Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69800
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุสัณหา ยิ้มแย้มen_US
dc.contributor.authorอำไพ จารุวัชรพาณิชกุลen_US
dc.contributor.authorจันทรรัตน์ เจริญสันติen_US
dc.contributor.authorอภิรัช อินทรางกูร ณ อยุธยาen_US
dc.contributor.authorปิยะนุช ชูโตen_US
dc.contributor.authorนงลักษณ์ เฉลิมสุขen_US
dc.date.accessioned2020-10-08T07:27:23Z-
dc.date.available2020-10-08T07:27:23Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 42 (พิเศษพฤศจิกายน 2558) 129-140en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/57271/47479en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69800-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเป็นการเรียนในห้องเรียนและนอกห้องเรียนซึ่งมีรูปแบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ที่น่าจะเหมาะสมสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โครงการวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และเพื่อเปรียบเทียบคะแนนทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ก่อนและหลังจากการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน รวมทั้งศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบผสมผสาน การดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ระยะ ซึ่งระยะแรกเป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับกระบวนวิชาการพยาบาลมารดา ทารกแรกเกิดและการผดุงครรภ์ 2 โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลที่เคยเรียนกระบวนวิชานี้ จำนวน 9 คน เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน จากนั้นคณะผู้วิจัยร่วมกันพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ส่วนระยะที่สองเป็นการทดลองใช้และประเมินผลการใช้การเรียนรู้แบบผสมผสานที่พัฒนาขึ้น โดยการสอบถามกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลที่กำลังเรียนกระบวนวิชานี้ที่ใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จำนวน 131 คน โดยใช้แบบประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานครั้งนี้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่าที ผลการศึกษานี้ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน สำหรับกระบวนวิชาการพยาบาลมารดาทารกแรกเกิดและการผดุงครรภ์ 2 ที่ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งบรรยายและอภิปรายกลุ่มในชั้นเรียน พร้อมกับการมอบหมายงานทั้งงานกลุ่มและเป็นรายบุคคลให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการจัดทำรายงาน การใช้ระบบเครือข่ายค้นคว้าและทำแบบฝึกหัดท้ายบท การใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สื่อมัลติมีเดีย หลังการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานคะแนนทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานในทุกทักษะอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.001 และผู้เรียนพึงพอใจต่อวิธีการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานในระดับมากถึงมากที่สุดทั้งโดยรวมและในแต่ละวิธีการเรียนรู้ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้คือ ควรมีการพัฒนาการจัดการเรียนแบบผสมผสานสำหรับกระบวนวิชาอื่นเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกระบวนวิชาชีพการพยาบาล เพื่อช่วยทำให้ผู้เรียนเข้าใจในเนื้อหาที่ยากได้ดีขึ้นและยังสามารถใช้เพื่อศึกษาทบทวนด้วยตนเองได้ตลอดเวลาตามความต้องการ Blended learning is a flexible model of teaching which combines teaching methods from inside the classroom and outside the classroom. It might be suitable for 21st century learners. This research and development project aimed to develop blended learning models for 21st century learning skills, and to compare these learning skills between after and before using the blended learning model as well as to study the learners’ satisfactionwith this model. The study was divided into two phases. The first phase developed the blended learning model for maternal and child nursing and midwifery for 21st century learning skills by interviewing nine students for information to develop the model. Then, the researchers developed the learning model. In phase two, 131 students, whoparticipated in learning the methods of this model, were ask to evaluate their 21st centurylearning skills and their satisfaction with this model. Data were analyzed by usingdescriptive statistics and pair t-test. The developed blended learning model combined teaching methods, such as lectures, with discussions in the classroom, and integrated with self-directed study such as group assignments on searching and reporting, using networking and studying questions,e-learning, CAI, and e-books. The students rated their learning skills higher than before using this model. Moreover, they were satisfied with this model at high and highest level in the whole, and with each learning method. Recommendations of this study include that other subjects should apply blended learning models in order to assist nursing students to better understand complex topics and in continuing their self-directed learningas their learning needs demand.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานen_US
dc.subjectทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21en_US
dc.subjectการวิจัยและพัฒนาen_US
dc.subjectblended learning modelen_US
dc.subject21st century learning skillsen_US
dc.subjectresearch and developmenen_US
dc.titleการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21en_US
dc.title.alternativeDeveloping on Blended Learning for Developing the 21st Century Learning Skillsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.