Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69660
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อาจารย์ ดร.กรรณิการ์ อินต๊ะวงศ์ | - |
dc.contributor.advisor | รองศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ บุญเชียง | - |
dc.contributor.author | พิษณุพงศ์ ไชยวุฒิ | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-08-19T08:48:41Z | - |
dc.date.available | 2020-08-19T08:48:41Z | - |
dc.date.issued | 2020-06 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69660 | - |
dc.description.abstract | This descriptive research aimed to study the self-efficacy of opioid-dependent patients retention in Methadone maintenance treatmentat Fahmai Clinic, Thanyarak Chiang Mai Hospital. The data was conducted by qualitative research between May 2020 and June 2020 by using semistructured interview. The sample group was 21 opioid-dependent individuals who received Methadone maintenance treatment program using the purposive sampling approach. The data was analyzed with descriptive statistics, and content analysis including classification and an issue summary. The results indicated that the majority of samples were male 95.24 percent with an average age of 37.42 years, living in Chiang Mai 95.24 percent, Married 61.90 percent. Primary education 28.55 percent and average monthly income for the sample was 15,571.43 baht per month; the average duration of substance use was 8.52 years; the persistence in Methadone maintenance treatment was 18.95 months on average. Opioid-dependent patients began using low-intensity substance abuse, such as cigarettes, alcoholic beverages, and marijuana. Over extended period of time, their body become tolerant of drugs resistance ; thus, they switched to opioids instead. The study also found that patients were obtained for opioids addiction when the age of twenty-two years old and lived in rural areas. The major opium addiction causes include 1) being influenced by intimate peoples 2) the usage of opioids formedical remedies and 3) use of addictive substances for stress relieving. The self-efficacy results showed that 1) the use of the master experiences on retention maintenance treatment in long-term opioid-dependent patients by using Methadone maintenance treatment was more endurance to begin the treatment 2) modeling for retention maintenance treatment from intimate people of the long-term opioids dependent patients using Methadone maintenance treatment such as spouses, fathers and friends3) the use of Verbal Persuasion by their families of addiction treatment group, such as their spouses, children, relatives, and intimate friends, which is the most the important thing for opioid-dependent patients to obtain long-term treatment4) the negative emotional arousal by witnessing the consequences of drug use from others, madcap or death from an overdose of opioids, as the consequences of opium addiction reminded them to breakthrough their habits and eventually completed the rehabilitation process. Therefore, it can be Stimulused patients not to repeat drug addiction and still retention treatment. The persistence in Methadone maintenance treatment of opioid-dependent patients, family involvement is the first priority. Hence, services should be increased the understanding of family services, it will help the treatment development between families and service providers, which positively impacts the long-term retention of opioid-dependent patients by using Methadone maintenance treatment. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การรับรู้ความสามารถของตนเอง | en_US |
dc.subject | คงอยู่ในการบำบัดรักษา | en_US |
dc.subject | สารกลุ่มฝิ่น | en_US |
dc.subject | เมทาโดนระยะยาว | en_US |
dc.title | การรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้ที่คงอยู่ในการบำบัดรักษา การเสพติดสารกลุ่มฝิ่นด้วยเมทาโดนระยะยาว | en_US |
dc.title.alternative | Self-Efficacy of Opioids Dependent Patients on Retention in Methadone Maintenance Treatment | en_US |
dc.type | Thesis | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้ที่คงอยู่ในการบำบัดรักษาการเสพติดสารกลุ่มฝิ่นด้วยเมทาโดนระยะยาว ในคลินิกฟ้าใหม่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2563-เดือนมิถุนายน 2563 โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เสพติดสารกลุ่มฝิ่น ที่มารับการบำบัดรักษาด้วยโปรแกรมเมทาโดนระยะยาวจำนวน 21 คนทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบจำเพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เชิงเนื้อหาโดยการจัดหมวดหมู่และสรุปประเด็น ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 95.24 มีค่าเฉลี่ยอายุ 37.42 ปี ปัจจุบันอาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ร้อยละ 95.24 ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 61.90 การศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 28.55 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,571.43 บาท ระยะเวลาการใช้สารเสพติดเฉลี่ย 8.52 ปีระยะเวลาการคงอยู่ในการบำบัดรักษาด้วยเมทาโดนระยะยาว เฉลี่ย 18.95 เดือน ผู้รับการบำบัดรักษาฯ เริ่มต้นการเสพสารเสพติดดว้ยสารเสพติดที่มีความรุนแรงต่ำ ก่อน ได้แก่ บุหรี่ สุรา และกัญชา พอใช้ไปนานวันเข้าร่างกายเริ่มทนสารเสพติดทำให้ต้องเปลี่ยนมา เสพสารกลุ่มฝิ่นแทน ผู้ที่เริ่มเสพสารกลุ่มฝิ่นตอนอายุตั้งแต่ 22 ปีขึ้นไปมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในเขตชนบท สาเหตุการเสพสารกลุ่มฝิ่นเนื่องมาจาก 1)ได้รับการชักชวนจากบุคคลใกล้ชิด 2)การเสพสารกลุ่มฝิ่น เพื่อรักษาโรคและ 3)การเสพเพื่อคลายเครียดสาเหตุของการเข้ารับการบําบัดรักษา คือ1)การโน้มน้าวจากบุคคลในครอบครัว 2)ปัญหาสุขภาพและ 3)ปัญหาทางการเงิน ผลการรับรู้ ความสามารถตนเอง พบว่า 1)การใชก้ารประสบความสำเร็จในการคงอยู่ในการบำบัดรักษา ในกลุ่มผู้บำบัดรักษาการเสพติดสารกลุ่มฝิ่นด้วยเมทาโดนระยะยาวคือการอดทนต่อความยากลำบากในการ เริ่มต้นบำบัดรักษา 2)การใช้ตัวแบบการที่คงอยู่ในการบำบัดรักษาจากบุคคลที่อยู่ใกล้ชิด ในกลุ่มผู้บำบัดรักษาการเสพติดสารกลุ่มฝิ่นด้วยเมทาโดนระยะยาวได้แก่ คู่สมรส บิดา เพื่อน 3)การใช้คำพูดชักจูงจากบุคคลในครอบครัว ในกลุ่มผู้บำบัดรักษาการเสพติดสารกลุ่มฝิ่นด้วยเมทาโดนระยะยาว ได้แก่ บิดา มารดา คู่สมรส บุตร ญาติพี่น้อง มีความสำคัญต่อการคงอยู่ของผู้รับการบำบัดรักษาด้วยเมทาโดน ระยะยาวมากที่สุด 4)การกระตุ้นทางอารมณ์เชิงลบ ในกลุ่มผู้บำบัดรักษาการเสพติดสารกลุ่มฝิ่นด้วยเมทาโดนระยะยาวได้แก่ การเห็นเพื่อนขาดสติหรือเสียชีวิตจากการใช้สารกลุ่มฝิ่นเกินขนาด ความลำบากที่ได้รับจากการเสพสารกลุ่มฝิ่น กระตุ้นให้ไม่กลับไปเสพซ้ำและคงอยู่ในการบำบัดรักษา การคงอยู่ในการบำบัดรักษาการเสพติดสารกลุ่มฝิ่นด้วยเมทาโดนระยะยาว การมีส่วนร่วมของ ครอบครัวเป็นสิ่งสําคัญลําดับต้นการให้บริการควรเพิ่มความเข้าใจในรูปแบบการให้บริการแก่ ครอบครัวซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาในการดูแลร่วมกันระหว่างครอบครัวและผู้ให้บริการ อันจะก่อให้เกิดผลดีต่อการคงอยู่ของผู้รับการบำบัดรักษาการเสพติดสารกลุ่มฝิ่นด้วยเมทาโดนระยะยาว | en_US |
Appears in Collections: | GRAD-Health Sciences: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
582232008 พิษณุพงศ์ ไชยวุฒิ.pdf | 5.17 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.