Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71047
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จุฑามาส คุ้มชัย | - |
dc.contributor.advisor | ต่อนภา ผุสดี | - |
dc.contributor.author | อัจจิมา ณ จินดา | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-10-22T03:21:48Z | - |
dc.date.available | 2020-10-22T03:21:48Z | - |
dc.date.issued | 2020-03 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71047 | - |
dc.description.abstract | Four male sterile lines (A-line: S rfrf); BC1-10 × 1450-3 (A1), BC1-16 × 1450-3 (A2), BC1-16 × 1450-7 (A3) and BC1-10 × 1450-6 (A4), one B line (N rfrf), 1450-7-10-17 (B) and four fertile lines (N RfRf), PJ.05 (C1), PJ.07 (C2), 1448-5-13-6 (C3) and 1449-3-9-15 (C4) were studied in this experiment. A-line and fertile lines were crossed by using a half diallel program. All combinations were evaluated for the heterosis of yield and horticultural characteristics. Sixteen hybrids of the crossing program were grown at the field trial with parental lines and commercial variety by using a randomized complete block design (RCBD) with three replications. The results show that the fruit yield of all hybrids ranges between 350.0 - 811.7 g/plant. The A2 × C4 hybrid has the highest yield weight potential at 811.4 g/plant but which is not significantly different from those of the A3 × C2, A1 × C2, A2 × C2, A2 × C1, A2 × C3 hybrids, and the commercial variety. Moreover, the A2 × C1 hybrid shows positive heterosis of all traits, plant height, yield weight, fruit per plant, fruit length, fruit width, and flesh thickness, measured 34.6, 22.9, 1.3, 34.0, 17.0, and 5.2 %, respectively. Meanwhile, the A1 × C2 hybrid shows high heterosis of plant height, yield, and fruit per plant at 27.6, 54.1, and 25.1%, respectively. The analysis of general combining ability values of individual line found that C1, C2, C3, and A2 lines show high combining ability in terms of height, yield, and a component of fruit. The genetic inheritance of male-sterile by backcross method of the hybrids that passed the heterosis evaluation is to be ascertained in fertile line by two times backcrossing (BC2F2) to transfer the male-sterile gene to fertile line. It was found that two hybrids, A1 × C1 and A1 × C3, show the traits of male fertile and male-sterile progenies at the theoretical Mendelian ratio of 3:1 by the Chi-square test. The cross-breeding between B-line and fertile line was undertaken by the backcross method to transfer the recessive gene to fertile line, accomplishing four F1 hybrids having the maintainer line gene which are B × C1, B × C2, B × C3, and B × C4. The marker-assisted selection (MAS) was used for selecting male-sterile lines and maintainer lines in chilies. The 3336-last2-SCAR marker was found to successfully identify the male-sterile trait (rfrf) and normal trait (RfRf or Rfrf) in chilies at the seedling stage, confirming that the MAS method is highly accurate and takes a shorter time for breed selection compared to the conventional procedure. Male sterile plants were confirmed by staining of pollen grains with 1% acetocarmine. The result showed that the pollen grains not stained by 1% acetocarmine belong to two hybrids A1 × C1 and A1 × C3. These hybrids having fertile pollens or non-viable male sterile pollens, however, could be used as the female parent for further improvement. New A-line and B-line chilies were evaluated. The results show that A-line has the first flowering at 56.0 - 61.0 days after transplanting, plant height ranging between 93.9 - 99.9 cm., and canopy width ranging between 65.0 - 69.7 cm. while B-line has the first flowering at 52.6 - 56.1 days after transplanting, plant height in the range of 75.4 - 93.9 cm., and canopy width in the range of 63.9 - 68.1 cm. This experiment was for preliminary assessment, and the new A-line and B-line must be evaluated for other quantitative and qualitative characters and subject to further breed improvement. | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การปรับปรุงสายพันธุ์ | en_US |
dc.subject | สายพันธุ์ | en_US |
dc.subject | เกสร | en_US |
dc.subject | พริก | en_US |
dc.title | การปรับปรุงสายพันธุ์เกสรเพศผู้เป็นหมันและสายพันธุ์รักษาเกสรเพศผู้เป็นหมันของพริกโดยวิธีผสมกลับ | en_US |
dc.title.alternative | Breeding of male sterile and male sterile maintainer lines of chili by backcross method | en_US |
dc.type | Thesis | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การทดลองนี้ได้ศึกษาพริกที่มีลักษณะเกสรเพศผู้เป็นหมัน (A line: S rfrf) จำนวน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ BC1-10 × 1450-3 (A1), BC1-16 × 1450-3 (A2), BC1-16 × 1450-7 (A3) และ BC1-10 × 1450-6 (A4) B line (N rfrf) 1 สายพันธุ์ คือ 1450-7-10-17 (B) และสายพันธุ์เกสรเพศผู้ปกติ (N RfRf) 4 สายพันธุ์ ได้แก่ พจ.05 (C1), พจ.07 (C2), 1448-5-13-6 (C3) และ 1449-3-9-15 (C4) ทำการผสมระหว่างพริก A line กับสายพันธุ์เกสรเพศผู้ปกติ โดยวางแผนการผสมแบบ half diallel cross เพื่อประเมินความดีเด่นของผลผลิตและลักษณะทางพืชสวนในพริกพันธุ์ลูกผสม ได้ลูกผสมทั้งหมด 16 คู่ผสม ปลูกทดสอบลูกผสมชั่วที่ 1 ร่วมกับสายพันธุ์พ่อแม่ และพันธุ์การค้า โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ พบว่าคู่ผสม ทั้ง 16 คู่ ให้ผลผลิตระหว่าง 350.0-811.7 กรัม/ต้น โดยคู่ผสม A2 × C4 มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูง เท่ากับ 811.67 กรัม/ต้น อย่างไรก็ตามไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับคู่ผสม A3 × C2, A1 × C2, A2 × C2, A2 × C1, A2 × C3 และพันธุ์การค้า นอกจากนี้ยังพบว่าคู่ผสม พันธุ์ A2 × C1 แสดงค่าความดีเด่นเหนือพ่อแม่ทางบวกในทุกลักษณะที่ศึกษา ได้แก่ ด้านความสูงต้น ผลผลิต จำนวนผลต่อต้น ความยาวผล ความกว้างผล และความหนาเนื้อ มีค่าเท่ากับ 34.6 22.9 1.3 34.0 17.0 และ 5.2 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่คู่ผสม A1× C2 แสดงค่าความดีเด่นเหนือพ่อแม่สูงในด้านความสูงต้น ผลผลิตต่อต้นและจำนวนผลต่อต้น 27.6 54.1 และ 25.1 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การวิเคราะห์สมรรถนะการรวมตัวทั่วไปของแต่ละสายพันธุ์ พบว่าสายพันธุ์ C1, C2, C3 และ A2 เป็นสายพันธุ์ที่มีค่าสมรรถนะการรวมตัวทั่วไปสูง ในลักษณะความสูง ผลผลิต และองค์ประกอบของผลผลิต การถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมเกสรเพศผู้เป็นหมันโดยวิธีผสมกลับ จากลูกผสมที่ผ่านการประเมินความดีเด่น เพื่อถ่ายทอดลักษณะความเป็นหมันสู่พริกสายพันธุ์เกสรเพศผู้ปกติ โดยทำการผสมกลับ 2 ครั้ง (BC2F2) พบว่า มีคู่ผสมจำนวน 2 คู่ผสม ได้แก่ A1 × C1 และ A1 × C3 แสดงลักษณะต้นที่มีเกสรเพศผู้ปกติ และเกสรเพศผู้เป็นหมัน และเมื่อนำอัตราส่วนที่ได้ทดสอบด้วย Chi square พบว่ามีอัตราส่วน 3 : 1 ตรงกับทฤษฎีที่คาดไว้ การผสมระหว่างพริก B line กับสายพันธุ์เกสรเพศผู้ปกติ เพื่อถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมรักษาเพศผู้เป็นหมันสู่สายพันธุ์เกสรเพศผู้ปกติ ใช้วิธีผสมกลับโดยวิธีการถ่ายทอดยีนด้อย พบลักษณะพันธุกรรมรักษาสายพันธุ์เกสรเพศผู้เป็นหมันจำนวน 4 คู่ผสม ได้แก่ B × C1, B × C2, B × C3 และ B × C4 การใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือกสายพันธุ์เกสรเพศผู้เป็นหมันและสายพันธุ์รักษาเกสรเพศผู้เป็นหมันในพริกหนุ่ม พบว่าเครื่องหมายโมเลกุล 3336-last2-SCAR สามารถช่วยคัดเลือกลักษณะเกสรเพศผู้เป็นหมัน (rfrf) และลักษณะเกสรเพศผู้ปกติ (RfRf หรือ Rfrf) ในระยะต้นกล้า ซึ่งมีความแม่นยำในการตรวจสอบ และช่วยลดระยะเวลาในการคัดเลือกเมื่อใช้วิธีการปรับปรุงพันธุ์แบบดั้งเดิม ต้นที่มีลักษณะเกสรเพศผู้เป็นหมัน ทำการตรวจสอบความมีชีวิตของละอองเรณูด้วยวิธีย้อมสีของเรณูด้วย 1% อะซีโตคาร์มีน โดยต้นที่มีละอองเรณูที่ย้อมไม่ติดสี ได้แก่ คู่ผสม A1 × C1 และ A1 × C3 แสดงว่ามีลักษณะเกสรเพศผู้เป็นหมันสามารถนำไปพัฒนาเป็นสายพันธุ์แม่ได้ ทำการประเมินพริก A lines และ B line กลุ่มใหม่ที่ได้ พบว่า พริก A lines มีจำนวนวันที่ดอกแรกบานเฉลี่ย 56-61 วันหลังย้ายกล้า มีความสูงเฉลี่ย 93.3-99.9 เซนติเมตร และมีขนาดทรงพุ่มเฉลี่ยเท่ากับ 65.0-69.7 เซนติเมตร พริก B lines กลุ่มใหม่ มีจำนวนวันที่ดอกแรกบานเฉลี่ย 52.6-56.1 วัน มีความสูงเฉลี่ย 75.4-93.9 เซนติเมตร และมีขนาดทรงพุ่มเฉลี่ยเท่ากับ 63.9-68.1 เซนติเมตร ซึ่งการประเมินนี้เป็นเพียงการประเมินขั้นต้น พริก A line และ B line กลุ่มใหม่ที่ได้นี้ต้องมีการประเมินลักษณะอื่น ๆ เพิ่มเติมและมีการพัฒนาต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
590831056 อัจจิมา ณ จินดา.pdf | 5.49 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.