Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71978
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ศิริพร กันทจันทร์ | en_US |
dc.contributor.author | วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์ | en_US |
dc.contributor.author | ศิวพร อึ้งวัฒนา | en_US |
dc.date.accessioned | 2021-02-05T02:29:36Z | - |
dc.date.available | 2021-02-05T02:29:36Z | - |
dc.date.issued | 2563 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 47,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 168-180 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/243623/168421 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71978 | - |
dc.description | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตามกรอบแนวคิดของโดนาบีเดียน ในด้านโครงสร้าง ด้านกระบวนการ และด้านผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ได้แก่ กลุ่มครูและบุคลากรจำนวน 4 คน กลุ่มนักเรียนจำนวน 6 คน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสัมภาษณ์รายบุคคล, แนวคำถามการสนทนารายกลุ่มและ แบบบันทึกรายงานสรุปข้อมูลสุขภาพนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และจัดหมวดหมู่ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ด้านโครงสร้าง 1) ไม่มีนโยบายควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ 2) มีบุคลากรในการดูแลนักเรียนอย่างเพียงพอ 3) เครื่องมือ วัสดุ ครุภัณฑ์ ในการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ มีเพียงพอกับการใช้งานและมีประสิทธิภาพ 4) มีงบประมาณในการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ด้านกระบวนการ พบว่า 1) การดำเนินการส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน โรงเรียนได้เข้าร่วมการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 2) การจัดสิ่งแวดล้อมให้มีสุขวิทยาที่ดี ในโรงเรียนมีการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อสุขภาพ และมีห้องพยาบาลสำหรับการรองรับผู้ป่วย 3) การค้นหาการเกิดโรค โรงเรียนได้มีการตรวจคัดกรองสุขภาพนักเรียนทุกวัน 4) การดูแลรักษา โรงเรียนมีระบบการดูแลเบื้องต้นโดยครูหอนอน ครูอนามัยโรงเรียน และดำเนินการส่งต่อโรงพยาบาลในรายที่เกินศักยภาพ 5) การลดการแพร่กระจายเชื้อ โรงเรียนมีการรณรงค์ให้นักเรียนดูแลสุขภาพตนเอง ด้านผลลัพธ์ สถานะทางด้านสุขภาพของนักเรียน พบว่าอัตราป่วย และอัตราการส่งต่อโรงพยาบาลด้วยโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ปี 2562 มีอัตราลดลงจากปี 2561 อย่างชัดเจน ผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบถึงสถานการณ์การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ในโรงเรียน ซึ่งสามารถนำไปใช้ ส่งเสริมการดำเนินงานเชิงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป This qualitative study aimed to analyze the situation in regards to the prevention and control of respiratory infectious diseases in Rajaprachanukroh 31 School, Mae Chaem District, Chiang Mai. This study looked at the aspects of structure, process, and outcome using the Donabedian Model. The three participant groups (four teachers and personnel, six students, and one health official) were chosen using purposive sampling methods. The research tools were individual interviews and focus group discussions. The data were analyzed using descriptive statistics and content categorization. The results showed that: In the aspect of structure, 1) the school did not have a policy to prevent or control respiratory infectious diseases; 2) there were enough personnel to take care of the students; 3) tools, resources and materials for controlling and preventing respiratory infectious diseases were sufficient and effective; and 4) there was a budget for controlling and preventing respiratory infectious diseases. Process-wise, 1) to promote students, teachers, and others’ healths, the school joined the Health Promotion School Program; 2) to establish an environment for good hygiene, the school organized its environment in ways that facilitate health, for example having areas in the school, such as nursing rooms; 3) to investigate the origins of the diseases, the school had daily health screenings for students; 4) for treatment, the school had a basic care system where either the dormitory teachers or the health teacher would administer first aid while also referring those with critical conditions to hospitals; and 5) to reduce the spread of infection, the school encouraged students to be responsible for their own health. Therefore, it was found that the number of students who were infected by respiratory infectious diseases and the number of those referred to hospitals in 2019 was significantly lower than the number in 2018. In conclusion, the results showed how the school prevented and controlled respiratory infectious diseases which may be used to further improve school operations in the future. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การวิเคราะห์สถานการณ์ | en_US |
dc.subject | การป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ | en_US |
dc.subject | โรงเรียน | en_US |
dc.subject | Situational Analysis | en_US |
dc.subject | Prevention and control of respiratory Infectious diseases | en_US |
dc.subject | School | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์สถานการณ์การป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจใน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Situational Analysis on Prevention and Control of Respiratory Infectious Diseases in Rajaprachanukroh 31 School, Mae Chaem District, Chiang Mai Province | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.