Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69234
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ สมศักดิ์ เกี่ยวกิ่งแก้ว-
dc.contributor.authorวรากร พาจรทิศen_US
dc.date.accessioned2020-08-01T07:27:23Z-
dc.date.available2020-08-01T07:27:23Z-
dc.date.issued2015-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69234-
dc.description.abstractThe study entitled state and community cooperation in preventing and solving of narcotic problems in “Chumchon Ounjai Dai Looklan Klapkeun Project” Sanlomjoy Village, Suthep Subdistrict, Mueang Chiang Mai District was aimed to study cooperation between government sector and government sector, and government sector and community in preventing and solving of narcotic problems in “Chumchon Ounjai Dai Looklan Klapkeun Project” Sanlomjoy Village, Suthep Subdistrict, Mueang Chiang Mai District. The study was conducted to analyze nature of cooperation of those players, as well as supporting factors, problems and obstacles contributing to the nature of cooperation, using the qualitative research from 2 sources: paper data and field research data. A tool used in this research is in-depth interview in order to collect knowledge, understanding, as well as opinions. The data obtained was analyzed based on the concept of government and its roles, concept of roles of community, concept of cooperation and concept of relationship between government and society and corporatism to be applied as a guideline to conduct the research and discussion. The study result revealed that the factors leading to state and community cooperation in preventing and solving of narcotic problems in “Chumchon Ounjai Dai Looklan Klapkeun Project” Sanlomjoy Village, Suthep Subdistrict, Mueang Chiang Mai District, are adjustment of roles of the government and community under globalization and consequence of decentralization to the locality. The government commenced to change its style from formerly the government alone solved problems in the society to be involving people to do, and mainly based on spatial working, conforming to the change of roles of groups and institutions in the society playing more roles. The government also accepted these roles obviously. Therefore, it defined a framework allowing the government and community to cooperate each other as appearing through the nature of relationship in the way of “Coalition Government Society” in type of neo-corporatism, which the government always has to take groups and people into consideration because these groups and people are independent and play key role. Therefore, the government’s righteousness shall depend on how much operating of these groups would lead to achievement of the goals of the government’s policies. Consequently, the government and community have to work together from the process of data gathering, data diagnosis, planning, implementing and finally evaluating the result. At the same time, the problems and obstacles reflected reduction of the government’s roles and increasing of the community’s roles which was in the stage of adaption. This is what the researcher considers that it needs reasonable time so that the government and community will change their attitude on their roles in the past to the new roles. Therefore, the researcher recommends some idea to bring about sustainable solution as follows: 1. Review the government’s roles as a partnership with institutions in the society in addressing all issues efficiently because the government should have its roles as a supporter for solving of the problems that the community cannot do due to limitation of the community. 2. Change attitude towards prevention and correction of narcotic problem from government sector to the society in creating the sustainable solution to the drug problem. 3. Build up a network of villages in the community in prevention and correction of narcotic problem, focusing on extension of the concept “No one can solve the problem better than those who face the problem”.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความร่วมมือระหว่างรัฐกับชุมชนในการป้องกันและแก้ไข ปัญหายาเสพติดในโครงการ “ชุมชนอุ่นใจได้ลูกหลานกลับคืน” บ้านสันลมจอย ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeState and Community Cooperation in Preventing and Solving of Narcotic Problems in “Chumchon Ounjai Dai Looklan Klapkeun Project” Sanlomjoy Village, Suthep Subdistrict, Mueang Chiang Mai Districten_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษา เรื่อง ความร่วมมือระหว่างรัฐกับชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโครงการ “ชุมชนอุ่นใจได้ลูกหลานกลับคืน” บ้านสันลมจอย ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาครัฐ และระหว่างภาครัฐกับชุมชน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด “โครงการชุมชน อุ่นใจได้ลูกหลานกลับคืน” บ้านสันลมจอย หมู่ที่ 13 ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยดำเนินการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ถึงลักษณะของความร่วมมือของตัวแสดงเหล่านั้น รวมไปถึงเหตุปัจจัยที่สนับสนุน ปัญหาและอุปสรรคที่ก่อให้เกิดลักษณะของความร่วมมือ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยโดยการเก็บข้อมูลทั้งจากการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ที่เกี่ยวข้อง และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In – depth Interview) ทั้งนี้เพื่อเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ ความเข้าใจตลอดจนความคิดเห็น ซึ่งผู้วิจัยจะได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา โดยอาศัยกรอบแนวคิดเรื่องรัฐและบทบาทหน้าที่ของรัฐ แนวคิดเรื่องบทบาทของชุมชน แนวคิดความร่วมมือและ แนวคิดเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคมและภาคีรัฐ-สังคม มาเป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัยและอภิปรายผลการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่นำไปสู่การสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐกับชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด “โครงการชุมชน อุ่นใจได้ลูกหลานกลับคืน” บ้านสันลมจอย หมู่ที่ 13 ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ คือการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของรัฐและชุมชนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และผลพวงของการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น รัฐเริ่มมีการเปลี่ยนการผูกขาด โดยรัฐเป็นการเป็นผู้แก้ปัญหาต่างๆ ในสังคม ส่งผ่านไปยังภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วม และการยึดการทำงานเชิงพื้นที่เป็นหลัก อันสอดรับกับการปรับเปลี่ยนบทบาทของกลุ่มและสถาบันต่างๆ ในสังคมเริ่มแสดงบทบาทมากยิ่งขึ้น ซึ่งรัฐเองก็แสดงการยอมรับในบทบาทนี้อย่างชัดเจน จึงมีการกำหนดกรอบการทำงานที่ให้ทั้งบทบาทรัฐ และบทบาทชุมชนเข้ามาร่วมมือซึ่งกันและกัน ปรากฏผ่านลักษณะของความสัมพันธ์ในลักษณะของ “สังคมร่วมรัฐ” ในตัวแบบสหการใหม่ (Neo-corporatism) ที่รัฐต้องคำนึงถึงกลุ่มต่างๆ ในสังคม รวมไปถึงประชาชนอยู่เสมอ เพราะกลุ่มและประชาชนเหล่านี้ จะมีความเป็นอิสระ และมีบทบาทสูง ความชอบธรรมของรัฐย่อมขึ้นอยู่กับการดำเนินการของกลุ่มต่างๆเหล่านี้ว่าจะทำให้นโยบายต่างๆ ของรัฐบรรลุเป้าหมายได้มากน้อยเพียงใด ดังนั้นรัฐและชุมชนจึงเข้ามาร่วมมือซึ่งกันและกันตั้งแต่ กระบวนการค้นหาปัญหารวบรวมข้อมูล(Data Gathering)วิเคราะห์ข้อมูล(Diagnosis)วางแผนปฏิบัติการ (Planning) ร่วมปฏิบัติ(Implementing) และสุดท้ายมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน(Evaluating) ขณะเดียวกันในประเด็นปัญหาและอุปสรรคก็สะท้อนให้เห็นถึงการลดบทบาทรัฐ และเพิ่มบทบาทชุมชนที่ยังอยู่ในห้วงของการปรับตัว ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าต้องอาศัยระยะเวลาพอสมควรจึงจะทำให้ทั้งรัฐและชุมชนเปลี่ยนทัศนคติของการยึดติดกับบทบาทของตนเองในอดีตสู่การปรับตัวในบทบาทใหม่ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะความคิดบางส่วนอันจะทำให้การแก้ไขปัญหามีความยั่งยืน คือ 1. การทบทวนบทบาทของรัฐในการเป็นเป็นหุ้นส่วนกับสถาบันต่างๆในสังคมในการจัดการปัญหาทุกเรื่องให้มีประสิทธิภาพ เพราะรัฐควรมีบทบาทของตนเองในการเป็นผู้สนับสนุน หรือเอื้ออำนวยในการแก้ไขปัญหาที่ชุมชนไม่สามารถดำเนินการได้ อันเป็นผลมาจากข้อจำกัดของชุมชน 2. การปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจากภาครัฐ มาสู่การสร้างแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยชุมชนอย่างยั่งยืน 3. การสร้างเครือข่ายร่วมกันระหว่างหมู่บ้านชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เน้นการขยายแนวคิดที่ว่า “ผู้ที่ประสบกับปัญหาคือผู้ที่สามารถแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด”en_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.43 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.