Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69745
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.พนม กุณาวงค์-
dc.contributor.authorพริศรา สารภีen_US
dc.date.accessioned2020-08-29T02:15:21Z-
dc.date.available2020-08-29T02:15:21Z-
dc.date.issued2020-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69745-
dc.description.abstractThe objectives of this research are (1) to study the 21st Century Skills of the employees in the Provincial Electricity Authority Region 1 (Northern Region) (2) to compare and assess the readiness of the 21st Century Skills of the employees (3) to study the human resource development guidelines of the employees according to the 21st Century Skills. This research is quantitative research with the 339 employees from 2,234 people who work for the Provincial Electricity Authority Region 1, which was calculated according to the Taro Yamanae formula. The questionnaire was used as the research methodology, in which the researcher studied from the concepts, theories, academic documents, dissertations, research, and articles related to the 21st Century Skills as a guideline in writing questionnaires. Moreover, data analysis using statistical software is frequency distribution, mean, percentage, and standard deviation. The results showed that the overall employees in the Provincial Electricity Authority Region 1 have a high level of the 21st Century Skills with an average of 3.82. In which the skills that the employees have the most are communication and media literacy skills (mean 3.92), followed by work, learning, and self-reliance (mean 3.88) cooperation skills teamwork and leadership and critical thinking skills and problem solving (mean 3.85), equal skills change (mean 3.82) computer and information technology and communication (mean 3.75) and creative and innovation skills (average 3.67) respectively. By the way human resource development methods consistent with the skills of the 21st century should start with the recruitment and selection of personnel to obtain staff knowledgeable the ability in sufficient quantities must be consistent with the needs of the organization. And match the performance of the position specified and the organization must develop knowledge, including the development of technological innovation capabilities so that employees are ready to adapt to the changes that occur and applied to work standardized and consistent with the skills of the 21st centuryen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการประเมินความพร้อมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคเหนือ)en_US
dc.title.alternativeThe Readiness Assessment of the 21st Century Skills of Employees in The Provincial Electricity Authority Region 1 (Northern Region)en_US
dc.typeIndependent Study (IS)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของพนักงานการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคเหนือ) 2) เพื่อเปรียบเทียบและประเมินความพร้อมในทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคเหนือ) และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคเหนือ) ให้สอดคล้องกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามปลายปิด ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎี เอกสารทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ งานวิจัยและบทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 มาเป็นแนวทางใน การสร้างแบบสอบถาม กับพนักงานที่ปฏิบัติงานในสังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคเหนือ) จํานวน 339 คน จากทั้งหมด 2,234 คน จากการคํานวณตามสูตร Taro Yamane และระเบียบวิธีวิจัยเชิง คุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง กับกลุ่มผู้บริหารการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสายงาน ทรัพยากรบุคคล ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาบุคลากรของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคเหนือ) ทั้งสิ้น 5 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และการจัดลําดับ 1 s pe 0 8 0 F / 0 0 ผลการศึกษาพบว่า การประเมินทักษะของผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นพนักงานการไฟฟ้าส่วน ภูมิภาคเขต 1 (ภาคเหนือ) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.82 โดยพนักงานมีทักษะด้าน การสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 3.92) รองลงมา รองลงมาคือ ทักษะด้านการทํางาน การเรียนรู้ และการพึ่งตนเอง (ค่าเฉลี่ย 3,88) ทักษะความร่วมมือ การทํางานเป็นทีม และภาวะผู้นํา และทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา (ค่าเฉลี่ย 3.85) เท่ากัน ทักษะด้านการ เปลี่ยนแปลง (ค่าเฉลี่ย 3.3.2) ทักษะคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ค่าเฉลี่ย 3.75) และทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (ค่าเฉลี่ย 3.67) ตามลําดับ โดยแนวทางพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ควรเริ่มจากการดําเนินการสรรหาและ คัดเลือกบุคลากรเพื่อให้ได้พนักงานที่มีความรู้ ความสามารถในปริมาณที่เพียงพอ ต้องมีความ สอดคล้องกับความต้องการขององค์การ และตรงกับสมรรถนะของตําแหน่งงานที่กําหนดไว้ และ องค์การจะต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้ รวมทั้งพัฒนาความสามารถทางด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อให้พนักงานพร้อมปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และนํามาประยุกต์ใช้เพื่อให้การทํางาน เป็นมาตรฐานและสอดคล้องคล้องกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต่อไปen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611932011 พริศรา สารภี.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.