Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69141
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอ.ดร. ปฐมาวดี จงรักษ์-
dc.contributor.authorวริชา สร้อยสวิงen_US
dc.date.accessioned2020-07-28T02:46:47Z-
dc.date.available2020-07-28T02:46:47Z-
dc.date.issued2015-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69141-
dc.description.abstractFactors Related to Organizational Commitment of Supporting Staff of Humanity and Social Science Faculty Group, Chiang Mai University The independent study purposed to 1) study the intellectual repository level of supporting staffs at Humanity and Social Science Faculty Group, Chiang Mai University 2) study the relationship between personal factors, motivation factors, and hygiene factors towards intellectual repository, and 3) study the guideline to create intellectual repository of officials at the department of Humanities and Social Science, Chiang Mai University. The populations were 140 staffs from the Supporting Staff of Humanity and Social Science Faculty Group, Chiang Mai University. The data was collected by questionnaires in which the questions based on two factors theory of Frederick Herzberg (1959), and intellectual repository concepts of Allen and Meyer (1990). The data was analyzed by frequency, percentage, mean score, and standard deviation. The analysis was compared between two independent factors (Independent – Samples T – Test). The comparison among three groups was analyzed by One – Way ANOVA and Pearson correlation analysis in order to determine the statistical analysis. The difference was found significantly at 0.5. The results found that the personal factors including educational level, work performance period, and average salary had been involved with the intellectual repository. However, gender, age, and working status had not caused any intellectual repository. Motivated factors such as work success, job opportunity and promotion, acceptance, responsibility, and job characteristics greatly effected towards the intellectual repository. Moreover, interpersonal relationship and job stability also greatly effected towards intellectual repository.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่สัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานสาย สนับสนุน ในกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeFactors Related to Organizational Commitment of Supporting Staff of Humanity and Social Science Faculty Group, Chiang Mai Universityen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระเรื่องปัจจัยที่สัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานสายสนับสนุน ในกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานสายสนับสนุน ในกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุน กับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานสายสนับสนุน ในกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการสร้างความผูกพันต่อองค์การของของพนักงานสายสนับสนุน ในกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยทำการศึกษาจาก พนักงานสายสนับสนุน ในกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม โดยกำหนดคำถามตามทฤษฎีสองปัจจัยของ Frederick Herzberg (1959) และแนวคิดความผูกพันต่อองค์การของ Allen and Meyer (1990) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง 2 ตัวแปรที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent–Samples T–Test ) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 3 กลุ่ม (One–Way ANOVA) และ การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงานและ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันต่อองค์การ ในขณะที่ เพศ อายุ และสถานภาพในการทำงาน ไม่มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันต่อองค์การ ปัจจัยจูใจทุกด้าน ได้แก่ ด้านความสำเร็จของงาน ด้านโอกาสที่จะเติบโตและก้าวหน้า ด้านการยอมรับนับถือ ด้านความรับผิดชอบ และด้านลักษณะงาน มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันต่อองค์การในระดับค่อนข้างสูง ปัจจัยค้ำจุนทุกด้าน ได้แก่ ด้านรายได้และค่าตอบแทน ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนบุคคล และด้านความมั่นคงในการทำงาน มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันต่อองค์กรในระดับค่อนข้างสูงen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.