Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69157
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รศ.ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา | - |
dc.contributor.author | ทิชากร สุ่มมาตย์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-07-30T01:23:08Z | - |
dc.date.available | 2020-07-30T01:23:08Z | - |
dc.date.issued | 2014-11 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69157 | - |
dc.description.abstract | The study “Result of Implementation of Accommodation Standards for Long Stay Tourism (TTS 206: 2009) in The Enterprises, Mueang Chiang Mai District” aimed to 1) examine the results of the implementation of the accommodation standards for long stay tourism and to implement the results in the enterprises providing the accommodation for long stay tourists in Mueang Chiang Mai District, 2) investigate the problems and obstacles in implementing the accommodation standards for long stay tourism in the enterprises providing accommodation for long stay tourists in Mueang Chiang Mai District, 3) study the satisfaction of the long stay tourists from the quality of the services offered by the enterprises providing long stay accommodation in Mueang Chiang Mai District, and 4) examine the readiness of the related government sectors in Mueang Chiang Mai District in promoting and supporting the enterprises to implement the TTS 206:2552. The data collection methods were reviewing related documents, in-depth interviews, participant observations, and questionnaires. The participants in the interviews were divided into two groups. The first group included four government officials responsible for supporting the enterprises to implement the TTS 206:2552. In addition, the second group consisted of four administrators of the enterprises implemented the TTS 206:2552. These enterprises were chosen under the criteria including the enterprises were popular among the tourists with many service users and the administrators were willing to provide the information. Moreover, 152 long stay tourists from four enterprises responded to the questionnaire. From analyzing the data, the followings are the findings. 1. From adopting the results of the implementation of accommodation standards for long stay tourism (TTS 206: 2552) by the owners or administrators of the enterprises, it was found that all four enterprises had better service quality and improved all elements of the TTS 206:2552. 2. For the problems and obstacles in implementing the accommodation standards for long stay tourism in the enterprises providing accommodation for long stay tourists in Mueang Chiang Mai District, the data indicated that Kantary Hills Chiang Mai did not have any obstacles in implementing the standards because their services were continuously improved. In addition, the hotel was certified the TTS 206:2552 by the Department of Tourism in 2012 and has kept the standards. However Baan Dok Kaew at McKean Rehabilitation Center by the Church of Christ in Thailand, Hillside Plaza & Condotel 4, and Nakornping Condominium were under the service improvement in some elements in preparation to apply for the standard certification. Also it was found that the government sectors were lack of continuous advancement, promotion and supports. 3. In terms of the satisfaction of the long stay tourists from the quality of the services offered by the enterprises providing the long stay accommodation, the study found that the satisfaction was at different levels: Kantary Hills Chiang Mai, Baan Dok Kaew at McKean Rehabilitation Center by the Church of Christ in Thailand , Hillside Plaza & Condotel 4, and Nakornping Condominium, respectively. 4. The government sectors were ready to promote and support the enterprises to implement the TTS 206: 2552, but they did not have sufficient budgets and officials. In addition, there were not clear and continuous policies from the government. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ผลการนำมาตรฐานที่พักเพื่อการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว (มทท. ๒๐๖-๒๕๕๒) มาปรับใช้สถานประกอบการในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Result of Implementation of Accommodation Standards for Long Stay Tourism (TTS 206: 2009) in the Enterprises, Mueang Chiang Mai District | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษา เรื่อง ผลการนำมาตรฐานที่พักเพื่อการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว (มทท.๒๐๖-๒๕๕๒) มาปรับใช้ในสถานประกอบการ ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาผลการนำมาตรฐานที่พัก เพื่อการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว มาปรับใช้ในสถานประกอบการด้านที่พัก ที่ให้บริการนักท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวใน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2. เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคของการนำมาตรฐานที่พัก เพื่อการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวมาปรับใช้ในสถานประกอบการด้านที่พัก ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว ต่อคุณภาพบริการของสถานประกอบการ ที่ให้บริการที่พักเพื่อการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และ 4. เพื่อศึกษาความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ในจังหวัดเชียงใหม่ต่อการส่งเสริมสนับสนุนให้สถานประกอบการ นำ มทท.๒๐๖-๒๕๕๒มาปรับใช้ ผลการศึกษาจากการรวบรวมข้อมูลทางเอกสาร จากการสัมภาษณ์เชิงลึกในผู้ให้ข้อมูลทั้ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ที่มีหน้าที่โดยตรงในการผลักดัน ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานประกอบการมีการนำ มทท.๒๐๖-๒๕๕๒ไปปรับใช้ จำนวน 4 ราย และกลุ่มผู้บริหารของสถานประกอบการ ที่ได้มีการนำเอา มทท.๒๐๖-๒๕๕๒ไปปรับใช้ ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ สถานประกอบการนั้นเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว มีผู้มาใช้บริการเป็นจำนวนมาก และผู้บริหารเหล่านั้นเต็มใจที่จะเปิดเผยข้อมูล จำนวน 4 ราย แล้วนำข้อมูลที่ได้ จากการสัมภาษณ์ จากการสังเกตุแบบมีส่วนร่วม และรวมการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม จำนวน 152 ราย ที่ได้สอบถามเฉพาะนักท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว ที่มาใช้บริการของสถานประกอบการทั้ง 4 แห่ง 1. ผลการนำเอามาตรฐานที่พักเพื่อการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว (มทท.๒๐๖-๒๕๕๒) ไปปรับใช้ในสถานประกอบการของกลุ่มเจ้าของ หรือผู้บริหารของสถานประกอบการ พบว่า สถานบริการทั้ง 4 แห่งมีคุณภาพการบริการที่ดีขึ้น มีการปรับปรุงในทุกด้านขององค์ประกอบ ของ มทท.๒๐๖-๒๕๕๒ 2. ปัญหาและอุปสรรคของการนำมาตรฐานที่พัก เพื่อการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว มาปรับใช้ในสถานประกอบการด้านที่พัก ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่นั้น พบว่าโรงแรมแคนทารีฮิลล์เชียงใหม่ ไม่พบปัญหาอุปสรรคใดๆในการนำมาปรับใช้ เพราะได้มีการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการบริการมาตลอด จนได้รับการรับรองมาตรฐาน มทท.๒๐๖-๒๕๕๒จากกรมการท่องเที่ยว เมื่อปี 2555 และมีการรักษามาตรฐานนั้นตลอดมา ส่วนบ้านดอกแก้ว สถาบันแม็คเคนเพื่อการฟื้นฟูสภาพ มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ฮิลไซด์พลาซ่าแอนด์คอนโดเทล 4 และ นครพิงค์คอนโดมีเนียม ยังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการบริการในบางประเด็น เพื่อเตรียมยื่นขอรับการรับรองมาตรฐาน ซึ่งพบว่าภาครัฐขาดความต่อเนื่องในการผลักดัน ส่งเสริม สนับสนุน 3. นักท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว มีความพึงพอใจต่อคุณภาพบริการของสถานประกอบการ ที่ให้บริการที่พักเพื่อการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว ซึ่งผลการศึกษาพบว่า มีความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ และพึงพอใจในระดับที่แตกต่างกัน โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ โรงแรมแคนทารีฮิลล์เชียงใหม่ บ้านดอกแก้ว สถาบันแม็คเคนเพื่อการฟื้นฟูสภาพ มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ฮิลไซด์พลาซ่าแอนด์คอนโดเทล 4 และนครพิงค์คอนโดมีเนียม ตามลำดับ 4. หน่วยงานภาครัฐมีความพร้อมในการส่งเสริมสนับสนุนให้สถานประกอบการนำ มทท.๒๐๖-๒๕๕๒ มาปรับใช้ แต่ยังขาดแคลนงบประมาณ บุคลากรที่เพียงพอ รวมถึงแนวนโยบายที่ชัดเจนและต่อเนื่องจากทางรัฐบาล | en_US |
Appears in Collections: | POL: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 6.49 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.