Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71997
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุทธิพร ใจแล | en_US |
dc.contributor.author | ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์ | en_US |
dc.contributor.author | บุญพิชชา จิตต์ภักดี | en_US |
dc.date.accessioned | 2021-02-05T02:29:37Z | - |
dc.date.available | 2021-02-05T02:29:37Z | - |
dc.date.issued | 2563 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 47,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 433-445 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241316/168450 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71997 | - |
dc.description | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล | en_US |
dc.description.abstract | การบริหารทรัพยากรที่ใช้ในการให้บริการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องใช้ข้อมูลต้นทุน การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรมการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินและวิกฤต ในหอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ และเปรียบเทียบต้นทุนฐานกิจกรรมการพยาบาลกับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่กำหนดโดยกระทรวงสาธารณสุขและสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หมวดที่ 12 กรอบแนวคิดการวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรมพัฒนาโดย Kaplan and Cooper (1998) กลุ่มตัวอย่าง คือพยาบาลวิชาชีพจำนวน 10 คน ผู้ช่วยพยาบาลจำนวน 8 คน และกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่เข้าพักรักษาตัวในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลแมคคอร์มิค เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นประกอบด้วย พจนานุกรมกิจกรรมการพยาบาล แบบบันทึกเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล และแบบบันทึกต้นทุน เครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการตรวจสอบความเป็นปรนัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1.ต้นทุนฐานกิจกรรมการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินและวิกฤตในหอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีต้นทุนสูงสุด 3 ลำดับแรกได้แก่ 1) กิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจ/วัน 2) การทำแผลเปิดขนาดใหญ่ และ 3) กิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจ < 8 ชม. 2.ต้นทุนฐานกิจกรรมการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินและวิกฤตในหอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลแมคคอร์มิคจำนวน 11 กิจกรรม (ร้อยละ 52.38) มีต้นทุนสูงกว่างบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ผู้บริหารโรงพยาบาลและผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำผลการศึกษาไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการบริหารทรัพยากรในการให้การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินและวิกฤตในหอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ให้มีประสิทธิภาพต่อไป The effective management of resources used in providing nursing services requires cost data. This descriptive study aims to analyze the activity-based cost of nursing activities for emergency and critical patients in the Intensive Care Unit, McCormick Hospital, Chiang Mai Province and compare the activity-based cost of nursing activities with the medical expense reimbursement guidelines of the Ministry of Public Health and the National Institute of Emergency Medicine, category 12. The conceptual framework used for Activity-Based Costing, introduced by Kaplan and Cooper (1998). The subjects of the study include 10 nurses and 8 nursing assistants, and the nursing activities provided to emergency and critical patients admitted in the Intensive Care Unit, McCormick Hospital. The instruments used in this study, developed by the investigator, consisted of the activity dictionary, time spend record form for activities, and the data record forms for labor costs, material costs, and capital costs. All instruments were confirmed for objectivity by three experts. Data were analyzed using descriptive statistics. Results revealed that: 1.The activity-based costing of nursing activities for emergency and critical patients in the Intensive Care Unit, McCormick Hospital, Chiang Mai Province with the top three highest costs were: 1) nursing care for patients on volume control respirator/day; 2) large open wound dressing; 3) nursing care for patients on volume control respirator < 8 hours. 2.The cost of 11 nursing activities (52.38%) of emergency and critical patients in the Intensive Care Unit, McCormick Hospital was higher than the medical expense reimbursement guidelines. Hospital and nursing administrators can use the results of this study as a database to manage resources effectively in nursing activities for emergency and critical patients in the Intensive Care Unit, McCormick Hospital, Chiang Mai Province. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ต้นทุนฐานกิจกรรม | en_US |
dc.subject | กิจกรรมการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินและวิกฤต | en_US |
dc.subject | หอผู้ป่วยหนัก | en_US |
dc.subject | Activity-Based Costing | en_US |
dc.subject | Nursing Activities for Emergency and Critical Patients | en_US |
dc.subject | Intensive Care Unit | en_US |
dc.title | ต้นทุนฐานกิจกรรมการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินและวิกฤต ในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Activity-Based Costing of Nursing Activities for Emergency and Critical Patients in Intensive Care Unit, McCormick Hospital, Chiang Mai Province | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.