Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69517
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล-
dc.contributor.authorนิติพล มากมูลen_US
dc.date.accessioned2020-08-12T01:59:52Z-
dc.date.available2020-08-12T01:59:52Z-
dc.date.issued2020-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69517-
dc.description.abstractThe objectives of this research were 1) to study the basic personal characteristics, economic and some social conditions of rubber growers in Doi Luang District, Chiang Rai Province. 2) to study the possibility of implementing sustainable forest management following the FSC standards of rubber growers in Doi Luang district, Chiang Rai province. 3) to study the problems, needs, and suggestions for implementing sustainable forest management following the FSC standards of rubber growers in Doi Luang, Chiang Rai. The samples of the research were 101 rubber growers who participate the sustainable rubber plantation training accordance to the Forest Stewardship Council standard with Rubber Authority of Thailand, Chiang Rai Branch. Data were collected through the use of interview schedule. The statistic applied in this research were frequency, percentage, arithmetic mean, maximum, minimum, standard deviation and multiple regression analysis (enter method). The study indicated that most farmers are female 50.5 percent, with an average age of 57.90 years and educated in the primary level. The average experience of rubber cultivation was 12.20 years. The average annual growing rubber area 13.65 rai. In the year of cultivation 2561, The average income from rubber was 91,930.00 baht/year and the average debt is 240,573.33 baht. Most farmers receive information sustainable forest management standards and contacting with officers or related departments on average 1.82 times. Farmers had knowledge of sustainable forest management standards and able to follow the practice of sustainable forest management standards implementation at high levels. From hypothesis testing, found that the level knowledge of sustainable forest management standards and level of experience rubber cultivation has a positive relationship with possibility of Sustainable Forest Management significantly (0.05). Farmer’s problem,needs and recommendations for sustainable forest management Standards Implementation by Rubber Growers in Doi Luang District, Chiang Rai Province, found that farmers have problems with ownership rights documents, difficult data recording problems and unable to record data consistently. Farmer’s requirement is the continuity of the project. Project progress tracking and need to contact the person responsible for the project directly. However, rubber growers have a suggestion. There should be additional knowledge training continuously and there should be staff or related departments to check the soil quality for rubber growers.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความเป็นไปได้ในการปฏิบัติตามการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในอำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงรายen_US
dc.title.alternativePossibility of Sustainable Forest Management Standards Implementation by Rubber Growers in Doi Luang District, Chiang Rai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมบางประการ 2) ระดับความเป็นไปได้ในการปฏิบัติตามการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และ 3) ปัญหา ความต้องการ และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา จำนวน 101 ราย ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการปลูกสร้างสวนยางอย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน Forest Stewardship Council กับการยางแห่งประเทศไทย สาขาเชียงราย ระหว่างวันที่ 27-30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) วิธีคัดเลือกเข้าทั้งหมด (Enter method) ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรเป็นผู้หญิง ร้อยละ 50.5 มีอายุเฉลี่ย 57.90 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ประสบการณ์ปลูกยางพาราเฉลี่ย 12.20 ปี เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกยางพาราเฉลี่ย 13.65 ไร่ ในปีพ.ศ. 2561 พบว่า เกษตรกรมีรายได้จากการกรีดยางพาราเฉลี่ย 91,930.00 บาท และมีหนี้สินคงค้างเฉลี่ย 240,573.33 บาท เกษตรกรได้รับข้อมูลข่าวสารการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และมีการติดต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฉลี่ย 1.82 ครั้ง ทั้งนี้เกษตรกรมีความรู้ในเรื่องการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนอยู่ในระดับสูง และมีระดับความเป็นไปได้ในการปฏิบัติตามมาตรฐานการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนอยู่ในระดับสูง ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า ระดับความรู้ในเรื่องการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และประสบการณ์การปลูกยางพารามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเป็นไปได้ในการปฏิบัติตามการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัญหา ความต้องการ และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับเอกสารสิทธิ์การครอบครอง ปัญหาด้านการบันทึกข้อมูลที่ยุ่งยาก และไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้อย่างสม่ำเสมอ ด้านความต้องการของเกษตรกร คือ ต้องการความต่อเนื่องของโครงการ การติดตามความก้าวหน้าของโครงการ และต้องการช่องทางติดต่อเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการโดยตรง ทั้งนี้เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราได้ให้ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนว่าควรให้มีการจัดอบรมความรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง และควรมีการสนับสนุนเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตรวจคุณภาพดิน และน้ำให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราที่เป็นรูปธรรมen_US
Appears in Collections:AGRI: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
600832006 นิติพล มากมูล.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.