Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71088
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorSanchai Jaturasitha-
dc.contributor.advisorMontri Punyatong-
dc.contributor.advisorWinai Yothinsirikul-
dc.contributor.authorNapatsorn Monthaen_US
dc.date.accessioned2020-12-04T03:31:36Z-
dc.date.available2020-12-04T03:31:36Z-
dc.date.issued2020-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71088-
dc.description.abstractThis study was comprised of two main parts: The first part intended to study the digestibility of perilla meal as an agricultural by-product in broiler and finishing swine diets, and the second was to study the effects of dietary perilla meal inclusion on growth performance, and carcass and meat qualities. Experiment 1.1 to study the effects of perilla meal in broiler diets on apparent digestibility. This experiment used twenty-four broilers (Cobb 500) at twenty-seven days of age. Constructed using a Completely Randomized Design (CRD), the dietary formula was divided into three groups as follows: BPM0, BPM4, and BPM8; containing perilla meal portions of 0, 4, and 8% of diet, respectively. The results showed that broilers fed the perilla meal inclusion (BPM4 and BPM8) had the highest dry matter intake (P ≤ 0.05). BPM8 showed higher feces excretion than the other groups (P ≤ 0.05), and that the ether extract and crude fiber digestibility in BPM0 and BPM4 were higher than BPM8 (P ≤ 0.05). The apparent metabolizability of nitrogen in BPM8 group presented the highest significant, followed by BPM4 and BPM0, respectively (P ≤ 0.05), with no significant differences in energy metabolizability between all groups. Experiment 1.2 to study the effect of perilla meal upon the apparent digestibility of finishing swine. Nine castrated male finishing-swine [(Landrace x Doroc) x Large White] with an average body weight of 60 kg were used in this study. The experiment was performed by Change-Over Design. Dietary treatments were divided into three groups; PPM0, PPM10, and PPM20; representing dietary inclusions of perilla meal at 0, 10, and 20% of diet, respectively. While there were no significant differences in dry matter intake among groups, the PPM20 displayed the highest gross energy and feces excretion (P ≤ 0.05). Feces and urine were collected for further chemical analysis, in which the total nitrogen and urinary energy in the PPM10 and PPM20 urine were higher than that of the control group (P ≤ 0.05). In the examination of apparent digestibility, swine fed the PPM10 diet showed better protein digestibility than the other groups (P ≤ 0.05). PPM0 revealed higher fat fiber and ash digestibilities, whereas PPM20 showed the lowest values of nutrient digestibilities (P ≤ 0.05). Additionally, the total digestibility, digestible energy, and biological value percentages; as well as the net protein utilization percentages in both the PPM0 and PPM10 groups were higher than those of the PPM20, yet remained insignificant (P ≤ 0.05). Experiment 2.1 to study the effects of perilla meal dietary additives in broiler diets on growth performance, and carcass and meat qualities. Two hundred one-day-old broilers (Cobb 500) of mixed gender were divided into five groups in CRD. The PM0, PM2, PM4, PM6, and PM8 supplemented diets contained perilla meal inclusions of 0, 2, 4, 6, and 8% of diet, respectively. Broilers were reared for forty-two days, then slaughtered and cut into four portions for investigation of the carcass and meat qualities. The results showed that the perilla meal inclusions affected broiler growth performances; including final weight, body weight gain, feed intake (4-6 weeks), average daily gain (ADG), and feed conversion ratio (FCR) (P ≤ 0.05). The PM8 group produced the highest body weight gain, feed intake, and average daily gain; whereas the PM0 and PM4 were highest in FCR (P ≤ 0.05). For carcass quality, live weight was not significant (P > 0.05); however, cold carcass percentages were highest in the PM4 and PM8 groups. Abdominal fat percentages were found to decrease with increases in the percentage of perilla meal. The lowest abdominal fat percentage was understandably found in the maximum (8%) supplement (P ≤ 0.05). The results observed in four portion cuts; breast, thigh, and tenderloin, as well as the sum of all pieces, were higher in perilla meal groups than control group (P ≤ 0.05). The breast and thigh muscles displayed similar trends in nutrient composition. Moisture was not significantly different in each group. The PM8 group presented the highest protein content, as well as the lowest fat content among groups (P ≤ 0.05). The meat quality of breast, L* in PM8 was lowest when a* and b* in the perilla meal groups were higher than control group (P ≤ 0.05). PH45 was found the lowest in PM0 group, while pH24 was found the lower in PM0, PM2 and PM4 than the other groups (P ≤ 0.05). Water holding capacity (WHC) demonstrated lower drip and cooking losses (boil) in perilla meal groups than in the control group (P ≤ 0.05). The perilla meal inclusions further increased meat tenderness, due to a decrease in shear force value; in which the lowest value overall was recorded in the PM8 group (P ≤ 0.05). Sensory tests were not significant in all groups. Thigh muscle color (L*, a*, and b*) did not differ in each group (P > 0.05). PH45 and pH24 of PM2 also showed higher acidity properties. Rancidity was detected by malondialdehyde (MDA, meat mg/kg) product analysis. Evaluated at 1, 3, and 6 days; the perilla meal groups contained unsaturated fatty acids, yet produced lower MDA values than that of the control. Broiler breast and thigh muscles showed increased levels of both mono- and poly-unsaturated fatty acids in the perilla supplemented diets. Furthermore, the n-3:n-6 fatty acid ratios decreased in the perilla meal groups. Experiment 2.2 to study the effect of perilla meal dietary inclusions through different feeding periods in finishing swine diets on growth performance, and carcass and meat qualities. Forty-eight finishing swine of mixed gender with an average body weight of 60 kg were divided into four groups, utilizing individual cages, and evaluated through CRD. Dietary treatments consisted of a diet without perilla meal (PM0W), and diets containing 10 % perilla meal fed to finishing swine for 4 (PM4W), 6 (PM6W), and 8 (PM8W) weeks before slaughter. The results showed that final weight, body weight gain, feed intake, ADG, FCR, cold carcass, and loin eye area were highest in the PM8W group, which also displayed the least amount of backfat thickness (P ≤ 0.05). Carcass dissection, head, neck, shoulder, foreleg, hind leg, loin, and tenderloin percentages were not significantly different, yet high values were observed in the belly, ham, and lean meat percentages in swine fed with perilla meal at eight weeks before slaughter (P ≤0 .05). Longissimus dorsi and subcutaneous fat were analyzed for nutrient content and fatty acid profile, in which swine in the PM8W group showed higher fat and protein contents and increased levels of omega-3 fatty acids. PH45 and pH24 were not significantly different in each group. Meat color in L* did not differ; however, a* and b* of swine of the PM4W group showed higher values than those of the other groups (P ≤ 0.05). WHC was not different in the drip-loss percentage, but the cooking loss in the PM6W and PM8W groups was lower than that of the control group (P ≤ 0.05). Swine fed perilla meal in PM6W presented lower shear force than other groups (P ≤ 0.05). Fat firmness of subcutaneous fat decreased slightly with increased additions of perilla. Swine fed 10% perilla meal for longer periods (PM8W) had the softest textures, and achieved aroma flavor and tenderness scores through sensory tests higher than that of the control; however, off-odor and overall acceptability were not significantly different (P > 0.05). Pork stored for periods of 1, 3, 6, and 9 days showed lower MDA values in the perilla meal groups than control (P ≤ 0.05), particularly in the PM6W and PM8W groups. Increases were also observed in polyunsaturated fatty acids, while decreases occurred in saturated fatty acids and the n-6:n-3 ratios. Similarly, the fatty acid composition of subcutaneous fat followed the same linear direction as the fatty acid composition in the meat.en_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectPerilla frutescensen_US
dc.subjectSwineen_US
dc.subjectOmega-3en_US
dc.subjectMeaten_US
dc.subjectBroileren_US
dc.titleUtilization of Perilla (Perilla frutescens) meal in broiler and finishing swine feed for enhancing Omega-3 fatty acid in meaten_US
dc.title.alternativeการใช้ประโยชน์กากงาขี้ม้อนในอาหารไก่เนื้อและสุกรขุนเพื่อเพิ่มกรดไขมันโอเมก้า 3 ในเนื้อสัตว์en_US
dc.typeThesis
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือส่วนที่ 1 ศึกษาผลของการใช้กากงาขี้ม้อนที่ได้จากอุตสาหกรรมการเกษตรมาใช้ในสูตรอาหารไก่เนื้อและสุกรระยะขุนต่อค่าการย่อยได้ ปรากฏของไก่เนื้อและสุกร ส่วนที่ 2 ศึกษาผลของการใช้กากงาขี้ม้อนในอาหารไก่เนื้อและสุกรระยะขุน ต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต คุณภาพซาก และคุณภาพเนื้อ การทดลองที่ 1.1 ศึกษาผลของการใช้กากงาขี้ม้อนในสูตรอาหารไก่เนื้อต่อค่าการย่อยได้ ปรากฏใช้ไก่เนื้อ (Cobb 500) คละเพศจำนวน 24 ตัว อายุ 27 วัน ใช้แผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มการทดลองคือกลุ่ม BPM0, BPM4, และ BPM8 คือ กลุ่มที่ได้รับอาหารที่มีกากงาขี้ม้อนในระดับ 0, 4 และ 8% ของอาหาร ตามลำดับ พบว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารที่มีองค์ประกอบของกากงาขี้ม้อน (BPM4 และ BPM8) มีค่าวัตถุแห้งที่กินเข้าไปสูงที่สุด (P≤0.05) นอกจากนี้กลุ่ม BPM8 มีปริมาณวัตถุแห้งที่ขับออกมาสูงกว่ากลุ่ม BPM0 และ BPM4 (P≤0.05) ในส่วนของค่าการย่อยได้ปรากฏของไขมันและเยื่อใยในกลุ่ม BPM0 และ BPM4 มีค่าสูงกว่ากลุ่ม BPM8 แต่ค่าการย่อยได้ปรากฏของไนโตรเจนในกลุ่ม BPM8 มีค่าสูงที่สุดตามด้วยกลุ่ม BPM4 และกลุ่ม BPM0 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามไม่มีความแตกต่างกันของพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ (ME, MJ) ในแต่ละกลุ่มแต่กลุ่ม BPM10 มีค่าต่ำที่สุด การทดลองที่ 1.2 ศึกษาผลของการใช้กากงาขี้ม้อนในสูตรอาหารสุกรระยะขุน ต่อค่าการย่อยได้ปรากฏ ใช้สุกรระยะขุนเพศผู้ จำนวน 9 ตัว สายพันธุ์ผสม 3 สาย ((Landrace x Doroc) x Large White) น้ำหนักตัวเฉลี่ย 60 กิโลกรัมทำการทดลองแบบ Change-Over Design เก็บมูลและปัสสาวะสุกรเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี อาหารทดลองแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มการทดลองคือ PPM0, PPM10, และ PPM20 คืออาหารที่มีกากงาขี้ม้อนเป็นองค์ประกอบในระดับ 0, 10 และ 20% (PPM20) พบว่า สุกรแต่ละกลุ่มมีปริมาณวัตถุแห้งที่กินไม่แตกต่างกัน (P>0.05) และกลุ่มที่กินกากงาขี้ม้อน 20% มีปริมาณพลังงานที่ได้รับ (GE, MJ) และวัตถุแห้งที่ขับถ่ายออกมาสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) นอกจากนี้ปริมาณไนโตรเจนในปัสสาวะของกลุ่ม PPM10 และ PPM20 สูงกว่ากลุ่มควบคุม (P≤0.05) สำหรับค่าการย่อยได้ปรากฏสุกรกลุ่มที่กินอาหาร PPM10 มีค่าการย่อยได้ของโปรตีนสูงที่สุด แต่กลุ่มควบคุม (PPM0) มีค่าการย่อยได้ของไขมัน เยื่อใยและเถ้าสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ ในขณะที่กลุ่ม PPM20 มีค่าการย่อยได้ปรากฏของโภชนะเหล่านี้ต่าที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) นอกจากนี้เปอร์เซ็นต์การย่อยได้รวมเปอร์เซ็นต์พลังงานที่ย่อยได้ ค่าทางชีวภาพของโปรตีนและโปรตีนสุทธิที่ใช้ประโยชน์ได้ของกลุ่ม PPM0 และกลุ่ม PPM10 ไม่แตกต่างกันและยังมีค่าสูงกว่ากลุ่ม PPM20 อย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย (P≤0.05) การทดลองที่ 2.1 ศึกษาผลของการใช้กากงาขี้ม้อนในระดับที่แตกต่างกันในอาหารไก่เนื้อต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต คุณภาพซากและคุณภาพเนื้อไก่ การทดลองนี้ใช้ไก่เนื้อ (Cobb 500) คละเพศอายุ 1 วัน จำนวน 200 ตัว แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มการทดลอง คือกลุ่ม PM0, PM2, PM4, PM6, และ PM8 คือกลุ่มที่ได้รับอาหารที่มีกากงาขี้ม้อนเป็นองค์ประกอบในระดับ 0, 2, 4, 6 และ 8% ของอาหาร ตามลำดับ ไก่เนื้อถูกเลี้ยงเป็นเวลา 42 วัน เมื่อสิ้นสุดการทดลองไก่เนื้อทั้งหมดถูกนำไปฆ่าและทำการตัดแต่งซากแบบ 4 ส่วน (4 portion cuts) เพื่อศึกษาคุณภาพซากและคุณภาพเนื้อ พบว่าสมรรถภาพการเจริญเติบโตมีความแตกต่างกัน (P>0.05) ของน้ำหนักสุดท้าย น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นปริมาณอาหารที่กินระหว่างสัปดาห์ที่ 4 ถึง 6 อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน (ADG, กรัม/วัน) และอัตราการแลกน้ำหนัก (FCR) โดยน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ปริมาณการกินอาหาร และ ADG ของกลุ่ม PM8 มีค่าสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่อัตราการแลกน้ำหนักในกลุ่ม PM2 และ PM6 มีค่าต่ำที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) สำหรับคุณภาพซาก น้ำหนักมีชีวิตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญแต่เปอร์เซ็นต์ซากอุ่นของไก่เนื้อกลุ่ม PM4 และ PM8 สูงที่สุด (P≤0.05) เปอร์เซ็นต์ไขมันช่องท้องพบว่ามีแนวโน้มลดลงเมื่อมีการเพิ่มระดับการใช้กากงาขี้ม้อนในสูตรอาหารและกลุ่มที่กินกากงาขี้ม้อน 8% มีเปอร์เซ็นต์ไขมันช่องท้องต่ำที่สุด (P≤0.05) เมื่อพิจารณาเปอร์เซ็นต์ชิ้นส่วนซากตัดเป็น 4 ส่วนไม่พบความแตกต่างกันในส่วนของเปอร์เซ็นต์น่อง แต่เปอร์เซ็นต์อก สะโพก สันใน และสัดส่วนรวม 4 ส่วนในกลุ่มที่กินอาหารที่มีองค์ประกอบของกากงาขี้ม้อนมีเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้กากงาขี้ม้อน (P≤0.05) สำหรับองค์ประกอบโภชนะของเนื้ออกและเนื้อสะโพกมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกันโดยไม่มีความแตกต่างกันในส่วนของความชื้น แต่ปริมาณโปรตีนในกลุ่ม PM8 มีค่าสูงที่สุดในขณะที่ปริมาณไขมันในกลุ่มนี้มีค่าต่ำ กว่ากลุ่มอื่น ๆ ในด้านคุณภาพเนื้ออกมีค่า L*ในกลุ่มที่กินอาหาร PM8 มีค่าต่ำ ที่สุด (P≤0.05) ส่วนค่า a* และ b*ในกลุ่มที่กินกากงาขี้ม้อนมีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ไม่กินกากงาขี้ม้อน ในส่วนของ pH45 มีค่าต่ำที่สุดในกลุ่ม PM0 อย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ pH24 ของกลุ่ม PM0, PM2 และ PM4 มีค่าต่ำกว่ากลุ่มอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) ส่วนคุณสมบัติค่าการอุ้มน้ำของเนื้อกลุ่มที่กินกากงาขี้ม้อนมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำระหว่างการแขวนและการสูญเสียน้ำระหว่างการปรุงสุก (ต้ม) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (P≤0.05) นอกจากนี้การใช้กากงาขี้ม้อนในอาหารไก่เนื้อยังมีผลเพิ่มความนุ่มเนื้อ ทำให้มีค่าแรงตัดผ่านเนื้อที่น้อยลงและมีค่าน้อยที่สุดในกลุ่ม PM8 สำหรับผลการตรวจชิมไม่มีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มการทดลอง ในด้านของเนื้อสะโพกค่าสีของเนื้อไม่มีความแตกต่างกัน (L*, a* และ b*) ส่วนค่า pH45 และ pH24 ของกลุ่ม PM2 มีคุณสมบัติความเป็นกรดสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนคุณสมบัติการอุ้มน้ำของเนื้อสะโพกค่าการสูญเสียน้ำ จากการแขวนไม่แตกต่างกัน แต่เปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำในขณะปรุงสุก (ต้ม) ในกลุ่ม PM8 มีค่าต่ำที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) นอกจากนี้การใช้กากงาขี้ม้อนมีผลต่อความนุ่มของเนื้อสะโพกโดยกลุ่ม PM4 และ PM2 มีค่าแรงตัดผ่านที่ต่ำและสูงที่สุด (P≤0.05) ตามลำดับ นอกจากนี้ผลการตรวจชิมไม่พบความแตกต่างกันระหว่างกลุ่ม ในส่วนของค่าลิพิดออกซิเดชันหรือค่าความเหม็นหืนแสดงออกมาเป็นค่ามาลอนไดอัลดิไฮด์ (มก.ต่อ กก.เนื้อ) โดยทำการทดลองเก็บเนื้อตั้งแต่วันที่ 1, 3 และ 6 ผลการทดลองพบว่าทั้ง ๆ ที่กลุ่มที่กินกากงาขี้ม้อนมีองค์ประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงขึ้น แต่กลับมีค่าความเหม็นหืนของเนื้ออกและเนื้อสะโพกต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (P≤0.05) ในวันที่ทำการเก็บรักษาไว้ 1, 3 และ 6 วัน สำหรับองค์ประกอบของกรดไขมันในเนื้ออกและเนื้อสะโพกของกลุ่มที่กินกากงาขี้ม้อนในระดับต่าง ๆ มีผลต่อการลดองค์ประกอบของกรดไขมันชนิดอิ่มตัวและเพิ่มองค์ประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัวทั้งชนิดเชิงเดี่ยวและเชิงซ้อน นอกจากนี้ยังมีผลในการลดสัดส่วนของกรดไขมัน n-6:n-3 อีกด้วย การทดลองที่ 2.2 ศึกษาผลของการใช้กากงาขี้ม้อนในอาหารสุกรระยะขุนโดยให้ในระยะเวลาที่แตกต่างกัน ต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต คุณภาพซากและคุณภาพเนื้อสุกร การทดลองนี้ใช้สุกรระยะขุนคละเพศ 48 ตัวน้ำหนักตัวเฉลี่ย 60 กิโลกรัม ใช้แผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มการทดลอง (ขังเดี่ยว) คือกลุ่มที่ไม่ได้รับอาหารที่มีองค์ประกอบของกากงาขี้ม้อนตลอดการทดลอง (PM0W) และกลุ่มที่ได้รับอาหารที่มีองค์ประกอบของกากงาขี้ม้อน 10% เป็นระยะเวลา 4 (PM4W), 6 (PM6W) และ 8 (PM8W) สัปดาห์ก่อนฆ่าพบว่าน้ำหนักสุดท้าย น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ปริมาณอาหารที่กิน ADG FCR ซากเย็น และพื้นที่หน้าตัดเนื้อสันมีค่าสูงในกลุ่ม PM8W แต่ความหนาไขมันสันหลังในกลุ่มนี้บางที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) ในด้านของการตัดแต่งเปอร์เซ็นต์ชิ้นส่วนของ หัว สันคอ เนื้อไหล่ ขาหน้า สันนอก สันในและขาหลังไม่มีความแตกต่างกัน (P>0.05) แต่เปอร์เซ็นต์สามชั้น สะโพก และเนื้อแดงทั้งหมดของกลุ่มที่กินกากงาขี้ม้อนเป็นเวลา 8 สัปดาห์ก่อนฆ่ามีค่าสูงที่สุด (P≤0.05) เนื้อสันนอกและไขมันใต้ผิวหนังถูกนำมาวิเคราะห์คุณภาพเนื้อและองค์ประกอบของกรดไขมันพบว่าโภชนะเนื้อสุกรของกลุ่ม PM8W มีองค์ประกอบของไขมันและโปรตีนสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ (P≤0.05) ในส่วนของค่า pH45 และ pH24 ไม่มีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มการทดลอง รวมถึงค่าสีของเนื้อไม่พบความแตกต่างของค่า L* แต่ค่า a* และ b* ของกลุ่มที่กินกากงาขี้ม้อน 4 สัปดาห์ขึ้นไปมีค่าสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ (P≤0.05) สำหรับคุณสมบัติค่าการอุ้มน้ำของเนื้อ เปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำจากการแขวนไม่มีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มการทดลอง แต่ค่าเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำระหว่างการปรุงสุก (ต้ม) ของกลุ่ม PM6W และ PM8W ต่ำกว่ากลุ่มอื่น ๆ (P≤0.05) ค่าความนุ่มเนื้อแสดงออกมาเป็นค่าแรงตัดผ่าน (kg) โดยเนื้อสุกรกลุ่มที่กินกากงาขี้ม้อน 6 สัปดาห์ขึ้นไปมีค่าแรงตัดผ่านต่ำกว่ากลุ่มอื่น ๆ (P≤0.05) ค่าความคงรูปของไขมันใต้ผิวหนังของสุกรค่อยๆ ลดลงเมื่อเพิ่มระยะเวลาของการให้กินอาหารที่มีกากงาขี้ม้อน 10% โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกินอาหารที่มีกากงาขี้ม้อน 8 สัปดาห์ก่อนฆ่ามีค่าความคงรูปของไขมันต่ำที่สุด (P≤0.05) ในด้านของการตรวจชิมเนื้อสุกร กลุ่มที่กินอาหารที่มีกากงาขี้ม้อนทุกกลุ่มได้คะแนนการตรวจชิมในด้านของกลิ่น รสชาติและความนุ่ม สูงกว่ากลุ่มควบคุม (P≤0.05) อย่างไรก็ตามคะแนนของกลิ่นไม่พึงประสงค์และความพึงพอใจโดยรวมของแต่ละกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน ค่าความหืนของเนื้อแสดงค่าออกมาเป็นปริมาณมาลอนไดอัลดิไฮด์ (มก.ต่อ กก.เนื้อ) โดยทำการทดลองเก็บรักษาเนื้อไว้ 1, 3, 6 และ 9 วัน พบว่าสุกรกลุ่มที่กินอาหารที่มีกากงาขี้ม้อนมีค่าความเหม็นหืนต่ำกว่ากลุ่มควบคุมและเห็นได้ชัดในกลุ่ม PM6W และ PM8W เมื่อทำการเก็บรักษาไว้ที่ 6 และ 9 วัน (P≤0.05) สำหรับองค์ประกอบของกรดไขมันในเนื้อพบว่าปริมาณของกรดไขมันโอเมก้า 3 ในเนื้อสุกรค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มระยะเวลาของการให้อาหารที่มีกากงาขี้ม้อนเป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้ยังเพิ่มองค์ประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนรวมไปถึงลดองค์ประกอบของกรดไขมันอิ่มตัวและสัดส่วนของ n-6:n-3 อีกด้วย (P≤0.05) ในทำนองเดียวกันองค์ประกอบของกรดไขมันของไขมันใต้ผิวหนังเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับองค์ประกอบของกรดไขมันในเนื้อen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
580851002 นภัสสร มนทา.pdf4.79 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.