Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71981
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | เพ็ญนภา ดำมินเศก | en_US |
dc.contributor.author | กรรณิการ์ กันธะรักษา | en_US |
dc.contributor.author | นงลักษณ์ เฉลิมสุข | en_US |
dc.date.accessioned | 2021-02-05T02:29:36Z | - |
dc.date.available | 2021-02-05T02:29:36Z | - |
dc.date.issued | 2563 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 47,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 204-216 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/247943/168425 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71981 | - |
dc.description | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล | en_US |
dc.description.abstract | การคลอดบุตรเป็นเหตุการณ์วิกฤตที่ไม่สามารถคาดการณ์ถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้คลอดและทารกในครรภ์ได้ ส่งผลให้สตรีเกิดความกลัวและความวิตกกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ต้องเผชิญระหว่างคลอด สมรรถนะแห่งตนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้สตรีเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง ดังนั้น การส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการคลอดบุตรทำให้สตรีสามารถเผชิญกับสถานการณ์วิกฤตระหว่างคลอดได้สำเร็จ การทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการคลอดบุตรของสตรีตั้งครรภ์ โดยสืบค้นจากรายงานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม และวิจัยกึ่งทดลองที่ศึกษาการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการคลอดบุตรของสตรีตั้งครรภ์โดยใช้กรอบแนวคิดของแบนดูราและ/หรือโลวี ที่ได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้รับการตีพิมพ์ ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ถึง พ.ศ. 2560 โดยใช้การทบทวนอย่างเป็นระบบของสถาบันโจแอนนาบริกส์ (JBI, 2016) การประเมินคุณภาพและการสกัดข้อมูลใช้เครื่องมือที่พัฒนาโดยสถาบันโจแอนนาบริกส์ การสืบค้นอย่างเป็นระบบพบรายงานวิจัย 7 เรื่องผ่านเกณฑ์การคัดเลือก สามารถนำมาวิเคราะห์เมตา 2 เรื่องและวิเคราะห์บรรยายสรุปเชิงเนื้อหา 5 เรื่องที่มีความแตกต่างของวิธีการจัดกระทำและระยะเวลาในการติดตามผลลัพธ์ ผลการวิเคราะห์เมตาให้ผลลัพธ์ดังนี้ 1.ผลลัพธ์หลักพบว่า การส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการคลอดบุตรเพิ่มความคาดหวังในผลลัพธ์ (95% CI 11.86, 22.68, p <.001) และเพิ่มความคาดหวังในสมรรถนะแห่งตน (95% CI 15.76, 27.75, p <.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีคุณภาพของหลักฐานอ้างอิงอยู่ในระดับปานกลาง 2.ผลลัพธ์รองพบว่า การส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการคลอดบุตรมีผลต่อการควบคุมความเจ็บปวดในระยะรอคลอด (95% CI 1.02, 2.15, p <.001) และช่วยลดความวิตกกังวลของสตรีตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95% CI 0.84, 2.31, p <.001) ผลการวิเคราะห์บรรยายสรุปเชิงเนื้อหาพบว่า การส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการคลอดบุตรในระยะตั้งครรภ์หรือต่อเนื่องตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์จนถึงระยะรอคลอด ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อสมรรถนะแห่งตนในการคลอดบุตร และการติดตามผลลัพธ์ในระยะตั้งครรภ์เป็นวิธีที่เหมาะสมกว่าในระยะหลังคลอดบุตร จากผลการทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้เสนอแนะว่า บุคลากรสุขภาพควรตระหนักถึงการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการคลอดบุตร เพื่อเพิ่มสมรรถนะแห่งตนในการคลอดบุตรแก่สตรีตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาวิจัยปฐมภูมิเกี่ยวกับประสิทธิผลของการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการคลอดบุตรของสตรีตั้งครรภ์เพิ่มเติมให้ได้งานวิจัยที่เพียงพอในการนำมาวิเคราะห์เมตา เพื่อช่วยยืนยันประสิทธิผลของการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการคลอดบุตรของสตรีตั้งครรภ์ได้ Childbirth can be a crisis situation with unpredictable outcomes for a woman in labor and her fetus. This causes fear and anxiety for the situation of childbirth. Self-efficacy is a factor affecting women’s self confidence. Therefore, the promotion of childbirth self-efficacy affects a woman’s ability to successfully overcome a crisis situation at childbirth. The purpose of this systematic review was to investigate the effectiveness of childbirth self-efficacy promotion among pregnant women. This was done by searching for randomized controlled trials and quasi-experimental studies regarding the childbirth self-efficacy promotion among pregnant women based on the Bandura and/or Lowe framework which were discussed in both published and unpublished studies in English and Thai languages from 1997 to 2017 and using a systematic guideline developed by the Joanna Briggs Institute (JBI, 2016). Quality assessment and data extraction were undertaken using a critical appraisal form and a data extract form developed by the Joanna Briggs Institute. This systematic search identified a total of seven studies, which met the inclusion criteria. Data were analyzed using meta-analysis of two studies and narrative synthesis of five studies with different types of intervention and different time periods of outcome evaluation. The findings from a meta-analysis indicated that: 1.The primary outcome was found, that childbirth self-efficacy promotion significantly enhanced the outcome expectancy (95% CI 11.86, 22.68, p <.001) and the self-efficacy expectancy (95% CI 15.76, 27.75, p <.001). The quality of this evidence was identified at a moderate level. 2.Secondary outcomes were found, that childbirth self-efficacy promotion significantly affected pain control during labor (95% CI 1.02, 2.15, p<.001) and significantly reduced anxiety among pregnant women (95% CI 0.84, 2.31, p <.001). The findings from this narrative synthesis found that the promotion of childbirth self-efficacy during pregnancy as well as continuing promotion through pregnancy and labor periods had a positive outcome on childbirth self-efficacy. Evaluating the outcome during pregnancy was more appropriate than during the postpartum period. The findings of this systematic review recommend that health personnel should be aware about childbirth self-efficacy promotion in order to enhance childbirth self-efficacy for pregnant women. However, additional primary studies on the effectiveness of childbirth self-efficacy among pregnancy women are required in order to obtain sufficient studies for a meta-analysis which can confirm the effectiveness of childbirth self-efficacy promotion among pregnant women. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ประสิทธิผล | en_US |
dc.subject | การส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการคลอดบุตร | en_US |
dc.subject | สตรีตั้งครรภ์ | en_US |
dc.subject | การทบทวนอย่างเป็นระบบ | en_US |
dc.subject | Effectiveness | en_US |
dc.subject | Childbirth Self-efficacy Promotion | en_US |
dc.subject | Pregnant Women | en_US |
dc.subject | Systematic Review | en_US |
dc.title | ประสิทธิผลของการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการคลอดบุตรของสตรีตั้งครรภ์: การทบทวนอย่างเป็นระบบ | en_US |
dc.title.alternative | Effectiveness of Childbirth Self-efficacy Promotion Among Pregnant Women: A Systematic Review | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.