Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69529
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ สกุลพรรณ์-
dc.contributor.advisorศาสตราจารย์ ดร. ดาราวรรณ ต๊ะปินตา-
dc.contributor.authorปริญญา ชะอินวงษ์en_US
dc.date.accessioned2020-08-12T02:01:15Z-
dc.date.available2020-08-12T02:01:15Z-
dc.date.issued2020-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69529-
dc.description.abstractSuicide risk among youths is a serious mental health and psychiatric problem that increases violence and affects the quality of life among youths around the world. The purpose of this descriptive correlational research study was to explore the relationship being cyberbullied and suicide risks among youths. The samples consisted of 322 youths ages 18-25 years old, both male, were female, selected by the inclusion criteria, and the multi-stage random sampling was used. They received services at mental health and psychiatric clinics in hospitals under the Health Service Center Region 7, Ministry of Public Health, Thailand. Data was collected from September to December 2019. The research tools were Demographic Data Form, the Being Cyberbullied Inventory, and the Mini International Neuropsychiatric Structure Interview [M.I.N.I.], Suicidality part. The data were analyzed using descriptive statistics and Spearman rank correlation coefficient. The results shown are follows: 1. The whole of being cyberbullied that youths experienced as very low level (x ̅=1.65, SD=0.67). For each parts, being removed or blocked from a cyber-group on cyber was the highest mean score (x ̅=1.88, SD=0.94), following by gossiping, abusive speech, including vulgar conversations on cyber (x ̅=1.83, SD=0.82) and being exposed to confidential information by others online through cyber world (x ̅=1.57, SD=0.75), respectively. 2. 36.30% of all subjects experienced suicide risk. Among these, 52.10% of them had severe level of suicide risk, risk, 10.30% and 37.60% experienced moderate and mild levels, respectively. And 39.50% of youths who being cyberbullied experienced suicide risk. Among these, 54.20% of them had a severe level of suicide risk, and 10.30% and 35.50% experienced moderate and mild levels, respectively. 3. There was a moderate positive correlation between being cyberbullied and suicide risks (r=.301, p< .01). The results of this research can be used as basic information for preventing and solving the problems of suicide risk in youth receiving services at mental health and psychiatric clinics in hospitals under the Health Service Center Region 7, by reducing the risk of suicide which will focusing on the management of cyberbullying issues among youths.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์และความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเยาวชนen_US
dc.title.alternativeBeing Cyberbullied and Suicide Risk Among Youthsen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเยาวชนเป็นปัญหาสำคัญด้านสุขภาพจิตและจิตเวชที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเยาวชนทั่วโลก การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ และความเสี่ยงต่อ การฆ่าตัวตายในเยาวชน กลุ่มตัวอย่าง คือ เยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 18-25 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มารับบริการคลินิกสุขภาพจิตและจิตเวชโรงพยาบาลในเขตบริการสุขภาพที่ 7 สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ระหว่างเดือนกันยายน ถึง ธันวาคม 2562 เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 322 ราย โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์และแบบสัมภาษณ์ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเครื่องมือวินิจฉัยโรคทางจิตเวช วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า 1. เยาวชนถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์โดยรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด (x ̅= 1.65, SD = 0.67) และการถูกรังแกรายด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการถูกลบหรือบล็อกจากกลุ่มผ่านโลกไซเบอร์ (x ̅=1.88, SD = 0.94) รองลงมา คือ ด้านการถูกนินทา ด่าทอ รวมถึงการพูดคุยโต้ตอบด้วยถ้อยคำที่หยาบคายผ่านโลกไซเบอร์ (x ̅=1.83, SD=0.82) และด้านการถูกบุคคลอื่นนำความลับที่เป็นข้อมูลส่วนตัวไปเปิดเผยผ่านโลกไซเบอร์ (x ̅=1.57, SD=0.75) ตามลำดับ 2. กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายร้อยละ 36.30 ในจำนวนนี้ร้อยละ 52.10 มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในระดับรุนแรง ร้อยละ 10.30 และ 37.60 มีความเสี่ยงต่อการ ฆ่าตัวตายในระดับปานกลาง และระดับน้อย ตามลำดับ และพบว่าเยาวชนที่ถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายถึงร้อยละ 39.50 ในจำนวนนี้ร้อยละ 54.20 มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอยู่ในระดับรุนแรงร้อยละ 10.30 และ 35.50 มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอยู่ในระดับ ปานกลาง และระดับน้อย ตามลำดับ 3. การถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.301, p<.01) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย ในเยาวชนที่มารับบริการคลินิกสุขภาพจิตและจิตเวชโรงพยาบาลในเขตบริการสุขภาพที่ 7 ด้วยการลดความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายโดยมุ่งประเด็นไปที่การจัดการปัญหาการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ในเยาวชนต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
601231040 ปริญญา ชะอินวงษ์.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.