Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69219
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อ.ดร. อนัสปรีย์ ไชยวรรณ | - |
dc.contributor.advisor | อ.ดร. จิราคม สิริศรีสกุลชัย | - |
dc.contributor.author | เอกพล ใจเย็น | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-07-31T00:50:41Z | - |
dc.date.available | 2020-07-31T00:50:41Z | - |
dc.date.issued | 2015-12 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69219 | - |
dc.description.abstract | This research aims to study general behavior of customer on selecting airline, to identify the important factors that affect customer’s decision on selecting airline and to evaluate the potential of full service airline among ASEAN countries. To collecting data, questionnaires were used to ask 400 customers of Suvarnabhumi airport. The primary data was analyzed and divided into three sections. The first section of result is the statistical analysis of general information and customer’s behavior. The result shows that the mainly customers are single male age during 21 - 30 years old with bachelor degrees. The general occupation is the employee of the private company with 30,000 baht salary or above. The frequency of using airlines shows that domestic trip has higher ratio (8.04 times / year) than international trip (3.17 times / year). Furthermore, 44.75 % of customers tend to travel with only one airline while 37.75% of customers would prefer traveling more than one airline. The second section of result is the analysis of the important of factors and the potential evaluation of full-service airlines by using Weigh-By-Rank technique and Technique for Order Preference by Similarity to Ideal Solution method (TOPSIS). The most important factor is safety followed by fare, service of flight attendants and punctuality. The result of capabilities evaluation of full-service airlines in ASEAN consists of five airlines, including Garuda Indonesia Airlines, Malaysia Airlines, Singapore Airlines, Thai Airways and Bangkok Airways. The result shows that Singapore Airlines has the highest rank, with score 0.8169 followed by Thai Airways: score 0.6297, Malaysia Airline: score 0.5302, Garuda Indonesia Airlines: score 0.1791 and Bangkok Airways: score 0.1167. The result of last section is the analysis of the factors which affect directly to customers’ decision on selecting full-service airlines by using Classifier Chain Generalized Maximum Entropy (CG-GME) technique. The result can be concluded as following: 1) Customers who give precedence to the model of aircrafts tend to choose Thai airways while customers who give precedence to fare and easiness in check-in process tend not to choose Thai airways. 2) High educated customers, Thai airways’ customers and customers who give precedence to service of flight attendance tend to choose Bangkok airways but female customers tend not to choose Bangkok airways. 3) Customers age above thirty years old, customers who work for self-employed business and customers who give precedence to a class of service tend to choose Singapore airlines but the customers who give precedence to easiness in check-in process and Bangkok airways’ customer tend not to choose Singapore airlines. 4) Married customers tend to choose Malaysia airlines while Thai airways’ customers and Bangkok airways’ customers tend not to choose Malaysia airlines. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การประเมินศักยภาพของสายการบินบริการเต็มรูปแบบของประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน | en_US |
dc.title.alternative | The Potential Evaluation of Full Service Airlines in ASEAN Economic Community | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมของลูกค้าที่มีอุปสงค์ในการเลือกเดินทางด้วยสายการบินบริการเต็มรูปแบบ ศึกษาถึงความสำคัญของปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกเดินทางด้วยสายการบินบริการเต็มรูปแบบ และประเมินศักยภาพของสายการบินบริการเต็มรูปแบบของประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ จำนวน 400 ตัวอย่าง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย 3 ส่วน ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมของผู้โดยสารโดยใช้ค่าทางสถิติ ซึ่งผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นเพศชาย, มีช่วงอายุ 21 – 30 ปี, สถานภาพโสด, มีระดับการศึกษาปริญญาตรี, มีอาชีพเป็นพนักงานเอกชน, มีระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 30,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป และจากผลความถี่ในการใช้บริการพบว่าผู้โดยสารในกลุ่มตัวอย่างในความถี่ของการเดินทางภายในประเทศและระหว่างประเทศ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 8.04 และ3.17 ครั้งต่อปี ตามลำดับ และมีผู้โดยสารที่ตัดสินใจเลือกเดินทางเพียง 1 สายการบิน คิดเป็นร้อยละ 44.75 และเลือกเดินทางมากกว่า 1 สายการบิน คิดเป็นร้อยละ 37.75 ในส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ความสำคัญของปัจจัยโดยใช้วิธีถ่วงน้ำหนักจากการจัดลำดับ และประเมินศักยภาพของสายการบินบริการเต็มรูปแบบ โดยวิธีการทอปสิส พบว่าผู้โดยสารให้ความสำคัญกับเรื่องมาตรการความปลอดภัยมากที่สุด รองลงมาเป็นราคาค่าโดยสาร, คุณภาพการให้บริการของพนักงานบนเครื่องบิน และการตรงต่อเวลาตามลำดับ โดยการประเมินเป็นเปรียบเทียบความสามารถของสายการบินบริการเต็มรูปแบบในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประกอบไปด้วย 5 สายการบิน ได้แก่ สายการบินการูด้า อินโดนีเซีย, สายการบินมาเลย์เซียแอร์ไลน์, สายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์, สายการบินไทย และ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ โดยผลการประเมินพบว่าสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ อยู่ในอันดับที่ 1 มีคะแนนเท่ากับ 0.8169 รองลงมาคือสายการบินไทย มีคะแนนเท่ากับ 0.6297, สายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ มีคะแนนเท่ากับ 0.5302, สายการบินการูด้า อินโดนีเซีย มีคะแนนเท่ากับ 0.1791 และอันดับสุดท้ายคือ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ มีคะแนนเท่ากับ 0.1167 และในส่วนที่ 3 การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเลือกใช้บริการสายการบินบริการเต็มรูปแบบ โดยใช้ ตัวแบบซีซี-จีเอ็มอี โดยมีผลในแต่ละสายการบินสามารถแสดงได้ดังต่อไปนี้ 1) สายการบินไทย ผู้โดยสารที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบเครื่องบินส่งผลต่อการเลือกใช้บริการของสายการบินไทย แต่ราคาค่าโดยสารและความสะดวกในการเช็คอินส่งผลต่อการไม่เลือกใช้บริการของสายการบินไทย 2) สายการบินบางกอก แอร์เวย์ ผู้โดยสารที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่า ผู้โดยสารที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพของพนักงานบนเครื่อง และการเลือกใช้บริการสายการบินไทยส่งผลต่อการเลือกใช้บริการของ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ แต่ผู้โดยสารเพศหญิงส่งผลต่อการไม่เลือกใช้บริการของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ 3) สายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ ผู้โดยสารที่มีอายุมากกว่า 30 ปี ผู้โดยสารที่เป็น นักธุรกิจ ผู้โดยสารที่ให้ความสำคัญกับความสะดวกในการซื้อตั๋ว และผู้โดยสารที่ให้ความสำคัญกับประเภทที่นั่งผู้โดยสารส่งผลต่อการเลือกใช้บริการของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ แต่ผู้โดยสารที่ให้ความสำคัญกับความสะดวกในการเช็คอิน และการเลือกใช้บริการสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส่งผลต่อการไม่เลือกใช้บริการของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ และ 4) สายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ ผู้โดยสารที่มีสถานภาพสมรสส่งผลต่อการเลือกใช้บริการของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ แต่การเลือกใช้บริการสายการบินไทยและสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส่งผลต่อไม่การเลือกใช้บริการของ สายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ | en_US |
Appears in Collections: | ECON: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 4.97 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.