Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69149
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร.ศศิเพ็ญ พวงสายใจ-
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์พรทิพย์ เธียรธีรวิทย์-
dc.contributor.authorสุรัชนก แซ่จุงen_US
dc.date.accessioned2020-07-28T02:47:29Z-
dc.date.available2020-07-28T02:47:29Z-
dc.date.issued2014-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69149-
dc.description.abstractThe purposes of this study were to learn how Old-aged of Informal Workers preparing themselves by the following three main objectives: firstly, to study the objectives of preparation of Informal Workers for Old-aged living; secondly, to analyze the preparation pattern of Informal Workers for Old-aged living; thirdly, to determine the satisfaction of living life of Informal Workers. The samples were selected by using questionnaires from Informal Workers in Mueang district, Chiang Mai province, divided into 4 occupations: trade, service, transport and general employed which 100 people in each occupation. The factors affecting analyzed by using descriptive statistic and Likert scale. From the samples, most of Informal Workers were in working aged with averagely 47 years old, held middle school degree, average of 4 people in household, average of one child in household and average of one dependency people in household. The results found that Old-aged of Informal Workers gave precedence to the preparation for living the most. The incomes average was 9,000 baht/month with main occupations, the expenses average was 2,500 baht/month and the saving money was average 17,000 baht/month. They decided to save the money mostly with the bank and some of them saved the money in form of life insurance and social insurance. Most of Informal Workers had no debt and they also continue working in the same occupations. The preparation for housing found that the Informal Workers have lived in their own properties with the spouses and will remain to live the same properties without changing. The preparation for illness found that most of the Informal Workers used the service of the public hospitals by using the benefits from the gold card health care. Some of them used the benefits from life insurance, social insurance and the benefit form the spouses. The last one was the preparation for death, most of them joined funeral association and some joined life insurance and social insurance. According to the satisfaction of living found that the Informal Workers had the highest satisfaction level of the benefits that they received for illness and death. The satisfaction of housing and incomes were in the medium satisfaction level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการเตรียมตัวของแรงงานนอกระบบเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativePreparation for Old-aged of Informal Workers in Mueang District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ ประการแรกเพื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ทำให้แรงงานนอกระบบมีการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ประการที่สองเพื่อศึกษารูปแบบการเตรียมตัวของแรงงานนอกระบบเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ และประการที่สามเพื่อศึกษาความพึงพอใจในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของแรงงานนอกระบบก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ โดยใช้กลุ่มแรงงานนอกระบบในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นกลุ่มศึกษา โดยเก็บข้อมูลจากแรงงานนอกระบบ 400 ตัวอย่าง ในกลุ่มอาชีพค้าขาย กลุ่มอาชีพงานบริการ กลุ่มอาชีพบริการขนส่ง และกลุ่มอาชีพรับจ้างทั่วไป กลุ่มละ 100 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการให้ความสำคัญของปัจจัยใช้สถิติแบบลิเคิร์ทสเกล จากกลุ่มตัวอย่างแรงงานนอกระบบ ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า แรงงานนอกระบบส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน มีอายุเฉลี่ย 47 ปี มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีภาระในครัวเรือนเฉลี่ย 4คน มีจำนวนบุตรเฉลี่ย 1 คน และมีภาระผู้พึ่งพิงเฉลี่ย 1 คน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มแรงงานนอกระบบไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มอาชีพใดมีการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุโดยให้ความสำคัญกับปัจจัยในด้านการดำรงชีวิตมากที่สุด โดยส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีรายได้จากการประกอบอาชีพเฉลี่ยประมาณ 9,000 บาทต่อเดือน มีรายจ่ายเฉลี่ยประมาณ 2,500 บาทต่อเดือน มีเงินออมเฉลี่ยประมาณ 17,000 บาทต่อปี และเลือกทำการออมกับธนาคาร มีบางส่วนเท่านั้นที่เลือก ทำการออมกับประกันชีวิตและประกันสังคม นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ไม่มีภาระหนี้สิน โดยคาดว่าเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ กลุ่มแรงงานนอกระบบก็ยังจะประกอบอาชีพเดิมต่อไปความสำคัญระดับรองลงมาคือ ด้านที่อยู่อาศัย พบว่า ส่วนใหญ่กลุ่มแรงงานนอกระบบจะมีที่พักอาศัย เป็นของตนเองโดยอาศัยอยู่กับคู่สมรส และเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุกลุ่มแรงงานก็จะยังคงอาศัยอยู่ที่เดิมโดยไม่เปลี่ยนที่อยู่อาศัยใหม่ ปัจจัยที่มีความสำคัญรองลงมา คือ ปัจจัยด้านการเจ็บป่วย กลุ่มแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่เมื่อเจ็บป่วยจะเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลของรัฐ โดยใช้สิทธิ์บัตรทองเป็นส่วนใหญ่ มีกลุ่มแรงงานนอกระบบส่วนน้อยที่ใช้สิทธิจากประกันชีวิต ประกันสังคม และสิทธิจากคู่สมรส และปัจจัยที่กลุ่มแรงงานนอกระบบให้ความสำคัญน้อยที่สุด คือ ด้านการเสียชีวิต พบว่า มีกลุ่มแรงงานบางส่วนเท่านั้นที่ทำการเตรียมตัวเมื่อเสียชีวิต โดยส่วนใหญ่เข้าร่วมกลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์รองลงมาคือการทำประชีวิตไว้ล่วงหน้า และการเข้าร่วมประกันสังคม การวิเคราะห์ความพึงพอใจในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของแรงงานนอกระบบก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ พบว่า กลุ่มแรงงานนอกระบบมีความพึงพอใจมากในด้านสิทธิและสวัสดิการที่ได้รับในยามเจ็บป่วย และด้านสิทธิและสวัสดิการที่ได้รับเมื่อเสียชีวิต ส่วนในด้านที่อยู่อาศัยและด้านรายได้ในสถานะปัจจุบัน พบว่า กลุ่มแรงงานนอกระบบมีความพึงพอใจปานกลางเท่านั้นen_US
Appears in Collections:ECON: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.