Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71137
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | กาญจนา กันทาหงษ์ | en_US |
dc.contributor.author | ศรีมนา นิยมค้า | en_US |
dc.contributor.author | สุธิศา ล่ามช้าง | en_US |
dc.date.accessioned | 2021-01-27T03:33:03Z | - |
dc.date.available | 2021-01-27T03:33:03Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 42, 3 (ก.ค.-กั.ย. 2558), 1-12 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-0078 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/43416/35873 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71137 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | การเจ็บป่วยเฉียบพลันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยเฉพาะในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า5ปี ซึ่งบิดามารดาควรมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กป่วยในโรงพยาบาล การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของการสนับสนุนจากพยาบาล สมรรถนะแห่งตนของบิดามารดา ประสบการณ์ในการดูแลเด็กป่วยของบิดามารดา และความรุนแรงของโรคตามการรับรู้ของบิดามารดาต่อการมีส่วนร่วมของบิดามารดาในการดูแลเด็กป่วยเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมของเชปป์ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมเป็นกรอบในการศึกษา เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด คือ บิดามารดาของเด็กป่วยเฉียบพลันอายุ 1 เดือนถึง 5 ปีจำนวน 104 รายที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลศูนย์ลำปางและโรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินการมีส่วนร่วมของบิดามารดาในการดูแลเด็กป่วยในโรงพยาบาลของเชปป์ ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยโดยณิชกานต์ ไชยชนะและคณะ (2546) แบบประเมินการสนับสนุนจากพยาบาลของบิดามารดา พัฒนาโดยไมลส์และคณะ (Mile et al.,1999) ซึ่งผู้วิจัยแปลเป็นภาษาไทยด้วย วิธีแปลย้อนกลับ แบบประเมินความสามารถของบิดามารดาในการดูแลเด็กป่วยเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของแสงตะวัน บุญรอด (2553) และแบบสอบถามความรุนแรงของความเจ็บป่วยของเด็ก ป่วยตามการรับรู้ของบิดามารดาของไกรวรร กาพันธ์ และคณะ (2553) โดยแบบประเมินการมีส่วนร่วมของบิดามารดาในการดูแลเด็กป่วยเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แบบประเมินการสนับสนุนจากพยาบาลของบิดามารดา และแบบประเมินความสามารถของบิดามารดาในการดูแลเด็กป่วยเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .91 .96 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา มีดังนี้ 1. สมรรถนะแห่งตนของบิดามารดาสามารถทำนายการมีส่วนร่วมของบิดามารดาในการดูแลเด็กป่วยเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ ร้อยละ 30.2 (R2 = .302, p<.001) 2. การสนับสนุนจากพยาบาล ประสบการณ์ในการดูแลเด็กป่วยของบิดามารดาและความรุนแรงของโรคตามการรับรู้ของบิดามารดา ไม่สามารถทำนายการมีส่วนร่วมของบิดามารดาในการดูแลเด็กป่วยเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอิทธิพลของสมรรถนะแห่งตนของบิดามารดาต่อการมีส่วนร่วมของบิดามารดาในการดูแลเด็กป่วยเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และเป็นแนวทางในการพัฒนาวิธีการเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนของบิดามารดาในการมีส่วนร่วมดูแลเด็กป่วยเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต่อไป Acute illness is the most frequent reason for children, especially those younger than 5 years, to be admitted to the hospital. Parents should be involved in the care of children in hospitals. This predictive correlational research study aimed to describe predictability of nurse support, parents’ self-efficacy, parents’ experience in caring for a child with an illness, and parents’ perceived severity of the disease toward parent participation in caring for hospitalized children with acute illnesses. Schepp’s parent participation concept was used as the study framework. The sample, selected according to the inclusion criteria, was 104 parents of hospitalized children with acute illnesses aged 1 month to 5 years admitted to the pediatric unit of Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital, Lampang Hospital, and Buddhachinaraj Pitsanulok Hospital during January to March 2014. The research instruments consisted of Schepp’s Parents’ Participation Scalestranslated into Thai by Chaichana et al., (2003), the Nurse Parent Support Tool developedby Mile et al (1999), which the researcher translated into Thai by back translation method,the Self-efficacy of Parent Participation in Caring for Hospitalized Children with Acute Illness Questionnaire developed by Boonroad (2010), and the Scale of Severity of Diseaseas Perceived by Parents developed by Kaphan et al (2010). The Cronbach’s alphacoefficients of the Parents’ Participation Scales in Caring Hospitalized Children with AcuteIllness, the Nurse Parent Support Tool, and the Self-efficacy of Parent Participation in Caring for Hospitalized Children with Acute Illness Questionnaire were .91, .96 and .91, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and stepwise multiple regression. The study results revealed that:1. Self-efficacy of parents explained 30.2% of the variation in parent participation in caring for hospitalized children with an acute illness (R2 = .302, p<.001); and2. Nurse support, parental experience in caring for a child with an illness, and parentalperceived severity of the disease could not explain the variation in parent participation in caring for hospitalized children with an acute illness.The results provide information regarding the influence of parental self-efficacy which may be used to develop nursing interventions to enhance the self-efficacy of parents in their participation in caring for hospitalized children with an acute illness | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การมีส่วนร่วม | en_US |
dc.subject | บิดามารดา | en_US |
dc.subject | เด็ก | en_US |
dc.subject | การป่วยเฉียบพลัน | en_US |
dc.subject | การรักษาในโรงพยาบาล | en_US |
dc.subject | Participation | en_US |
dc.subject | Parents | en_US |
dc.subject | Child | en_US |
dc.subject | Acute Illness | en_US |
dc.subject | Hospitalization | en_US |
dc.title | เด็กป่วยเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล | en_US |
dc.title.alternative | Factors Predicting Parent Participation in Caring forHospitalized Children with Acute Illness | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.