Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69343
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จินดารัตน์ ชัยอาจ-
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิตยา ภิญโญคำ-
dc.contributor.authorพัชรินทร์ คำแก่นen_US
dc.date.accessioned2020-08-06T01:43:14Z-
dc.date.available2020-08-06T01:43:14Z-
dc.date.issued2015-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69343-
dc.description.abstractChronic obstructive pulmonary disease (COPD) is one of the most common respiratoryproblemswhich can leadtosymptom clusterings. COPDaffects one’sphysical, mental, emotional, and social health. The purpose of this study was to explore factors predicting symptom clusters among persons with COPD. These factors included lung function, nutritional status, smoking patterns, perceived self-efficacy, and perceived social support. A sample of 152 adults with COPD aged 45-65 years old was recruited from ChiangraiPrachanukroh HospitalandMaechan Hospital. Research instruments used for data collection consisted of a Demographic Data Recording Form, Symptom Cluster Questionnaire, Perceived Self-Efficacy Questionnaire, and Perceived Social Support Questionnaire. Content validity of all instruments was judged by a panel of experts. The reliability of the questionnaires were also tested and each questionnaire was at an acceptable level. Data were analyzed by using descriptive statistics and multiple regression. The result revealed that: Factors that were statisticallysignificant correlated with symptom clusters weremoderate level of perceived social support (r = .35, p <.01), nutritional status (underweight) (r = .28, p < .01), moderate level of perceivedself-efficacy (r = .20, p < .05) and low level ofperceivedself-efficacy (r = .18,p < .05) Factors that predicted symptom clusters werenutritional status (underweight), lowand moderate level of perceivedself-efficacyandmoderate level ofperceived social support.These factors accounted for 26 % (p < .001) of symptom clusters among persons with COPD. The results from the study provides datafor nurses in improving care of COPD patients by promoting nutritional status in the patients who areunderweight, as well as enhancing self-efficacy andsocial support inorder to decrease perception of symptom clusters. Moreover, the study results can be used asbaseline data for further research related to management of symptom clusters among COPD patients.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยทำนายกลุ่มอาการของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังen_US
dc.title.alternativeFactors Predicting Symptom Clusters Among Persons with Chronic Obstructive Pulmonary Diseaseen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นโรคที่พบได้บ่อยของปัญหาในระบบทางเดินหายใจโดยทำให้มีกลุ่มอาการเกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอำนาจในการทำนายการเกิดกลุ่มอาการของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้แก่ สมรรถภาพการทำงานของปอด ภาวะโภชนาการ แบบแผนการสูบบุหรี่การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อายุระหว่าง 45-65 ปี ที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ และโรงพยาบาลแม่จัน รวมทั้งสิ้นจำนวน 152 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามกลุ่มอาการ แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และแบบสอบถามการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และทดสอบค่าความเชื่อมั่นอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการเกิดกลุ่มอาการ ได้แก่ การรับรู้การสนับสนุนทางสังคมในระดับปานกลาง (r = .35, p <.01) ภาวะโภชนาการน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน (r = .28, p < .01) การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในระดับปานกลาง (r = .20, p < .05) และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในระดับต่ำ (r = .18,p < .05) สำหรับปัจจัยทำนายการเกิดกลุ่มอาการ ได้แก่ ภาวะโภชนาการน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในระดับต่ำ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในระดับปานกลาง และการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมในระดับปานกลาง โดยสามารถร่วมกันทำนายการเกิดกลุ่มอาการของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ร้อยละ 26 (p <.001) ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลสำหรับพยาบาล เพื่อดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยการส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐานการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคม เพื่อช่วยให้การรับรู้กลุ่มอาการลดลง นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการทำวิจัยเพื่อการจัดการกลุ่มอาการในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf9.1 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.