Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69148
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา สโรบล-
dc.contributor.authorขนิษฐา หาระสายen_US
dc.date.accessioned2020-07-28T02:47:24Z-
dc.date.available2020-07-28T02:47:24Z-
dc.date.issued2016-01-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69148-
dc.description.abstractThis Independent study aims of studying knowledge of folk wisdom in silk designs and ways to conserve silk weaving as occupation for Kui ethnic group in Ban Sum Community, Khun Han District, Sisaket Province. Data collecting from gurus which have experience in silk weaving for at least five years, community leader, Educational Administrator in the community, Head of local Administration and representatives in community which are juveniles or villagers that do silk weaving in total 15 persons. Interviewing form using both structured Interview and Non-Structure Interview, observation and group conversation and do related a cademic document revision. Studies conclusion is by Descriptive explanation. The studies result that nowadays the popular designs for silk weaving are the original designs that were passed on folk wisdom knowledge from ancients in the past. The most popular designs for silk weaving in Baan Sum community are “Large snake design” which use in auspicious ceremony and annually village religious ceremony, “Hook design(Chi-pad)” which believe that the wearer will be gentle and be a good lady, “Hole design (Flowing water design or bamboo leaves design)” ,this design conveys to unity, tenderness, group harmony, “Squirrel’s tail design (Sod-la-way) which believe that the wearer will have family unity and be lively. The passed on designs on the silk were influenced by beliefs and environment observation and also from daily life imagination. There were four important guidelines for silk weaving conservation of the Kui ethnic group. The first guideline was to convey local wisdom to sustain the profession of Thai silk weaving among women and youth in the community. Next was the support from the leaders and elders including with local people in the Ban Sum community to wear clothes which are made of their silk in order to preserve their own silk weaving styles and weaving career. Moreover, there should be the budget from the local government to promote and find the mulberry and silkworm eggs which were strong and could be new species for the locals. Finally, there should be curriculum for Ban Sum School to transfer the knowledge and wisdom of silk weaving to children and youth in the community and to make them aware of the cultural inheritance and carry on the weaving profession in the future.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแนวทางการอนุรักษ์อาชีพทอผ้าไหมของกลุ่มชาติพันธุ์กูย ในชุมชนบ้านซำ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษen_US
dc.title.alternativeGuidelines for Silk Weaving Career Conservation of Kui Ethnic Group in Ban Sum Community, Khun Han District, Sisaket Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาด้านลวดลายผ้าไหม และแนวทางการอนุรักษ์อาชีพทอผ้าไหมของกลุ่มชาติพันธุ์กูยในชุมชนบ้านซำ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ โดยเก็บข้อมูลจากผู้รู้ ผู้ทอผ้าไหมที่มีประสบการณ์การทอไม่ต่ำกว่า 5 ปี ผู้นำชุมชน ผู้บริหารการศึกษาหรือบุคลากรทางการศึกษาในชุมชน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และตัวแทนจากชุมชนได้แก่เยาวชนหรือชาวบ้านที่ทอผ้า รวมทั้งสิ้น 15 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง การสังเกต และการสนทนากลุ่ม และมีการทบทวนเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง สรุปผลการศึกษาแบบบรรยายเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันนี้ลวดลายผ้าไหมที่นิยมทอในชุมชนจะเน้นลวดลายแบบดั้งเดิมที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาด้านลวดลายผ้าไหมจากบรรพบุรุษสืบทอดกันมาจากอดีต ซึ่งลวดลายที่พบว่านิยมทอกันมากที่สุดของชุมชนบ้านซำ ได้แก่ ลายงูใหญ่ ส่วนใหญ่จะใช้ในงานมงคล และงานบุญประจำปีของหมู่บ้าน ลายตะขอ (จิปัด) เชื่อว่าเมื่อสวมใส่แล้วจะมีความอ่อนช้อย มีความเป็นกุลสตรีเป็นแม่ศรีบ้านแม่ศรีเรือน ลายโฮล (ลายน้ำไหลหรือลายใบไผ่) เชื่อว่าลายนี้สื่อถึงความกลมเกลียว ความอ่อนโยน รักใคร่ปรองดองในหมู่คณะ ลายหางกระรอก (โซดละเว) เชื่อว่าเมื่อสวมใส่จะมีความสามัคคีในครอบครัวและมีความปราดเปรียว เป็นต้น ซึ่งลวดลายที่ถูกถ่ายทอดออกมาบนผืนผ้านั้นล้วนเกิดจากอิทธิพลความเชื่อและการสังเกตจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ตลอดจนการจินตนาการจากสิ่งที่พบในชีวิตประจำวัน แนวทางการอนุรักษ์อาชีพทอผ้าไหมของกลุ่มชาติพันธุ์กูยในชุมชนบ้านซำนั้นพบว่า มีอยู่ 4 แนวทางสำคัญ ได้แก่ 1. การถ่ายทอดภูมิปัญญาให้เกิดอาชีพการทอผ้าไหมให้แก่สตรีและเยาวชนในชุมชน 2. การสนับสนุนจากผู้นำและผู้อาวุโสในชุมชน ตลอดทั้งชาวบ้านในชุมชนในการแต่งกายด้วยผ้าไหม เพื่ออนุรักษ์ผ้าไหมและอาชีพทอผ้าของชุมชนบ้านซำ 3. การสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมให้เกิดการจัดหาพันธุ์ต้นหม่อนและไข่ของตัวไหมที่มีความแข็งแรงและเป็นพันธุ์ใหม่ให้แก่ชาวบ้านได้เลี้ยงเป็นอาชีพเสริมควบคู่ไปกับอาชีพการทอผ้าไหม 4. การจัดทำหลักสูตรชุมชนของโรงเรียนบ้านซำเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาด้านการทอผ้าไหมแก่เด็กและเยาวชนในชุมชนได้ตระหนักถึงมรดกวัฒนธรรมและสืบทอดอาชีพทอผ้าของบ้านซำ ในอนาคตได้en_US
Appears in Collections:EDU: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf5.41 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.