Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71135
Title: ผลของฤดูกาลต่อความหลากหลายของราเอนโดไฟท์ ในรากกล้วยไม้สกุลว่านจูงนาง
Other Titles: Seasonal Effect on Endophytic Fungal Diversity in <I>Geodorum </I>Root
Authors: จักรพงศ์ จันทวงศ์
ณัฐา โพธาภรณ์
อรวรรณ ฉัตรสีรุ้ง
Authors: จักรพงศ์ จันทวงศ์
ณัฐา โพธาภรณ์
อรวรรณ ฉัตรสีรุ้ง
Keywords: ราเอนโดไฟท์;ความหลากหลาย;ว่านจูงนาง;ป่าเต็งรัง;Endophytic fungi;diversity;Geodorum;deciduous dipterocarp forest
Issue Date: 2553
Publisher: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารเกษตร 26, 1 (ก.พ. 2553), 35-42
Abstract: การศึกษาความหลากหลายของราเอนโดไฟท์ในรากกล้วยไม้ดินสกุลว่านจูงนางที่พบในป่าเต็งรัง ในฤดูร้อน (hot dry season) ฤดูฝน (rainy season) และฤดูหนาว (cold dry season) บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ–ปุย ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2551 ถึงเดือนกรกฎาคม 2552 พบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของดินในฤดูฝนเป็น 24.03 ๐C และฤดูร้อนเป็น 24.17 ๐C แตกต่างกับฤดูหนาวซึ่งมีอุณหภูมิดินเท่ากับ 17.96 ๐C อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นเฉลี่ยของดินในฤดูฝน ฤดูหนาวและฤดูร้อนเป็น 17.83, 3.30 และ 14.28% ตามลำดับ และค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นเฉลี่ยของดินในฤดูหนาวแตกต่างจากฤดูฝนและฤดูร้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาความหลากหลายของราเอนโดไฟท์ พบราทั้งหมด 13 สกุล จากจำนวน 198 ไอโซเลต โดยราที่พบส่วนใหญ่เป็นสกุล Trichoderma และ Fusarium ส่วนสกุลของราที่พบน้อยที่สุดคือ Aspergillus, Colletotrichum, Eupenicillium และ Helicoma โดยในแต่ละฤดูกาลมีสกุลของราที่พบแตกต่างกันไป จากการคำนวณค่า Isolation rate , Colonization rate (%) และดัชนีชี้วัดความหลากหลายของแชนนอนและวีเนอร์ (Shannon–Wiener Index) พบว่าฤดูฝนให้ค่าทั้งหมดสูงที่สุด คือ 1.84, 87.50 และ 2.09 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบดัชนีความคล้ายคลึงกันของชนิด (similarity index) พบว่าชนิดของราในฤดูร้อนและฤดูหนาว มีความคล้ายคลึงกันมากกว่าในฤดูฝน แสดงให้เห็นว่าปัจจัยทางกายภาพที่เปลี่ยนไปตามฤดูกาลต่าง ๆ มีผลต่อชนิดและความหลากหลายของราเอนโดไฟท์ Endophytic fungal diversity of Geodorum root in three different seasons, hot dry, rainy and cold dry seasons, in deciduous dipterocarp forest at Doi Suthep–Pui National Park was studied from July 2008 to July 2009. The average soil temperature in rainy season, 24.03 ๐C, and hot dry season, 24.17 ๐C, was significantly different from cold dry season, 17.96 ๐C. The soil moisture content of the rainy season, cold dry season and hot dry season were 17.83, 3.30 and 14.28%, respectively. Soil moisture content of the cold dry season was significantly different from the other two seasons. A total of 198 endophytic fungal isolates, comprising 13 genera, were obtained. The major genera were Trichoderma followed by Fusarium, the least were Aspergillus, Colletotrichum, Eupenicillium and Helicoma. However, fungal genera were different from season to season. The isolation rate, colonization rate (%) and Shannon–Wiener Index of these endophytes were investigated. The maximum of all calculated values were found in rainy season were 1.84, 87.50 and 2.09, respectively. The results of similarity index showed that endophytic fungi species of the hot dry season was similar to those of the cold dry season. However, they were quite different from those of the rainy season. This study indicated that changes of physical factors in different seasons had effect on endophytic fungal diversity.
Description: วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 16
URI: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/246154/168290
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71135
ISSN: 0857-0857
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.