Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69866
Title: ประสิทธิภาพของแบบคัดกรองวัณโรคปอดในโรงพยาบาล
Other Titles: Efffiicacy of Hospital Pulmonary Tuberculosis Screening Form
Authors: ศิริพร อุปจักร์
วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร
จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ
Authors: ศิริพร อุปจักร์
วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร
จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ
Keywords: ประสิทธิภาพ;การคัดกรอง;วัณโรคปอด;โรงพยาบาล
Issue Date: 2559
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 43,1 (ม.ค.-มี.ค. 2559) 107-117
Abstract: การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคปอดระยะแพร่กระจายเชื้อได้เร็วสามารถลดการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาลได้ การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของแบบคัดกรองวัณโรคปอดในโรงพยาบาล โดยใช้แบบคัดกรองวัณโรคปอดในกลุ่มเสี่ยงของสำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบทางเดินหายใจที่เข้ารับการตรวจรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลน่าน ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง เดือนสิงหาคม 2556 จำนวน 330 ราย เป็นผู้ป่วยที่ได้คัดกรองตามแบบคัดกรองแล้วพบว่าสงสัยวัณโรคปอด 110 ราย และไม่สงสัยวัณโรคปอด 220 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่าความไว ความจำเพาะ การทำนายผลบวกและการทำนายผลลบ และประเมินความถูกต้องในการจำแนกผู้ป่วยวัณโรคของแบบคัดกรองโดยใช้กราฟอาร์โอซี ผลการวิจัยพบว่า แบบคัดกรองวัณโรคในโรงพยาบาลมีค่าความไวร้อยละ 93.10 ความจำเพาะร้อยละ 72.43 การทำนายผลบวกร้อยละ 24.55 และการทำนายผลลบร้อยละ 99.10 โดยแบบคัดกรองมีความถูกต้องในการจำแนกผู้ป่วยวัณโรคได้ร้อยละ 82.76 การคัดกรองจากอาการสงสัยวัณโรคปอดที่มีระดับคะแนน ความเสี่ยงตามแบบคัดกรองวัณโรคตั้งแต่สามคะแนนขึ้นไป มีค่าความไว ความจำเพาะ การทำนายผลบวก และการทำนายผลลบ ร้อยละ 93.10, 75.42, 26.73 และ 99.13 ตามลำดับ โดยที่การมีอาการไอเรื้อรัง มากกว่า 2 สัปดาห์ มีค่าความไว การทำนายผลบวกและการทำนายผลลบสูงกว่าอาการอื่นๆ คือ ร้อยละ 82.76, 27.91 และ 97.95 ตามลำดับ และอาการไอมีเลือดปนมีค่าความจำเพาะสูงสุด คือ ร้อยละ 94.02 การคัดกรองจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการป่วยเป็นวัณโรคพบว่า การมีประวัติอยู่ร่วมบ้านหรือที่ทำงานกับผู้ป่วยวัณโรคที่กำลังรักษา การมีโรคประจำตัวที่ทำให้มีภูมิต้านทานต่ำ การมีประวัติรักษาวัณโรคไม่สม่ำเสมอ หรือหยุดยาก่อนกำหนดมีค่าความไวและค่าการทำนายผลบวกต่ำ แต่ปัจจัยทั้งสามด้านมีค่าความจำเพาะและ การทำนายผลลบในระดับสูง โรงพยาบาลต่างๆ อาจพิจารณานำแบบคัดกรองวัณโรคปอดที่ใช้ในการศึกษานี้ไปใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคปอดในโรงพยาบาลได้ โดยสามารถคัดกรองจากอาการสงสัยวัณโรค โดยเฉพาะอาการไอเรื้อรัง มากกว่า 2 สัปดาห์ Early detection of pulmonary tuberculosis by using an efficient screening method can reduce tuberculosis (TB) transmission in the hospital. This cohort study aimed to assess the efficacy of using a screening form to detect pulmonary tuberculosis in a hospital setting.This study used the screening form proposed by the Bureau of Tuberculosis, Department of Disease Control at the Ministry of Public Health. The sample included 330 patients who had respiratory symptoms and received service at the outpatient department at Nan Hospitalduring June to August 2013. Of the patients screened, 110 were suspected to have pulmonarytuberculosis while 220 did not meet the criteria. Data were analyzed using descriptive statistics, sensitivity, specificity, positive predictive value, and negative predictive value. A receiver operating characteristic curve were also performed to determine the diagnostic accuracy of the screening form. Results revealed that the overall sensitivity and specificity of the screening form were93.10% and 72.43% respectively, while the positive predictive value and negative predictivevalue were 24.55% and 99.10% respectively. The diagnostic accuracy of the screening form was 82.76%. When considering only risk symptom scores ≥ 3, the sensitivity, specificity, positive predictive value and negative predictive value of the screening form were 93.10%, 75.42%, 26.73% and 99.13% respectively. Having a chronic cough for more than two weeks showed the highest sensitivity, and the highest positive and negative predictive value at 82.76%, 27.91% and 97.95% respectively, while hemoptysis showed the highest specificity (94.02%). Moreover, all related factors such as having household contact with a TB patient, having low immunity to disease, intermittent or interrupted previous treatment for TB, had low sensitivity and positive predictive values but high specificity and negative predictive values. This research suggests that a hospital may consider - the screening form used in this study for screening pulmonary tuberculosis in hospital settings, especially with those who have had a chronic cough for more than two weeks.
Description: วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/78094/62599
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69866
ISSN: 0125-5118
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.