Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69804
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเกสรา ศรีพิชญาการen_US
dc.contributor.authorพรรณพิไล ศรีอาภรณ์en_US
dc.contributor.authorปิยะนุช ชูโตen_US
dc.date.accessioned2020-10-08T07:27:23Z-
dc.date.available2020-10-08T07:27:23Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 42 (พิเศษพฤศจิกายน 2558) 116-128en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/57270/47477en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69804-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractในการสอนนักศึกษาเกี่ยวกับการให้สุขศึกษามารดานั้น มักจะไม่เน้นเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการของทารก การวิจัยนี้มุ่งสำรวจผลการเรียนรู้ภาคปฏิบัติในการให้สุขศึกษาแก่มารดาหลังคลอดและความคิดเห็นของนักศึกษาเพื่อนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 จำนวน 71 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัด แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม จากการประเมินความรู้ด้วยแบบวัดแบบเขียนคำตอบ และแบบถูกผิด (r=.79) พบว่าภายหลังฝึกปฏิบัติมีคะแนนเพิ่มขึ้น (p=.000) อย่างไรก็ตาม คะแนนจากแบบวัดแบบเขียนคำตอบมีเพียง 28.00/100.00 คะแนน จากการประเมินผลด้านการปฏิบัติด้วยตนเอง (r=.90) พบว่ามีคะแนนเฉลี่ย 57.28/100.00 และสัมพันธ์กับคะแนนความรู้ที่วัดด้วยแบบวัดเขียนตอบ (r=.425, p=.000) ค่าเฉลี่ยการจัดการเรียนการสอนตามการรับรู้ของนักศึกษา (r=.70) เท่ากับ 84.95/100.00 ส่วนใหญ่แล้วมีความรู้และทักษะในการกระตุ้นพัฒนาการในลักษณะกว้างๆ เช่น อุ้ม สัมผัส พูดคุย สบตา แต่ขาดความลึกซึ้ง และไม่เฉพาะเจาะจงกับทารกวัย 0-1 และ 1-2 เดือน ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเนื่องจากในขั้นตอนการปฐมนิเทศมีเนื้อหาหรือการสาธิตให้น้อยมาก รวมทั้งไม่มีการมอบหมายงานให้ชัดเจน ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการกำหนดให้เป็นหัวข้อหนึ่งของการให้สุขศึกษามารดา ในการสอนนักศึกษา เนื้อหาควรมีรายละเอียดลึกซึ้ง มีการสาธิตโดยมีเอกสารและสื่อประกอบ รวมทั้งปฏิบัติเป็นแบบอย่างให้แก่นักศึกษา In teaching students about maternal health education, it is unlikely to emphasize on promotion of infant development. This study aimed to explore nursing students’ learning outcomes on their practice in educating postpartum mothers, and their opinions, in order to improve teaching management. Participants included 71 forth-year undergraduatednursing students. Data were collected through the tests, questionnaries, and focus group interviews. Knowledge evaluated by a write-up test and a true/false test (r=.79) increased significantly (p=.000). However, the average score from the write-up test was only28.00/100.00 scores. Regarding self-evaluated practice outcomes (r=.90), the average score was 57.28/100.00; and associated with knowledge evaluated by the write-up test (r=.425, p=.000). The average score of teaching management perceived by the students (r=.70) was 84.95/100.00. Mostly, the students had knowledge and skills in promoting infant developmentin braod aspects, such as holding, touching, talking, and eye contact, lacking deep details, and being not particularly to infants at 0-1, and 1-2 months old. These partly resulted from very little content and demostration provided during the clining orienation; and no clear assignment. It is suggested that this topic is included in maternal health education.In teaching students, the content should be in detail. Demonstration with written materials and audiovisual aids and being a role-model should also be provide.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการให้สุขศึกษามารดาหลังคลอดen_US
dc.subjectการส่งเสริมพัฒนาการของทารกen_US
dc.subjectนักศึกษาพยาบาลen_US
dc.subjectHealth Education for Postpartum Mothersen_US
dc.subjectPromotion of Infant Developmenten_US
dc.subjectNursing Studentsen_US
dc.titleผลการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลในการให้สุขศึกษามารดาเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการของทารกen_US
dc.title.alternativeNursing Students’ Learning Outcomes on Maternal Health Education Regarding Promoting Infant Developmenten_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.