Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69166
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรศ. ดร.อภิชาต โสภาแดง-
dc.contributor.authorพรวิภา ทาเขียวen_US
dc.date.accessioned2020-07-30T01:24:13Z-
dc.date.available2020-07-30T01:24:13Z-
dc.date.issued2014-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69166-
dc.description.abstractThe objective of this research is to reduce defects in the quality inspection process of the jewelry factory. In the inspection process there are 3 major processes. Which are receiving, inspecting, and completing processes. The research started from observing the factory, production, and quality control process, after that used cause and effect diagram to find the causes of defects in the inspection process. We gathered the information on various products from what was being sent back for rework after the quality inspection process. With the use of Pareto diagram we defined products that need to be improved for the inspection process, Three products will be chosen for study and process improvement. The set up team began to brain storm using Failure Mode and Effect Analysis (FMEA) to find defects in the inspection process. Then evaluation of the risk Priority Number (RPN) of each cause was done. The RPN score over 40 points were selected for corrective action. For this research the implemented action was to distribute the checking tool and set up standard work instructions to reduce defects in quality inspection processes which mostly use visual inspection. After implementation and re-evaluation the RPN scores reduced from 514 to 136, a reduction of 73.54%. Moreover the amount of defects in quality inspection process reduced from 0.54% to 0.17%. Failure Mode and Effect Analysis (FMEA) has provided a technique to identify cause and effect of defects, brought about the solution to reduce critical defects that suitable for organization.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการลดความบกพร่องในการะบวนการตรวจสอบคุณภาพของโรงงานเครื่องประดับen_US
dc.title.alternativeDefective Reduction in Quality Inspection Process of the Jewelry Factoryen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความบกพร่องในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพของโรงงานผลิตเครื่องประดับ ซึ่งมีกระบวนการตรวจสอบคุณภาพที่สามารถแบ่งได้เป็น 3 กระบวนการหลักคือ การรับงานตรวจ การตรวจสอบคุณภาพสินค้า และการเสร็จสิ้นกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยเริ่มจากการศึกษาถึงลักษณะทั่วไปของโรงงาน กระบวนการผลิตและกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ จากนั้นได้ทำการวิเคราะห์สาเหตุของความบกพร่องในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพโดยการใช้แผนผังแสดงเหตุและผล และเนื่องจากความหลากหลายของสินค้าในโรงงาน ผุ้วิจัยจึงดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลสินค้าที่มีการส่งกลับไปแก้ไขโดยฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ เพื่อกำหนดสินค้าที่ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ โดยใช้แผนภาพพาเรโต้ในการคัดเลือกสินค้าที่มีอัตราการส่งกลับไปแก้ไขโดยฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ 3 อันดับแรกที่ควรได้รับการศึกษาและปรับปรุง จากนั้นได้ทำการระดมสมองของคณะทำงานในการวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ (Failure Mode and Effect Analysis: FMEA) ในการค้าหาสาเหตุของความบกพร่องในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ จากนั้นทำการประเมินค่าความเสี่ยง RPN ของแต่ละสาเหตุ พบสาเหตุที่มีค่าความเสี่ยงสูงกว่า 40 คะแนนอยู่ 7 สาเหตุ จากนั้นคณะทำงานได้ทำการพิจารณาเพื่อกำหนดมาตรการแก้ไข ในงานวิจัยศึกษาครั้งนี้ได้ทำการจัดทำอุปกรณ์ในการตรวจสอบคุณภาพให้กับสินค้าที่ศึกษา และจัดทำเอกสารวิธีการปฏิบัติงานที่เป็นมาตราฐานเดียวกัน เพื่อลดความบกพร่องของกระบวนการตรวจสอบคุณภาพที่มีการตรวจสอบโดยใช้สายตาเป็นส่วนมาก ผลการดำเนินการแก้ไขแล้วทำการประเมินค่าความเสี่ยงซ้ำอีกครั้งพบว่าค่าความเสี่ยงลดลงจากเดิม 514 เหลือ 136 คะแนน คิดเป็นเปอร์เซนต์ที่ลดลงเท่ากับ 73.54% นอกจากนี้จากการเก็บข้อมูลจำนวนความผิดพลาดในกระบวนการตรวจสอบต่อจำนวนชิ้นงานเป็นระยะเวลา 3 เดือนพบว่า ก่อนการปรับปรุงมีจำนวนความผิดพลาดในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพต่อสินค้า 0.54% ภายหลังการลดความบกพร่องโดยใช้อุปกรณ์ในการวัดและการกำหนดเอกสารวิธีการปฎิบัติงานที่ใช้ร่วมกันทั้งฝ่ายผลิตและฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ เพื่อให้เกิดการสื่อสารที่ตรงกันและเก็บข้อมูลซ้ำอีกครั้งเป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่าจำนวนความผิดพลาดในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพต่อสินค้าลดลงเป็นจำนวน 0.17% ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบในการวิเคราะห์หาสาเหตุของข้อบกพร่อง ความรุนแรงและผลกระทบของความบกพร่อง นำไปสู่การค้นหาความบกพร่องที่ควรได้รับการแก้ไขก่อนและสามารถนำไปสู่การลดความบกพร่องด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรen_US
Appears in Collections:ENG: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf4.19 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.