Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71992
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ศิชล สุกสี | en_US |
dc.contributor.author | เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล | en_US |
dc.contributor.author | กุลวดี อภิชาตบุตร | en_US |
dc.date.accessioned | 2021-02-05T02:29:37Z | - |
dc.date.available | 2021-02-05T02:29:37Z | - |
dc.date.issued | 2563 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 47,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 338-348 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/247960/168441 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71992 | - |
dc.description | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล | en_US |
dc.description.abstract | การเพิ่มคุณค่าระหว่างงานกับครอบครัวทำให้เกิดอารมณ์ทางบวกที่ช่วยให้พยาบาลสามารถปรับตัวกับสภาพการทำงานที่ตึงเครียดและส่งผลให้มีความตั้งใจคงอยู่ในงานเพิ่มขึ้น การศึกษาเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์นี้เพื่อศึกษาการเพิ่มคุณค่าระหว่างงานกับครอบครัว ความตั้งใจคงอยู่ในงานและความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งสองในพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพจำนวน 155 คนที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชนสองแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามการเพิ่มคุณค่าระหว่างงานกับครอบครัวที่พัฒนาโดย Carlson et al. (2006) ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .96 และแบบสอบถามความตั้งใจคงอยู่ในงานที่พัฒนาโดย (Rattanapitikorn, 2009) ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .84 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า 1.พยาบาลมีการรับรู้การเพิ่มคุณค่าระหว่างงานกับครอบครัวอยู่ในระดับสูง โดยมีการรับรู้ว่าทรัพยากรที่ได้รับจากการทำงานมีส่วนช่วยให้การทำบทบาทในครอบครัวดีขึ้น และรับรู้ว่าทรัพยากรที่ได้รับจากการครอบครัวมีส่วนช่วยให้การปฏิบัติงานดีขึ้นด้วยเช่นกัน 2.พยาบาลมีความตั้งใจคงอยู่ในงานอยู่ในระดับสูงและการเพิ่มคุณค่าระหว่างงานกับครอบครัวมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความตั้งใจคงอยู่ในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มคุณค่าระหว่างงานกับครอบครัวมีส่วนช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการทำงานและลดความตั้งใจที่จะลาออกจากงานของพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน จึงมีข้อเสนอแนะว่าผู้บริหารการพยาบาลควรส่งเสริมการเพิ่มคุณค่าระหว่างงานกับครอบครัวของพยาบาลด้วยการให้การสนับสนุนทางด้านจิตสังคมและด้านวัตถุรวมทั้งผู้บริหารการพยาบาลควรสนับสนุนให้พยาบาลได้มีเวลาในการดูแลครอบครัวเนื่องจากการทำบทบาทในครอบครัวจะส่งผลย้อนกลับทางบวกมาช่วยให้พยาบาลสามารถปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น Work-family enrichment generates a positive mood, which allows nurses to cope with stressful working conditions and results in increasing the intention to stay in employment positions. This correlational descriptive study was to explore at work-family enrichment, intention to stay, and its relationship among nurses in private hospitals. The participants consisted of 155 professional nurses who are working in two private hospitals in Chiang Mai. The research instrument included the work-family enrichment scale developed by Carlson et al. (2006) and the scale of intention to stay developed by Dolerdee Rattanapitikon (2009). The alpha coefficient for work-family enrichment scale was .96 and the alpha coefficient of the scale of intention to stay was .84 Data were analyzed by descriptive statistics and Spearman rank correlation coefficient. Results of the study were as follows: 1.Nurses experienced work-family enrichment at a high level.They recognized that resources gained in their work facilitated their family role at high level and also that resources gained in the family enhanced their work function at high level 2.Nurses intended to stay at work at a high level and work-family enrichment had a positive significant association with the intention of the nurses to stay at their work. The findings reveal that increasing work-family enrichment for nurses reinforces their professional motivations and decreases turnover intentions of nurses at private hospitals. It is recommended that nursing administrators foster work-family enrichment of nurses by providing nurses with psychological and materialsupport Additionally, the nursing administrator should support nurses in taking care of their family, since their family role creates a positive spillover to facilitate their working function and performance. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การเพิ่มคุณค่าระหว่างงานกับครอบครัว | en_US |
dc.subject | ความตั้งใจคงอยู่ในงานพยาบาล | en_US |
dc.subject | โรงพยาบาลเอกชน | en_US |
dc.subject | work -family enrichment | en_US |
dc.subject | intention to stay | en_US |
dc.subject | private hospital | en_US |
dc.title | การเพิ่มคุณค่าระหว่างงานกับครอบครัวและความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาล ในโรงพยาบาลเอกชน | en_US |
dc.title.alternative | Work-Family Enrichment and Intention to Stay at Work of Nurses in Private Hospitals | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.