Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71203
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสรพงค์ เบญจศรีen_US
dc.contributor.authorราตรี ชูพันธ์en_US
dc.contributor.authorจรัสศรี นวลศรีen_US
dc.date.accessioned2021-01-27T03:33:06Z-
dc.date.available2021-01-27T03:33:06Z-
dc.date.issued2552en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 25, 2 (มิ.ย. 2552), 145-154en_US
dc.identifier.issn0857-0841en_US
dc.identifier.urihttps://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/246234/168358en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71203-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1en_US
dc.description.abstractทำการผสมข้ามระหว่างถั่วฝักยาวพันธุ์ Selected–PSU กับถั่วพุ่ม 4 สายพันธุ์ได้แก่ IT82E–16, SR00–863, Khao–hinson และ Suranaree 1 หลังจากนั้นปลูกเมล็ดพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 1 ทั้ง 4 คู่ผสม ร่วมกับพันธุ์พ่อ–แม่ โดยปลูกในกระถางพลาสติกภายใต้เรือนตาข่าย ณ ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ (ภาคใต้) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2550 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design) จำนวน 3 ซ้ำ ซ้ำละ 2 ตัวอย่างย่อย 5 สัปดาห์หลังปลูกปล่อยเพลี้ยอ่อนจำนวน 5 ตัวต่อต้น บันทึกจำนวนเพลี้ยอ่อนที่เพิ่มขึ้น ประเมินการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนบนต้นถั่ว ผลผลิต และองค์ประกอบของผลผลิต ผลการทดลองพบว่า ช่วง 3 และ 4 สัปดาห์หลังปล่อยเพลี้ยอ่อน จำนวนเพลี้ยอ่อน และการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนพบมากที่สุดในถั่วฝักยาวพันธุ์ Selected–PSU ในขณะที่ถั่วพุ่มพันธุ์ IT82E–16, และลูกผสมชั่วที่ 1 ของคู่ผสม Selected–PSU x IT82E–16 มีจำนวนเพลี้ยอ่อน และการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนน้อยที่สุด ลูกผสมชั่วที่ 1 จากทุกคู่ผสมยกเว้นคู่ผสม Selected–PSU x Suranaree 1 ให้จำนวนฝักต่อต้น และผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พ่อ–แม่ Yardlong bean cv. Selected–PSU was crossed with 4 accessions of cowpeas: IT82E–16, SR00–863, Khao–hinson and Suranaree 1. Four F1 hybrids and their parents were planted in the pots under the screenhouse at National Biological Control Research Center, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla province from May to August 2007. The experimental treatments were carried out in Completely Randomized Design with 3 replications, 2 pots/replication. Five aphids (Aphis craccivora Koch) were released on each plant at 5 weeks after planting. Population of aphids, level of damage, yield and yield component were recorded and compared between parents and their F1 hybrids. The results showed that the highest number of aphids and damage score at 3 and 4 weeks after aphid infestation were found on Selected–PSU. Whereas IT82E–16 and F1 of Selected–PSU x IT82E–16 had the lowest number of aphids and damages score. F1 hybrids from three crosses produced pod number and pod yield higher than their parents, only F1 of Selected–PSU x Suranaree 1 that produced slightly lower yield than its parents.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectถั่วฝักยาวen_US
dc.subjectถั่วพุ่มen_US
dc.subjectเพลี้ยอ่อนen_US
dc.subjectพันธุ์ต้านทานen_US
dc.subjectพันธุ์ทนทานen_US
dc.subjectพันธุ์อ่อนแอen_US
dc.subjectYardlong beanen_US
dc.subjectcowpeaen_US
dc.subjectaphid (Aphis craccivora)en_US
dc.subjecttolerance lineen_US
dc.titleเปรียบเทียบการต้านทานการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนในพันธุ์พ่อ–แม่ และลูกผสมชั่วที่ 1 จากคู่ผสมระหว่าง ถั่วฝักยาวและถั่วพุ่มen_US
dc.title.alternativeComparison of Aphid (<I>Aphis craccivora </I> Koch) Resistance of Parents and Their F1 Hybrids from Crossing between Yardlong Bean and Cowpea Accessionsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.