Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71986
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเกศราภรณ์ อุดกันทาen_US
dc.contributor.authorอภิรดี นันท์ศุภวัฒน์en_US
dc.contributor.authorเพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุลen_US
dc.date.accessioned2021-02-05T02:29:37Z-
dc.date.available2021-02-05T02:29:37Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 47,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 280-291en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/247955/168435en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71986-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลเป็นข้อมูลสำคัญต่อการจัดอัตรากำลังทางการพยาบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กิจกรรมการพยาบาลตามความต้องการการพยาบาลของผู้ป่วยแต่ละประเภท และศึกษาจำนวนชั่วโมงการพยาบาลของพยาบาลในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลของผู้ป่วยแต่ละประเภทในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลลำปาง กลุ่มตัวอย่างมี ได้แก่ บุคลากรพยาบาลผ่าตัดแผนกหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอก จำนวน 8 คน และผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดในแผนกหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอกจำนวน 58 ราย ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย คู่มือพจนานุกรมกิจกรรมการพยาบาลผ่าตัดมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.80 และแบบบันทึกปริมาณเวลาที่ใช้ใน การปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล มีค่าดัชนีความสอดคล้องของการสังเกตเท่ากับ 0.93 โดยประยุกต์ใช้ขั้นตอนการวางแผนอัตรากำลังบุคลากรพยาบาลของ Srisathidnarakul (2007) การจำแนกประเภทผู้ป่วยตามแนวคิดของ Patton (2002) และจำแนกผู้ป่วยตามกิจกรรมการพยาบาลตามแนวคิดของ Connor (1961) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1.กิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยประเภท major มี 39 กิจกรรม ผู้ป่วยประเภท minor มี 27 กิจกรรม 2.เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลในผู้ป่วยประเภท Major ใช้เวลา 7 ชั่วโมง 11 นาที ใช้เวลาในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง 5 ชั่วโมง 48 นาที ใช้เวลาในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยอ้อม 1 ชั่วโมง 23 นาที และผู้ป่วยประเภท minor ใช้เวลา 2 ชั่วโมง 26 นาที ใช้เวลาใน การปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง 1 ชั่วโมง 45 นาที ใช้เวลาในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล โดยอ้อม 41.15 นาที ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้บริหารที่จะนำไปเป็นข้อมูลในการคำนวณอัตรากำลังต่อไป The time spent on nursing activities is important information to nurse staffing. The purpose of this study was to analyze nursing activities according to the nursing needs of each type of patient and study the number of hours spent by nurses performing nursing activities for each type of patient in the operating room at Lampang Hospital.The sample were 8 registered nurses working in cardiac vascular and thoracic surgery departments at Lampang Hospital and 58 patients who received surgery services from the operating room at Lampang Hospital during the time of this study. The tools used in this study contains a dictionary of surgical nursing activities the content validity index of 0.80. And a recording of the amount of time that nursing personnel spend in nursing activities the interobserver reliability of 0.93. Applying the step of the nursing staffing planning process of Srisathidnarakul (2007). Patient classification according to the Patton (2002) concept. And patient classification based on nursing activities according to the Connor (1961). Data were analyzed using descriptive statistics. The result showed that 1.Nursing activities of major patients total 39 activities and minor patients total 27 activities 2.Time spent on nursing activities in major patients was 7 hours 11 minutes, with time spent on direct nursing activities was 5 hours 48 minutes. Time spent on indirect nursing activities was 1 hour 23 minutes. Time spent on nursing activities in minor patients was 2 hours 26 minutes, time spent on direct nursing activities was 1 hour 45 minutes and time spent on indirect nursing activities was 41.15 minutes The results of this study are basic information for managers to use as a basis for calculating staffing.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลen_US
dc.subjectกิจกรรมการพยาบาลen_US
dc.subjectห้องผ่าตัดen_US
dc.subjectnursing activitiesen_US
dc.subjecttime spent on nursing activitiesen_US
dc.subjectoperating roomen_US
dc.titleการศึกษาเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลลำปางen_US
dc.title.alternativeThe Study of Time Spent on Nursing Activities in Operating Room, Lampang Hospitalen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.