Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69927
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศุภลักษณ์ อยู่ยอดen_US
dc.contributor.authorศรีพรรณ กันธวังen_US
dc.contributor.authorจุฑารัตน์ มีสุขโขen_US
dc.date.accessioned2020-10-08T08:36:17Z-
dc.date.available2020-10-08T08:36:17Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 43,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2559) 35-44en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/74782/60341en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69927-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractการรับรสเปลี่ยนแปลงจากการได้รับยาเคมีบำบัดส่งผลให้เด็กป่วยโรคมะเร็งได้รับความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกายและจิตใจวัตถุประสงค์ของการศึกษาเชิงพรรณนานี้คือ เพื่อศึกษากลวิธีจัดการกับอาการ และผลลัพธ์ของการจัดการกับการรับรสเปลี่ยนแปลงในเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กป่วยโรคมะเร็งอายุ 8-15 ปี ที่ได้รับยาเคมีบำบัดขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 3 แห่ง ระหว่างเดือนธันวาคม 2555 ถึงพฤษภาคม 2556 จำนวน 29 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามกลวิธีการจัดการกับอาการ และแบบสอบถามผลลัพธ์ของการจัดการกับการรับรสเปลี่ยนแปลงที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากแนวคิดการจัดการกับอาการของดอดและคณะ (Dodd et al.,2001) ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหา และได้มีการทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาผลการวิจัยมีดังนี้ ผลการวิจัยเกี่ยวกับกลวิธีการจัดการกับการรับรสเปลี่ยนแปลงที่ทำ โดยเด็กป่วย พบว่าเด็กป่วย ส่วนใหญ่บอกให้บิดามารดาทราบเมื่อเกิดอาการขึ้น (ร้อยละ 75.9) ไม่ได้บอกให้พยาบาลหรือแพทย์ทราบเมื่อเกิดอาการ (ร้อยละ86.2) ขอให้บิดามารดาจัดอาหารอ่อนหรือเหลวมาให้(ร้อยละ 95.5)และแปรงฟันก่อนและหลังการรับประทานอาหาร(ร้อยละ 86.2) สำหรับกลวิธีการจัดการกับการรับรสเปลี่ยนแปลงที่ทำโดยบิดามารดา พบว่าเด็กป่วยส่วนมากรายงานว่าบิดามารดากระตุ้นให้ดื่มน้ำ ก่อนและขณะที่เด็กป่วยรับประทานอาหาร(ร้อยละ96.5) และดูแลช่วยเหลือและกระตุ้นในการแปรงฟัน ก่อนและหลังรับประทานอาหาร (ร้อยละ93.1) ในส่วนกลวิธีการจัดการกับการรับรสเปลี่ยนแปลงที่ทำโดยพยาบาล พบว่าเด็กป่วยส่วนใหญ่รายงานว่าพยาบาลสอบถามเกี่ยวกับการรับรสชาติของอาหารหรือเครื่องดื่ม (ร้อยละ79.3) ให้คำ แนะนำแก่เด็กป่วย ในเรื่องการรับประทานอาหาร (ร้อยละ 86.2)ให้คำแนะนำ แก่บิดามารดาในเรื่องการรักษาความสะอาดในช่องปาก (ร้อยละ89.7) และจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำ ความสะอาดช่องปากมาให้(ร้อยละ96.5) ผลการวิจัยเกี่ยวกับผลลัพธ์ของการจัดการกับการรับรสเปลี่ยนแปลง พบว่าสองในสามของเด็กป่วย(ร้อยละ 62.1)รายงานว่ากิจกรรมที่ทำ โดยเด็กป่วย บิดามารดา และพยาบาล ช่วยให้เด็กป่วยสามารถรับรสชาติของอาหารและเครื่องดื่มดีขึ้นน้อย และสามารถรับประทานอาหารและดื่มน้ำดีขึ้นน้อย ผลการวิจัยนี้ทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับกลวิธีการจัดการกับการรับรสเปลี่ยนแปลงและผลลัพธ์ของการจัดการกับการรับรสเปลี่ยนแปลงซึ่งพยาบาลสามารถนำผลวิจัยไปใช้ในการวางแผนการจัดการกับการรับรสเปลี่ยนแปลงร่วมกับเด็กป่วยและบิดามารดา และในการวิจัยเพื่อการจัดการกับการรับรสเปลี่ยนแปลงต่อไป Chemotherapy induced taste change in children with cancer can cause physical and psychological distress. This descriptive research aims to describe taste change managementstrategies and its outcomes among children with cancer. The study sample was 29 children with cancer receiving chemotherapy aged between 8-15 years admitted to three tertiary hospitals during December 2012 to May 2013. Purposive sampling was used to select the sample. Research instruments consisted of the Taste Change Management Strategy scales, and the Taste Change Outcome Scale developed by the researcher based on the concept of symptoms management by Dodd et al., (2001), and their content validity and reliability were tested. Data was analyzed using descriptive statistics. The study findings were as follow. Findings relating to taste change management strategies by children revealed that the majorty of the children told their parents about symptom occurrence (75.9 %), did not tell nurses or doctors about the symptom (86.2 %),requested their parents to provide soft diet or liquid diet for them (95.5 %), and brushed the teeth before and after eating (86.2 %). For taste change management strategies by their parents, most children reported that their parents encouraged them to drink water before and during meal (96.5%); and help and encouraged them to brush teeth them before and after meal (93.1%). For taste change management strategies by nurses, many children reported that nurses asked about taste of food or beverage (79.3%), advised them about diet (86.2%), advised their parents about oral care (89.7%), and provided oral care set for them (96.5%). Findings relating to outcomesof taste change management indicated that two thirds of the children (62.1%) reported that all management strategies done by themselves, their parents, and nurses resulted in increasing their ability to taste food or beverage and to eat or drink in low level. The study results provide nurses with knowledge regarding taste change managementstrategies and its outcomes. Nurses can use the results in planning taste change managementwith the child and parent; and in studying on taste change management.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectเด็กป่วยโรคมะเร็งen_US
dc.subjectการจัดการกับการรับรสเปลี่ยนแปลงen_US
dc.subjectเคมีบำบัดen_US
dc.subjectChild with canceren_US
dc.subjectaste change managementen_US
dc.subjectChemotherapyen_US
dc.titleการจัดการกับการรับรสเปลี่ยนแปลงในเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดen_US
dc.title.alternativeTaste Change Management Among Children with Cancer Receiving Chemotherapyen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.