Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69498
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์-
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล-
dc.contributor.authorณัฏฐณิชชา เตชะกิตติโรจน์en_US
dc.date.accessioned2020-08-11T02:24:52Z-
dc.date.available2020-08-11T02:24:52Z-
dc.date.issued2020-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69498-
dc.description.abstractThe nursing practice environment is important to ensure that nurses can practice with excellence. This independent study uses descriptive research aimed to study the nursing practice environment and make recommendations to improve the nursing practice environment based on the perception of nurses in Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital. The sample is 347 nurses with at least 1 year working experience. The instrument used in this study was the Practice Environment Scale of Nurse Work Index (PES-NWI), Thai version, translated by Nantsupawat (2011) from Practice Environment Scale of the Nursing Work Index (Lake, 2002). The total reliability of this instrument was 0.96 , for each aspect equal to 0.84-0.94. Data were analyzed using descriptive statistics consisting of mean and standard deviations. The findings of the study indicated that the score of the nursing practice environment, as perceived by nurses was at a moderate level for five aspects ("X" ̅ = 2.88, SD = 0.68). The perceived nursing practice environment of nursing foundations for quality of care and the relationship between doctors and nurses were good level. The other three aspects, consisting of nurse manager ability, nurse leadership, and nurse participation in hospital affairs, and staffing and resource adequacy were at moderate levels. The highest average score is nursing foundations for quality of care and the lowest average score is staffing and resource adequacy. The study suggests ways to improve the nursing practice environment. The nurses’ participation in hospital affairs should be promoted such as listening to their opinions on policy and decisions making. In addition, nurses should be promoted for knowledge and capacity development training and supporting funding for further study. The nursing foundations for quality of care include encouraging nurses to be trained in specialized fields and updating nursing standards regularly. Suggestions for improving nurse manager ability and nurse of leadership include listening to the opinions and suggestions of practitioners and receiving leadership development training. Suggestions for improving the staffing and resource adequacy including arranging adequate staffing and workload and increasing the wages, salaries, compensation or other benefits. Suggestion for improving the relationship between doctors and nurses arranging monthly meetings between doctors and nurses and performing activities which develop the relationship between physicians and other departments. Nurse administrators can take the results of this study as the basis for improving the environmental quality of nursing practice environments.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleสิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeNursing Practice Environment as Perceived by Nurses in Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospitalen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractสิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาล มีความสำคัญในการปฏิบัติงานของพยาบาลให้มีคุณภาพ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive research) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาล และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลที่มีประสบการณ์การทำงาน 1 ปีขึ้นไป จำนวน 347 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามสิ่งแวดล้อมการปฏิบัติของดัชนีงานพยาบาลฉบับภาษาไทยของ นันท์ศุภวัฒน์ (Nantasupawat, 2011) ซึ่งแปลมาจากแบบวัดสิ่งแวดล้อมการปฏิบัติงาน (Practice Environment Scale of the Nursing Work Index) ของ เลค (Lake, 2002) โดยมีความเชื่อมั่นโดยรวมเท่ากับ 0.96 รายด้านเท่ากับ 0.84-0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อเสนอแนะใช้การสรุปเนื้อหาและจัดหมวดหมู่ ผลการศึกษา พบว่า พยาบาลวิชาชีพมีการรับรู้สิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ("X" ̅ = 2.88, SD = 0.68) พยาบาลมีการรับรู้สิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาลทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับดี 2 ด้านได้แก่ ด้านมาตรฐานการดูแล และด้านสัมพันธภาพระหว่างแพทย์และพยาบาล และอยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำของหัวหน้า ด้านการร่วมมือของพยาบาลในโรงพยาบาล และด้านอัตรากำลังและทรัพยากร ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือด้านมาตรฐานการดูแล และ ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านอัตรากำลังและทรัพยากร ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาล ด้านการมีส่วนร่วมของพยาบาล ได้แก่ ควรเปิดโอกาสให้พยาบาลมีส่วนร่วมรับรู้ เสนอแนะข้อคิดเห็นและตัดสินใจเชิงนโยบาย ส่งเสริมการอบรมพัฒนาความรู้และศักยภาพของบุคลากร ควรให้ทุนสนับสนุนในการศึกษาต่อ ด้านมาตรฐานการดูแล ควรส่งเสริมให้พยาบาลได้รับการอบรมต่างๆ เช่นการอบรมสาขาเฉพาะทาง และพัฒนาระบบพี่เลี้ยง ควรมีการปรับปรุงมาตรฐานการพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ ด้านภาวะผู้นำของหัวหน้า หัวหน้าควรรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ปฏิบัติงาน หัวหน้าควรได้รับการพัฒนาและอบรมภาวะผู้นำอย่างต่อเนื่อง ด้านอัตรากำลังและทรัพยากร ควรจัดอัตรากำลังให้เพียงพอกับปริมาณงาน ควรจัดสรรเวลาปฏิบัติงานให้เหมาะสม ควรเพิ่มอัตราเงินเดือน ค่าเวร ค่าตอบแทนหรือสวัสดิการอื่นๆ ด้านสัมพันธภาพระหว่างแพทย์และพยาบาล ควรจัดประชุมประจำเดือนระหว่างแพทย์และพยาบาล ควรจัดกิจกรรมสร้างสัมพันธภาพระหว่างแพทย์และหน่วยงานต่างๆ ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำเอาผลการศึกษาครั้งนี้ไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาลให้มีคุณภาพต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.