Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69154
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิกุล นันทชัยพันธ์ | - |
dc.contributor.author | จีราพร สุรศรี | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-07-28T02:48:09Z | - |
dc.date.available | 2020-07-28T02:48:09Z | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69154 | - |
dc.description.abstract | Advanced cancer is an incurable disease and life threatening, but it can often be managed. The treatment goal is to enable the patient to live longer, or to relieve their symptoms. Encouraging advance care planning is one of the most suitable approaches to enable cancer patients’ sense of control. This operation research aimed to study the effectiveness of implementing advance care planning promotion guidelines for cancer patients. Participants of this study were 37 advanced cancer patients attending the inpatient department at Sriphat Medical Center, Faculty of Medicine, Chiang Mai University. Twenty one of the participants were in the guidelines pre-implementation group and 16 in the guidelines post-implementation group. The instruments in the study included 1) the Advance Care Planning Promotion Guidelines for Cancer Patients, 2) the Sense of Control Interview Questionnaire and 3) the Advance Care Plan for Cancer Patient Assessment Form. The content validity and reliability were determined in all instruments. The framework of implementing evidence proposed by the National Health and Medical Research Council of Australia (National Health and Medical Research Council [NHMRC], 1999) was used. The proportion of participants who performed a good level sense of control and achieved advance care plans were used as the outcomes. Data were analyzed using descriptive statistics. The study results revealed that: 1. The proportion of subjects among the guidelines pre-implementation group who reported a good level of control was 0.33, whereas in the post-implementation group was 0.38. 2. The proportion of subjects who achieved advance care planning in the guidelines pre-implementation group was 0.05, whereas in the post-implementation group was 0.56. The findings of this study can confirm the feasibility of advance care plan promotion guidelines among people with advanced cancer. This guideline should be used by nurse case managers in order to encourage the collaboration of multidisciplinary teams in promoting advance care plans. Further study should be done over a longer period to test the effectiveness of the developed advance care plan for each of the cancer patients. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการส่งเสริมการวางแผนดูแล ล่วงหน้าสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Effectiveness of Implementing Advance Care Planning Promotion Guidelines for Cancer Patients, Sriphat Medical Center, Faculty of Medicine, Chiang Mai University | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | มะเร็งระยะลุกลามเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาดและคุกคามต่อชีวิต แต่สามารถจัดการได้โดยมีเป้าหมายในการรักษาเพื่อยืดชีวิตหรือเพื่อบรรเทาอาการ การส่งเสริมให้มีการวางแผนดูแลล่วงหน้าเป็นวิธีหนึ่งที่เหมาะสมในการช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งได้มีการรับรู้อำนาจในการควบคุมตนเอง การศึกษาปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการส่งเสริมการวางแผนดูแลล่วงหน้าสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้เข้าร่วมการศึกษา 37 คน เป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม ที่เข้ารับบริการแผนกหอผู้ป่วยใน ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีผู้ที่มารับบริการก่อนมีการใช้แนวปฏิบัติ จำนวน 21 คน และผู้ที่มารับบริการหลังการใช้แนวปฏิบัติจำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติการส่งเสริมการวางแผนดูแลล่วงหน้าสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง 2) แบบสอบถามการรับรู้อำนาจในการควบคุม และ 3) แบบประเมินการวางแผนดูแลล่วงหน้าของผู้ป่วยโรคมะเร็ง เครื่องมือได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและความเชื่อมั่นก่อนนำมาใช้ ในการศึกษาดำเนินการศึกษาตามกรอบแนวคิดที่เสนอโดยสภาวิจัยด้านสุขภาพและการแพทย์แห่งชาติ ประเทศออสเตรเลีย (National Health and Medical Research Council [NHMRC], 1999) ประเมินผลลัพธ์จากสัดส่วนของผู้ที่มีระดับคะแนนการรับรู้ถึงอำนาจในการควบคุมระดับดี และสัดส่วนของผู้ที่สามารถมีการวางแผนดูแลล่วงหน้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1. สัดส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีคะแนนการรับรู้อำนาจในการควบคุมระดับดี ในกลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติการส่งเสริมการวางแผนดูแลล่วงหน้าสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง เท่ากับ 0.33 และกลุ่มหลังการใช้แนวปฏิบัติ เท่ากับ 0.38 2. สัดส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีการวางแผนการดูแลล่วงหน้า ในกลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติการส่งเสริมการวางแผนดูแลล่วงหน้าสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง เท่ากับ 0.05 และกลุ่มหลังการใช้แนวปฏิบัติ เท่ากับ 0.56 ผลของการศึกษาครั้งนี้สามารถยืนยันความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ของแนวปฏิบัติ การส่งเสริมการวางแผนดูแลล่วงหน้า แนวปฏิบัตินี้ควรนำไปใช้โดยพยาบาลผู้จัดการกรณีเพื่อกระตุ้นความร่วมมือของทีมสหสาขาวิชาชีพในการส่งเสริมการวางแผนการดูแลล่วงหน้า การศึกษาครั้งต่อไปควรเป็นการศึกษาระยะยาวเพื่อทดสอบประสิทธิผลของแผนการดูแลล่วงหน้าสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งแต่ละบุคคลต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 3.55 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.