Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69417
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สายชล สัตยานุรักษ์ | - |
dc.contributor.author | ศราวุฒิ วิสาพรม | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-08-07T04:32:25Z | - |
dc.date.available | 2020-08-07T04:32:25Z | - |
dc.date.issued | 2014-11 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69417 | - |
dc.description.abstract | This thesis aims to study the effects of the revolution in 1932 onThai society, especially on the life of commoners during 1932-1947. This research begins by considering the revolution as the transformation of the Thai state - from absolutist state to beginning of nation state - which spurred great changes in political, economic and cultural realms. The transformation of the political structure had offered the opportunity for commoners to enter “the political space” for the first time via modern political institutions. Furthermore, the revolution had also rapidly increased the number of commoners in the modernized bureaucracy. As for the socio-economic changes, in the 1930s and 1940s, there was a positive sign of change in which commoners gained more access to justice, reflected in the promulgation of many laws in their favor, including the significant changes in the Revenue Code. Moreover, the Second World War had enhanced not only the opportunity for commerce in rural areas but also and the increased capital accumulation of the Thai-Chinese merchants due to the widespread of the “illegal economy”, as well as the Japanese army’s demand for various kinds of products. The great cultural transformation during the early nation state period includes the changing role of the state towards providing more “service” to the people, but the same time also to “control” them via various social institutions, such as schools, media, public health agencies, etc. Most people reacted to these actions and they learned and continued to reproduce the state ideology, a phenomenon which could be seen both in the central area and in other provinces. Nevertheless, some went against the state. With these reasons, the political activities of commoners continued in a lively fashion. In addition, the social relations became more equal and modern, even though many rights, freedom and equality were still limited by the political context at that time. Unlike “liberal democracy”, the state during the World War II era still exercised power as a dictator regime. In summary, this thesis argues that the Thai society and commoners’ life in the wake of the 1932 revolution has undergone far more transformations than the previous studies on the period allow. | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ประวัติศาสตร์ | en_US |
dc.subject | สังคมไทย | en_US |
dc.subject | รัฐประชาชาติ | en_US |
dc.title | ประวัติศาสตร์สามัญชนในสังคมไทยสมัยแรกเริ่มรัฐประชาชาติ พ.ศ. 2475-2490 | en_US |
dc.title.alternative | People's history of Thai society in the early nation state period, 1932-1947 | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.classification.ddc | 959.3 | - |
thailis.controlvocab.thash | ประวัติศาสตร์ | - |
thailis.controlvocab.thash | สังคม -- ไทย | - |
thailis.controlvocab.thash | ไทย -- ประวัติศาสตร์ | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว 959.3 ศ172ป | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ที่มีต่อสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชีวิตของราษฎรภายใต้บริบทรัฐประชาชาติยุคแรกเริ่มระหว่าง พ.ศ. 2475 – 2490 โดยพิจารณาว่าการปฏิวัตินี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปรัฐไทยจากรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ยุคแรกเริ่มของรัฐประชาชาติ จึงส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างการเมืองได้เปิดโอกาสให้ราษฎรสามัญชนเข้าสู่ “พื้นที่ทางการเมือง” ผ่านสถาบันการเมืองแบบใหม่เป็นครั้งแรก ขณะเดียวกันก็ทำให้ราษฎรสามัญชนเข้าสู่ระบบราชการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในบริบทที่ระบบราชการเริ่มมีลักษณะเป็นระบบราชการสมัยใหม่อย่างชัดเจน มิติทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงครึ่งหลังทศวรรษ 2470 - ทศวรรษ 2480 เกิดความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ราษฎรได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น เห็นได้จากการประกาศใช้กฎหมายหลายฉบับรวมทั้ง “ประมวลรัษฎากร” และสงครามโลกครั้งที่สองก็ทำให้ราษฎรในชนบทมีโอกาสผลิตสินค้าบางชนิดเพื่อขาย และมีการสะสมทุนของนายทุนเชื้อสายจีนทั่วประเทศในบริบทการขยายตัวของ “เศรษฐกิจนอกกฎหมาย” และความต้องการสินค้าหลากหลายชนิดจากกองทัพญี่ปุ่น ด้านวัฒนธรรมก็เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เพราะรัฐประชาชาติในยุคแรกเริ่มได้เปลี่ยนบทบาททั้งการให้ “บริการ” และการ “ควบคุม” ราษฎร ทั้งนี้โดยใช้สถาบันต่างๆ อาทิ สถาบันการศึกษา สื่อ หน่วยงานด้านสาธารณสุข ฯลฯ ราษฎรในวงกว้างตอบสนองต่อปฏิบัติการของรัฐ เช่น การเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่จัดโดยภาครัฐ ทำให้เกิดการรับรู้และผลิตซ้ำอุดมการณ์รัฐทั้งในส่วนกลางและในภูมิภาคต่างๆ ขณะเดียวกันก็มีราษฎรบางส่วนที่มีปฏิกิริยาต่อต้านรัฐอยู่ด้วย กิจกรรมทางการเมืองของราษฎรจึงดำเนินไปอย่างคึกคัก และระบบความสัมพันธ์ทางสังคมมีความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่มีความเสมอภาคมากขึ้นและมีลักษณะสมัยใหม่มากขึ้นด้วย แม้ว่าราษฎรจะยังคงมีสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคอย่างจำกัดภายใต้บริบทการปกครองที่ยังไม่เป็น “เสรีประชาธิปไตย” อย่างเต็มรูปแบบ และสภาวะสงครามโลกครั้งที่สองที่รัฐบาลใช้อำนาจเผด็จการมากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่าสังคมไทยและชีวิตของราษฎรในสมัยแรกเริ่มรัฐประชาชาติ ระหว่าง พ.ศ. 2475 - 2490 ประสบกับความเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวางและลึกซึ้งกว่าที่เคยรับรู้และเข้าใจกันมาแล้ว | en_US |
Appears in Collections: | HUMAN: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 8.06 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.