Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69793
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวรรณิภา นุสุภะen_US
dc.contributor.authorเดชา ทำดีen_US
dc.contributor.authorสรัตวดี หล่อสมฤดีen_US
dc.date.accessioned2020-10-08T07:27:23Z-
dc.date.available2020-10-08T07:27:23Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 42 (พิเศษธันวาคม 2558) 1-10en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/57294/47508en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69793-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractการใช้เครื่องกระตุ้นปลายประสาทระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน (การสกัดกั้นเส้นประสาทส่วนปลาย) เป็นเทคนิคใหม่ที่ใช้สำหรับการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนการให้คำแนะนำและข้อมูลที่ดีในการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดเพื่อเข้ารับการฉีดยาชาเฉพาะส่วนจากทีมวิสัญญีจึงมีความจำเป็นต่อการได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยและการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะที่ฉีดยาชาเฉพาะส่วนการศึกษากึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลอง (one group pre-posttest design) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเตรียมผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนต่อประสิทธิภาพของการใช้เครื่องกระตุ้นปลายประสาท โดยคัดเลือกกลุ่มผู้ป่วยจำนวน 50 คน ที่มารับการผ่าตัดกระดูก และข้อบริเวณแขน และขา โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ภายใต้การได้รับยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนโดยการใช้เครื่องกระตุ้นปลายประสาทด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนความรู้ก่อน และหลังการเข้าร่วมโปรแกรมโดยใช้สถิติ independent t-test ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยจำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 46 เข้ารับการผ่าตัดด้วยโรคระบบ Upper Extremity ผู้ป่วยจำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 54 รับการผ่าตัดด้วยโรคระบบ Lower Extremity โดยหลังจากผู้ป่วยได้รับโปรแกรมการเตรียมผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนโดยการใช้เครื่องกระตุ้นปลายประสาท พบว่า คะแนนความรู้เฉลี่ยเท่ากับ 9.16 (S.D.=0.84) มากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเตรียมผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนโดยการใช้เครื่องกระตุ้นปลายประสาทที่มีคะแนนความรู้เฉลี่ยเท่ากับ 2.84(S.D.=0.74) ซึ่งมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) สรุปได้ว่า โปรแกรมการเตรียมผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนโดยการใช้เครื่องกระตุ้นปลายประสาททำให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดความสำเร็จของการสกัดเส้นประสาทโดยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน และผู้ป่วยมีความพึงพอใจอยู่ในช่วงพึงพอใจมากต่อการได้รับยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน Background: Using a nerve stimulator (NS) during performing peripheral nerve block (PNB) is a novel technique for regional anesthesia. A good patient advice and education on a preoperative preparation for PNB by an anesthesia team is necessary for a patientcooperation and a prevention of complications from PNB. Methods: A quasi-experimental design with one group pre-posttest aimed for determining an effect of patient’s preparing program for regional anesthesia on an effectiveness of NS-assisted PNB. Fifty patients scheduled for an orthopedic surgery of upperor lower extremity at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital under NS-guided PNB were selectedwith a purposive sampling. Descriptive data were demonstrated in frequency, percentage, means, and standard deviations. Pre- and post-education scores were comparatively analyzedby an independent t-test. Results: Twenty-three patients (46%) and 27 patients (54%) underwent upper extremitysurgery and lower extremity surgery. A mean scores of pre- and post-education with the patient’s preparing program were 2.84 (S.D. = 0.74) and 9.16 (S.D. = 0.84) respectively. The difference was statistically significant (p<.001). Conclusion: The patient’s preparing program for NS-assisted PNB enhanced patients’ understanding leading to successful PNBs with no complications and resulting in a high-levelof satisfaction in every patient.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน (การสกัดกั้นเส้นประสาทส่วนปลาย)en_US
dc.subjectโปรแกรมการเตรียมผู้ป่วยen_US
dc.subjectเครื่องกระตุ้นปลายประสาทen_US
dc.subjectPeripheral Nerve Blocken_US
dc.subjectPatient’s Preparing Programen_US
dc.subjectNerve Stimulatoren_US
dc.titleผลของโปรแกรมการเตรียมผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนต่อประสิทธิผลของการสกัดกั้นเส้นประสาทส่วนปลายโดยใช้เครื่องกระตุ้นปลายประสาทen_US
dc.title.alternativeEffects of the Patient’s Preparing Program for Regional Anesthesia on an Effectiveness of Nerve Stimulator-Assisted Peripheral Nerve Blocken_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.