Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71220
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพิพัฒน์ สมภารen_US
dc.contributor.authorอนุชาติ ตั้งภูมิระพีวงศ์en_US
dc.contributor.authorสุพรชัย ฟ้ารีen_US
dc.contributor.authorสุริยะ สะวานนท์en_US
dc.date.accessioned2021-01-27T03:33:06Z-
dc.date.available2021-01-27T03:33:06Z-
dc.date.issued2552en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 25, 3 (มิ.ย. 2552), 287-299en_US
dc.identifier.issn0857-0841en_US
dc.identifier.urihttps://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/246436/168518en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71220-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1en_US
dc.description.abstractศึกษาอิทธิพลของการเสริมใบมันสำปะหลังแห้งและการปล่อยแทะเล็มในช่วงเวลาต่างกันต่อพฤติกรรมและการให้ผลผลิตของกระบือปลัก ดำเนินการทดลองในช่วงเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน 2551 ณ ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์สุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ช่วง ช่วงละ 40 วัน คือในฤดูแล้งและต้นฤดูฝน โดยมีระยะพักระหว่างช่วง 20 วัน กระบือปลักสาวอายุ 2 ปี จำนวน 18 ตัว ถูกแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 3 ตัว โดยให้แต่ละกลุ่มมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยใกล้เคียงกัน สุ่มกระบือให้ได้รับทรีทเมนต์ ๆ ละ 2 กลุ่มดังนี้ 1) ปล่อยกระบือแทะเล็ม 24 ชั่วโมง 2) ปล่อยแทะเล็มเฉพาะเวลากลางวัน และ 3) ปล่อยแทะเล็มเฉพาะเวลากลางคืน โดยแยกเลี้ยงในแปลงหญ้ารูซี่ขนาด 3 ไร่ กระบือที่ปล่อยแทะเล็มเฉพาะเวลากลางวันหรือกลางคืน เมื่อไม่ปล่อยแทะเล็ม จะถูกเลี้ยงไว้ในคอก ซึ่งมีน้ำสะอาดให้ดื่มและแร่ธาตุก้อนให้เลียตลอดเวลา โดยในแต่ละวันจะมีการเสริมใบมันสำปะหลังแห้งให้เฉลี่ยตัวละ 1 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว  กิจกรรมต่าง ๆ ของกระบือจะถูกบันทึก โดยใช้วิธีการสังเกตสัตว์แต่ละตัวโดยตรงทุก ๆ 5 นาที เป็นเวลา 3 วัน ในแต่ละช่วงของการทดลอง ผลจากการศึกษาพบว่ากระบือที่ปล่อยแทะเล็ม 24 ชั่วโมง ใช้เวลาในการแทะเล็มนานกว่า (P<0.05) และ มีจำนวนมื้อในการแทะเล็มมากกว่า (P<0.05) แต่ใช้เวลาในการเคี้ยวเอื้องไม่แตกต่างจากกระบือที่ปล่อยแทะเล็มเฉพาะกลางวันหรือกลางคืน การเสริมใบมันสำปะหลังแห้งทำให้กระบือกินอาหารได้มากกว่า (P<0.05) กลุ่มไม่เสริมที่ปล่อย  แทะเล็มตลอด 24 ชั่วโมง ในฤดูแล้ง กระบือที่ได้รับการเสริมใบมันสำปะหลังแห้งสามารถรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ ในขณะ ที่กระบือที่ปล่อยแทะเล็ม 24 ชั่วโมงสูญเสียน้ำหนักตัวเฉลี่ย 0.13 กิโลกรัมต่อวัน ส่วนในช่วงต้นฤดูฝนแม้ว่ากระบือทั้ง 3 กลุ่มจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น แต่กลุ่มที่ได้รับการเสริมใบมันสำปะหลังแห้งมีการเจริญเติบโตสูงกว่ากลุ่มที่ไม่เสริมอย่างมีนัยสำคัญ (0.61 และ 0.77 เทียบกับ 0.33 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน ในทรีทเมนต์ที่ 2, 3 และ 1 ตามลำดับ, P<0.05) การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการเสริมใบมันสำปะหลังแห้ง จะช่วยทำให้กระบือที่ปล่อยแทะเล็มมีผลผลิตเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้ง The study was undertaken to examine the effect of dry cassava leaf supplement and different grazing periods on behaviour and production of swamp buffaloes.  A grazing trial was conducted from March to June 2008 at Surin Livestock Research and Breeding Center, Surin Province.  The experimental period was divided into two 40-day sub-periods, i.e. dry and early wet seasons, with a 20-day transition period.  Eighteen 2-year-old swamp buffalo heifers were divided into six groups, each of three heifers, with the mean group weights being similar.  Two groups were randomly assigned to each of three temporal patterns of pasture provision as follows: access to pasture from 06.00 h to 06.00 h (24-h treatment, DN), access between 06.00 h and 18.00 h (daytime treatment, D) or access between 18.00 h and 06.00 h (nighttime treatment, N).  The six groups grazed separate 3-rai paddocks of ruzigrass.  When not at pasture, the animals allocated to treatments D and N were kept in a common corral with free access to fresh drinking water and mineral blocks. Dry cassava leaf (Manihot esculenta Crantz) was offered at about 1% of body weight each day to animals on treatments D and N.  Individual animal activities were recorded by visual observations conducted at 5-min intervals throughout 3 days in each period.  The results showed that buffaloes on DN treatment spent longer (P<0.05) grazing and had more grazing meals (P<0.05) than those on treatments D and N.  Although the total ruminating time between some treatments differed by more than 1 h, these differences were not significant.  Estimated total intake was greater (P<0.05) for the supplemented buffaloes (D and N) than the unsupplemented buffaloes.  Buffaloes supplemented with dry cassava leaf gained weight, while buffaloes on the 24-h treatment (DN) lost 0.13 kg body weight per day during sub-period 1 (dry season).  During sub-period 2 (early wet season) even though all treatments gain weight, the supplemented buffaloes had significantly higher average daily gain (0.61 and 0.77 vs. 0.33 kg/head/day on treatments D, N and DN respectively, P<0.05).  It is suggested that during the dry season, offering them a supplement of dry cassava leaf will enhance the buffalo production.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectกระบือปลักen_US
dc.subjectใบมันสำปะหลังแห้งen_US
dc.subjectการเสริมโปรตีนen_US
dc.subjectพฤติกรรมการแทะเล็มen_US
dc.subjectSwamp buffaloen_US
dc.subjectdry cassava leafen_US
dc.subjectprotein supplementationen_US
dc.subjectgrazing behaviouren_US
dc.titleผลของการเสริมใบมันสำปะหลังแห้งต่อพฤติกรรมและ ผลผลิตของกระบือปลักที่เลี้ยงแบบปล่อยแทะเล็มen_US
dc.title.alternativeEffect of Dry Cassava Leaf Supplement on Behaviour and Production of Grazing Swamp Buffaloesen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.