Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71200
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนิสสา หวานเสนาะen_US
dc.contributor.authorธวัชชัย รัตน์ชเลศen_US
dc.date.accessioned2021-01-27T03:33:06Z-
dc.date.available2021-01-27T03:33:06Z-
dc.date.issued2552en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 25, 2 (มิ.ย. 2552), 115-124en_US
dc.identifier.issn0857-0841en_US
dc.identifier.urihttps://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/246229/168355en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71200-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1en_US
dc.description.abstractความต้องการของเกษตรกรให้ช่อดอกหลุดร่วงออกไปโดยวิธีปลิดด้วยมือ นับเป็นการสิ้นเปลืองแรงงานยิ่งในกรณีที่ผลิตมะม่วงเชิงการค้า การใช้ฮอร์โมนพืชเอทธิลีนในรูปของเอทธิฟอนเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับทดแทนการปลิดด้วยมือในปัจจุบัน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของเอทธิฟอนในการชักนำการหลุดร่วงของช่อดอกมะม่วงโดยใช้ระดับความเข้มข้นที่ต่างกัน รวมทั้งติดตามผลกระทบของวิธีการปลิดช่อดอกนี้ต่อการออกดอกซ้ำในเวลาต่อมา ทำการทดลองในสวนมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ของเกษตรกร ที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ อายุ 6 ปี วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ประกอบด้วยการปลิดช่อดอก 4 กรรมวิธี ได้แก่ การปลิดด้วยมือ และการชักนำให้ดอกร่วงด้วยการฉีดพ่นเอทธิฟอนอีก 3 ระดับที่ความเข้มข้น 400, 600 และ 800 ส่วนต่อล้านส่วน ทำในระยะดอกบานเต็มที่ ระยะเวลาการทดลองระหว่าง ธันวาคม 2549 – มิถุนายน 2550 มะม่วงน้ำดอกไม้ที่ศึกษามีจำนวนยอดทั้งสิ้นเฉลี่ย 347.5 ยอด/ต้น ในจำนวนนี้พืชสามารถสร้างช่อดอกได้ร้อยละ 74.08 ผลการทดลองพบว่า การฉีดพ่นด้วยเอทธิฟอน ที่ความเข้มข้น 600 ส่วนต่อล้านส่วน มีประสิทธิภาพในการชักนำให้เกิดการหลุดร่วงของช่อดอกสูงที่สุด ที่ร้อยละ 99.1 ไม่แตกต่างกับการปลิดด้วยมือ โดยเป็นการหลุดร่วงของดอกทั้งช่อออกจากยอดเองรวมทั้งใช้เวลาสั้นที่สุดไม่เกิน 19.7 วันหลังการฉีดพ่น เมื่อช่อดอกเดิมหลุดร่วงไปแล้ว พืชสร้างช่อดอกใหม่ในทุกกรรมวิธี จากตำแหน่งเดิมและบริเวณอื่น เฉพาะจากตำแหน่งเดิมนับเวลาได้ 41.8, 21.3, 27.4 และ 35.9 วันหลังการปลิดด้วยมือและฉีดพ่นสารเคมีตามลำดับโดยไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่มีจำนวนช่อดอกลดต่ำลงกว่าชุดแรกโดยเหลือเพียงร้อยละ 52.5, 61.3, 45.9 และ 40.3 ของจำนวนยอดทั้งหมดแต่แรก รวมทั้งช่อดอกมีขนาดเล็กลง จำนวนดอกย่อยในแต่ละช่อนับได้ 565.7, 373.0, 372.0 และ 442.3 ดอก/ช่อ ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติ และพบจำนวนดอกสมบูรณ์เพศในแต่ละช่อไม่แตกต่างกันที่ร้อยละ 65.5, 70.3, 73.5 และ 47.5 ตามลำดับ ข้อมูลดังกล่าวนี้ชี้ให้เห็นว่าเอทธิฟอนที่ความเข้มข้น 600 ส่วนต่อล้านส่วน ฉีดพ่นในระยะดอกบานเต็มที่ สามารถนำมาใช้แทนการปลิดช่อดอกด้วยมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในกรณีของมะม่วงน้ำดอกไม้ Hand deblossoming can be a time consuming process for farmers who grow mangoes for commerce. In order to save on the labor used in hand deblossoming, ethephon, a plant growth regulator releasing agents of ethylene, has become another option to induce deblossoming in mangoes today. This study aimed to evaluate the effectiveness of ethephon in various concentration levels on the deblossoming of mangoes and the effect of ethephon on the mango’s inflorescences reproduction. This experiment was conducted at a farmer’s orchard in Mae Taeng, Chiang Mai on mango trees cv. Nam Dok Mai that were 6 years old. The trial was laid out in completely randomized design with 4 treatments: hand deblossoming and spraying 3 various levels of ethephon at a concentration of 400, 600 and 800 ppm respectively during full bloom. Deblossoming of the inflorescences and reproduction of the mangoes inflorescences were observed from December 2006 until June 2007. The average number of the growing tips in the field trial was 347.5 shoots per tree. According to the number of apical meristems being experimented in the field, the tree could produce inflorescences at a percentage of 74.08. The result showed that after ethephon sprays were applied at a concentration level of 600 ppm on the inflorescences, the deblossoming of inflorescences was the highest at 99.1 percent, similar to hand deblossoming. The whole inflorescences were shed naturally from the shoot within 19.7 days after the ethephon sprays were applied and it took the shortest time. After the first flower set was removed, the tree reproduced a second flower set in the same site as well as in new sites. It took 41.8, 21.3, 27.4 and 35.9 days for the tree to reproduce a second flower set in the same sites by hand deblossoming and spraying 3 various levels of ethephon respectively. However, the total number of inflorescences from the second flower set was less than the first flower set at the percentage of 52.5, 61.3, 45.9 and 40.3 respectively. The panicle size of the second flower set was smaller than the first flower set. The total number of floret per inflorescence also showed no differences statistically among treatments which accounted for 565.7, 373.0, 372.0 and 442.3 respectively. The number of perfect flowers was at percentages of 65.5, 70.3, 73.5 and 47.5 respectively. From the result, ethephon sprays applied during full bloom at a concentration of 600 ppm can be used effectively on mangoes instead of hand deblossoming.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการปลิดดอกen_US
dc.subjectเอทธิฟอนen_US
dc.subjectมะม่วงน้ำดอกไม้en_US
dc.subjectDeblossomingen_US
dc.subjectethephonen_US
dc.subjectmango cv. Nam Dok Maien_US
dc.titleประสิทธิผลของเอทธิฟอนเพื่อชักนำการหลุดร่วง ของช่อดอกมะม่วงน้ำดอกไม้en_US
dc.title.alternativeEffectiveness of Ethephon for Inducing Deblossoming of Mango cv. Nam Dok Maien_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.