywords: พยานหลักฐานดิจิทัล;การรวบรวมพยานหลักฐานดิจิทัล;กระบวนการยุติธรรมทางอาญา;ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง;Digital forensics;Acquisition of digital forensics;Criminal Procedure;Crimes against National Security
Issue Date: 2563
Publisher: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: นิติสังคมศาสตร์ 13, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2563), 78-101
Abstract: บทความชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและข้อจำกัดของการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในคดีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง และอธิบายเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของพยานหลักฐานดิจิทัล ตลอดจนแนวทางการรับฟังพยานหลักฐานดิจิทัลในคดีอาญา โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร ตำรา งานวิจัยและการลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึกจากนักวิชาการ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันมีการจัดทำมาตรฐานการจัดการอุปกรณ์ดิจิทัลในงานตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล โดยศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ทำให้กระบวนการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลมีมาตรฐานการปฏิบัติการที่ชัดเจน แต่อำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติการตรวจพยานหลักฐานดิจิทัลรวมศูนย์อยู่ที่หน่วยงานภาครัฐ ในคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับพยานหลักฐานดิจิทัล โดยเฉพาะในคดีความมั่นคงที่รัฐเป็นผู้ฟ้องคดี พบว่ามีประเด็นความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นกับผู้ถูกกล่าวหา เช่น ข้อจำกัดในการเข้าถึงและการรวบรวมพยานหลักฐานดิจิทัล และประเด็นสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในคดีความมั่นคง ตลอดจนการรับฟังและการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานดิจิทัลของศาล เป็นต้น ข้อเสนอแนะจากการศึกษาในครั้งนี้ กล่าวคือ ในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในการจัดการพยานหลักฐานดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนการสืบสวน สอบสวน การรวบรวมพยานหลักฐานดิจิทัล ตลอดจนการรับฟังพยานหลักฐานดิจิทัล ควรมีแนวทาง มาตรฐานการปฏิบัติที่ชัดเจนและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ตลอดจนการเปิดโอกาสให้หน่วยงานอื่นที่มีศักยภาพและมาตรฐานเข้ามาร่วมทำงานในการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล อีกทั้งควรมีกฎหมายหรือหลักประกันที่เป็นมาตรฐานในการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐาน ซึ่งนำไปสู่การสร้างความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่ายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา This article aims to study problems and limitations of digital forensics in criminal procedure of crimes against national security and elucidates the special characteristics of digital evidence as well as rules regarding the admissibility of evidence in a criminal trial by applying a variety of different sources, from the most recent articles, books, research papers, and in-depth interviews with scholars who involve in digital forensics. This research found that nowadays there is a digital forensic management standard for digital forensics, provided by the Digital Forensics Center under the Electronic Transactions Development Agency (ETDA), that makes the digital forensic process meet the standards demanded to comprehensible standards of practice. However, the power to acquire digital evidence remains centred in government agencies. In criminal cases, that relate to digital evidence, especially, crimes against national security, which state is the plaintiff, demonstrate injustice performed on defendants, for example, the limitation to access and gather digital evidence and rights of defendants in crimes against national security, including the hearing and the preponderance of digital evidence. This research suggests that in every step of criminal procedure for digital forensic management, particularly, investigation process, the inquiry process, gathering of digital evidence, and the digital evidential hearing should have clear standards of conduct and practice to meet international standards and should give an opportunity of participation to other potential agencies in digital evidence forensics. Furthermore, there should be laws or guarantees that create standards for forensics, that lead to bringing justice to every party in the criminal justice process.
Description: CMU Journal of Law and Social Sciences รับพิจารณาบทความวิชาการ และบทปริทัศน์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยขอบเขตเนื้อหาทางวิชาการของCMU Journal of Law and Social Sciences จะครอบคลุมเนื้่อหา เกี่ยวกับกฎหมายทุกสาขา เช่น กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน กฎหมายอาญา กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งสัมพันธ์กับความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์ในสาขาต่างๆ
URI: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMUJLSS/article/view/220946/164304
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72117
ISSN: 2672-9245
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.