Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69281
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกรรณิการ์ กันธะรักษา-
dc.contributor.advisorนงลักษณ์ เฉลิมสุข-
dc.contributor.authorพัชรินทร์ เงินทองen_US
dc.date.accessioned2020-08-03T09:11:58Z-
dc.date.available2020-08-03T09:11:58Z-
dc.date.issued2015-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69281-
dc.description.abstractBreast milk has beneficial nutrients for infants and offers immunity from infections. The low breastfeeding rate among adolescent mothers is a significant problem. One factor affecting the breastfeeding rate is a lack of knowledge. Thus, many types of education provision are designed to promote breastfeeding in adolescent mothers. This systematic review aimed to evaluate the effectiveness of education provision on breastfeeding knowledge, breastfeeding duration, breastfeeding rate and breastfeeding behavior among adolescent mothers. The primary research published between 1991 and 2014 were comprehensively searched using a systematic guideline developed by the Joanna Briggs Institute (2014). This systematic search identified a total of 13 studies which met the review inclusion criteria, and included 4 randomized controlled trials and 9 quasi-experimental studies. Meta-analysis could not applied as these studies were dissimilar in terms of types of intervention and their outcomes. Instead, narrative summarization was used in this systematic review. The findings of this study indicated that the effectiveness of education provision depended on three main factors: type of education provision, timing of education, and educators. The study showed that individual and group education may have positive outcomes on breastfeeding. Education continually delivered through pregnancy, childbirth and the postpartum period may improve knowledge of breastfeeding, duration of breastfeeding, breastfeeding rate and breastfeeding behavior among adolescent mothers. A professional educator is also the key person in an education provision. Although the education of breastfeeding provided by non-professional educators may increase the level of adolescent mother’s knowledge, but they needs to be trained in an intensive training course, and their performance should be done under close supervision of professionals. The findings in this systematic review suggest that the education provision may be individual or group education; should continue through pregnancy, childbirth and the postpartum period; and under the direction of a professional educator. Additional primary research on the effectiveness of education provision among adolescent mothers focusing on methods and outcome evaluations are need.en_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการเลี้ยงบุตรen_US
dc.subjectมารดาen_US
dc.subjectมารดาวัยรุ่นen_US
dc.titleการให้ความรู้ต่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในมารดาวัยรุ่น : การทบทวนอย่างเป็นระบบen_US
dc.title.alternativeEducational provision on breastfeeding among adolescent mother : a systematic reviewen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.nlmcW 4-
thailis.controlvocab.thashKnowledge-
thailis.controlvocab.thashBreast feeding-
thailis.controlvocab.thashMothers-
thailis.controlvocab.thashAdolescent-
thailis.manuscript.callnumberW 4 พ212ก 2558-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractน้ำนมมารดามีสารอาหารที่เป็นประโยชน์สำหรับทารก และให้ภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในมารดาวัยรุ่นยังมีอัตราที่ต่ำ ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาสำคัญ ปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่ออัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาคือการขาดความรู้ ด้วยเหตุนี้จึงมีงานวิจัยที่หลากหลายเกี่ยวกับการให้ความรู้ในมารดาวัยรุ่นเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา การทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของการให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในมารดาวัยรุ่น มีผลลัพธ์คือความรู้ในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ระยะเวลาในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา อัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา และพฤติกรรมในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา จากการสืบค้นงานวิจัยระดับปฐมภูมิ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ถึงปี พ.ศ. 2557 โดยใช้แนวทางการทบทวนอย่างเป็นระบบของสถาบันโจแอนนาบริกส์ (JBI, 2014) พบงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการให้ความรู้ในมารดาวัยรุ่น ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 13 เรื่อง แบ่งเป็นงานวิจัยทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม จำนวน 4 เรื่อง งานวิจัยแบบกึ่งทดลอง จำนวน 9 เรื่อง แต่ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์เมต้าได้เนื่องจากความแตกต่างของวิธีการให้ความรู้และการวัดผลลัพธ์ ดังนั้นการทบทวนอย่างเป็นระบบในครั้งนี้จึงใช้วิธีการสรุปแบบบรรยายเชิงเนื้อหา ผลของการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ประสิทธิผลของการให้ความรู้ขึ้นกับ 3 ปัจจัยหลักคือ รูปแบบการให้ความรู้ ช่วงเวลาในการให้ความรู้ และผู้ให้ความรู้ สำหรับรูปแบบการให้ความรู้พบว่าการให้ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม อาจจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ในส่วนของช่วงเวลาพบว่าการให้ความรู้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด จนถึง ระยะหลังคลอด อาจจะมีผลเพิ่มความรู้ เพิ่มระยะเวลาในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา เพิ่มอัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา และมีผลต่อพฤติกรรมในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา สำหรับผู้ให้ความรู้พบว่าบุคลากรทางวิชาชีพมีความสำคัญต่อการให้ความรู้เป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าผู้ให้ความรู้ที่ไม่ใช่บุคลากรทางวิชาชีพอาจจะสามารถเพิ่มระดับความรู้ในมารดาวัยรุ่น แต่ต้องได้รับการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด และปฏิบัติงานภายใต้การกำกับดูแลของบุคลากรทางวิชาชีพ จากผลการทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อแนะนำว่า วิธีการให้ความรู้อาจให้ได้ทั้งรายบุคคลหรือรายกลุ่ม โดยให้ความรู้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด จนถึงระยะหลังคลอดโดยบุคลากรทางวิชาชีพ สำหรับด้านการวิจัยควรมีการวิจัยปฐมภูมิเพิ่มเติมในเรื่องประสิทธิผลของการให้ความรู้ในมารดาวัยรุ่น โดยใช้วิธีการ และการประเมินผลลัพธ์แบบเดียวกันen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf3.21 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.