Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69729
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์นฤมล ธีรวัฒน์-
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร.ศิวรักษ์ ศิวารมย์-
dc.contributor.authorนันทวรรณ ทองเตี่ยงen_US
dc.date.accessioned2020-08-26T04:01:55Z-
dc.date.available2020-08-26T04:01:55Z-
dc.date.issued2020-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69729-
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องนัยแฝงในอารมณ์ขันผ่านนิตยสารขายหัวเราะ ปี พ.ศ. 2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานัยแฝงในอารมณ์ขันที่สื่อสารผ่านการ์ตูนนิตยสารรายสัปดาห์ “ขายหัวเราะ” เฉพาะที่พิมพ์ พ.ศ.2559 จำนวน 43 ฉบับ วิธีการศึกษาใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) เป็นหลักในการวิเคราะห์ผ่านกรอบแนวคิดสัญวิทยา (Semiology) ร่วมกับทฤษฎีอารมณ์ขัน (Humor Theories) ว่าอารมณ์ขันมีบทบาทและหน้าที่อย่างไร มาวิเคราะห์ตัวบทคือแก๊กตลกในนิตยสารขายหัวเราะ เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจสังคมบางมิติได้ชัดเจนขึ้นผ่านวัฒนธรรมอารมณ์ขัน ผลการศึกษาพบว่า นัยแฝงเป็นการรับรู้ระดับลึกที่สุดของแก๊กตลก อันเป็นระดับความหมายทางวัฒนธรรม นัยแฝงแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม โดยเรียงลำดับจากปริมาณมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) กลุ่มปรากฏการณ์ทางสังคม สะท้อนภาพความเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เกี่ยวกับวิถีการใช้ชีวิตในสังคมทุนนิยมที่นำมาสู่ประเด็นการล้อเลียน เสียดสี วิพากษ์ วิจารณ์ 2) กลุ่มเพศสภาพและความหลากหลายทางเพศ สะท้อนภาพของสังคมชายเป็นใหญ่ที่เป็นผู้กำหนดบทบาท และลักษณะของเพศอื่นที่เกิดขึ้นในสังคมไทย และบางครั้งก็กำหนดตัวเองโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ วาทกรรมการ ถูกทำให้กลายเป็นวัตถุทางเพศนั้นเพศหญิงมีปริมาณมากที่สุด แม้ว่าจะมีการเปิดพื้นที่ให้กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมากขึ้นแต่ยังก้าวไม่พ้นการล้อเลียนพวกเขาเหล่านั้น 3) งานเขียนในสื่อศิลปะประเภทต่าง ๆ สะท้อนพื้นฐานทางความคิดของแต่ละวัฒนธรรมที่ผลิตงานเขียนเหล่านั้นขึ้นมา อันได้แก่ วรรณกรรม นิทานพื้นบ้าน เรื่องสั้น นวนิยาย ละครวิทยุและโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และเพลง เป็นต้น ทั้งในไทยและต่างประเทศ เป็นการปะทะประสานระหว่างสังคมจารีตแบบดั้งเดิมกับสังคม เสรีแบบใหม่ การ์ตูนจะใช้การล้อเลียน เสียดสี วิพากษ์ วิจารณ์ 4) กลุ่มความเชื่อในสังคมไทย สะท้อนความเชื่อดั้งเดิมในสังคมไทยที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน จนทำให้คนรุ่นใหม่บางกลุ่มพยายามกำหนดและเหมารวมภาพของความเชื่อเหล่านั้นว่าเป็นสิ่งไร้สาระ ผลสรุปรวมทั้งหมดบ่งชี้ว่าวัฒนธรรมอารมณ์ขันมีพลังในการวิพากษ์วิจารณ์ หรือตำหนิ ติเตียนโดยไม่ต้องเผชิญหน้าโดยตรง ทำให้ความขัดแย้งไม่รุนแรง ทั้งยังใช้อารมณ์ขันช่วยผ่อนคลายความเครียดยามเผชิญกับวิกฤตนอกจากนั้นจากการสื่อสารที่ไหลเวียนของแก๊กตลกในการ์ตูนแสดงว่าความคิดและความเชื่อเดิมทางวัฒนธรรมบางอย่างได้ฝังลึกลงไปในวิถีคิดและวิธีปฏิบัติ ส่งผลให้ความคิด และความเชื่อทางวัฒนธรรมนั้นถูกนำเสนอ และส่งต่อออกไปทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นการตอกย้ำและตรึงชุดความคิดเดิมให้อยู่กับสังคมนั้นต่อไปen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleนัยแฝงในอารมณ์ขันผ่านนิตยสารขายหัวเราะen_US
dc.title.alternativeThe Hidden Meaning in the Humor of Kai Hua Roh Magazineen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractThis study of the hidden meaning of humor in Kai Hua Roh Magazine, year 2559 BE, is aiming to analyze the hidden meaning of humor that is semiotically conveyed through Kai Hua Roh magazine. The study will be based on a semiotic conceptual framework, mainly using textual analysis theory along with the humor theory as an analytical tool on interpreting funny gags in the magazine in order to achieve clearer understandings in cultural factors in various dimensions through the culture of humor and its hidden message. The research has shown that the hidden meaning of humor in funny gags can be at most perceived within the deepest recognition, which is the cultural recognition. The hidden meanings of humor in Kai Hua Roh magazine are to be categorized into 4 group according to the numbers of specific cultural gags. Group 1: Social phenomena which occur in the world of capitalism, forcing people to change their ways of life, leading them to point out their voices in words of critical mocking, ironic and satirical funny gags. Group 2: Gender and LGBTQ, reflecting the rooted culture of patriarchy. Women objectification discourse is mostly shown both intentionally and unintentionally in the magazine’s gags. Even though, Thai culture is considered open minded in terms of sexual variations, being queers is still the reason to be mocked and teased. Group 3: Literatures and Media, distinctive cultural concepts are portrayed by funny gags and sense of humor through both Thai and international literary works including literature, folktales, short story, novel, radio and TV series, soap opera, movies and music. The hidden meaning of ironic humor is a revelation of interceptive interchange between local conservative society and liberal socialism. Group 4: Beliefs in Thai Society, hidden meanings of humor are portrayed in Kai Hua Roh magazine to represent the ideas of younger generation toward Thai ancient beliefs. Jokes and gags are used by new generations in a way to ridicule old beliefs. In conclusion, the humorous culture of Thai society has power of criticism or reprimand, leading to avoid any direct confrontations and severe violence. Humor is also used to lessen stress in critical situation. Moreover, the circulating communication of funny gags has manifested that humorous cultural mindsets and beliefs are deeply rooted and inevitably growing into forms of thinking and ways of life which will continue to carry on in Thai society.en_US
Appears in Collections:HUMAN: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
580131015 นันทวรรณ ทองเตี่ยง.pdf11.95 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.