Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71154
Title: | ภาวะซึมเศร้าของบิดาและบทบาทของพยาบาลผดุงครรภ์ |
Other Titles: | Paternal Depression and Role of Nurse Midwife |
Authors: | จิราภรณ์ นันท์ชัย พรรณพิไล ศรีอาภรณ์ |
Authors: | จิราภรณ์ นันท์ชัย พรรณพิไล ศรีอาภรณ์ |
Keywords: | ภาวะซึมเศร้า;บิดา;พยาบาลผดุงครรภ์;Depression;Paternal;Nurse Midwife |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 42, 3 (ก.ค.-กั.ย. 2558), 203-212 |
Abstract: | ภาวะซึมเศร้าของบิดา เป็นการเบี่ยงเบนด้านอารมณ์ ความคิด และการรับรู้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและจิตใจของผู้เป็นบิดา แสดงออกด้วยอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มีอารมณ์เศร้า มีการเปลี่ยนแปลงในความอยากอาหารและมีการใช้ยาหรือดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะซึมเศร้าของบิดามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่วโลกทั้งประเทศในแถบยุโรปและเอเชียสำหรับประเทศไทยพบภาวะซึมเศร้าของบิดาไทย ร้อยละ 13.88 (จิราภรณ์ นันท์ชัย, 2557 ) และสำหรับบิดาที่มีบุตรคนแรกพบได้ร้อยละ 24.14 (พรรณพิไล ศรีอาภรณ์, 2558) ภาวะซึมเศร้าของบิดาส่งผลกระทบต่อทั้งบิดา มารดาและบุตร ทำให้การทำหน้าที่ของผู้เป็นบิดาลดลง มีความยากลำบากในการปรับตัวต่อบทบาทการเป็นบิดา ไม่มีความมั่นใจในการสนับสนุนช่วยเหลือมารดาหลังคลอด และมีปฏิสัมพันธ์กับบุตรลดน้อยลงส่งผลกระทบด้านลบต่ออารมณ์และพัฒนาการของบุตรในวัยทารก ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของบิดา 3 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุของบิดา การทำงานการวางแผนการมีบุตร และความพึงพอใจในเพศของบุตร 2) ปัจจัยด้านชีวภาพ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยน ของระดับฮอร์โมนในร่างกาย และ 3) ปัจจัยด้านจิตสังคม ได้แก่ ความเครียด ความวิตกกังวล ความรู้สึกไม่แน่นอน ความเชื่อมั่นในตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม พยาบาลผดุงครรภ์มีบทบาทในการป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้าของบิดาโดยเริ่มตั้งแต่การคัดกรองภาวะซึมเศร้าของบิดา รวมทั้งการส่งเสริม สนับสนุนบทบาทการเป็นบิดาตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ระยะคลอดและหลังคลอดของภรรยาโดยคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของบิดา ทั้งนี้เพื่อให้บิดาสามารถปรับตัวสู่บทบาทใหม่และทำหน้าที่บิดาได้อย่างมีประสิทธิภาพ Paternal depression is a deviation of emotion, thinking and perception that causes physical and psychological changes within the father. Its symptoms are fatigue, headache,despondence, changes in appetite and the use of drugs or alcohol. Paternal depression is increasing worldwide, both in Europe and Asia. In Thailand, the paternal depression rate was found to be 13.88% (Nunchai, 2014) and 24.14% for the first time father (Sriarporn, 2015). Paternal depression affects the father, mother and children through the father’s decreased functionality, his difficulties to adapt to his roles, his lack of confidence in supporting the mother during postpartum, and his decreased interaction with his children. Therefore, it has a negative impact on the emotional development of the child. There are three factors associated with paternal depression: 1) personal factors such as age of father, working status, plan to have child, and satisfaction of baby’s sex; 2) biological factors related to changing hormone levels; and 3) psychosocialfactors such as stress, anxiety, uncertainty, self-confidence and social support. Nurse midwives have role in preventing paternal depression which starts with screening paternaldepression and promoting support for the father’s role through pregnancy, labor and postpartum of his wife. Through concerning of factors associated with paternaldepression, so that father could adapt to his new role and function effectively. |
Description: | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ |
URI: | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/43584/36021 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71154 |
ISSN: | 0125-0095 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.