Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69135
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอ.ดร.วรพงศ์ ตระการศิรินนท์-
dc.contributor.authorชาตรี นาชัยเวียงen_US
dc.date.accessioned2020-07-27T07:59:32Z-
dc.date.available2020-07-27T07:59:32Z-
dc.date.issued2015-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69135-
dc.description.abstractA study of the management system in Survey part of Lamphun Land Office had 3 objectives, which were 1) to study about the management concept of Head of Survey department in Lamphun Land Office 2) to study the management process in Survey department of Lamphun Land Office 3) to study the management effectiveness in Survey department of Lamphun Land Office. This study was a qualitative research. The data were collected from individuals concerned with the management model in Survey department of Lamphun Land Office. The researcher used the in-depth interview with 13 individuals, including the land officers, Head of Survey department, and the performing officers. In addition, there were group discussions with representatives of various parties. The results were shown as follows: the management concept; Head of Survey department brought the principle of public management to deploy, especially the Good governance or the new public management adapted to the status and the circumstances or the structure of the management system in their office. The management of Head of Survey department to achieve the goals could be accomplished by several factors such as to understand the subordinates, to use the principle of decentralization, bringing the Good governance to use in the administration, improving the roles of subordinates to suit their abilities and personalities, listening to the opinions of subordinates, and roles and responsibilities were clearly divided. Most importantly, there was the management that took into account the common good over the personal gain, using the power management that focused on the fairness, and the management that looked at the problems from bottom to top. Therefore, the success of management would achieve the purpose. The management of Survey department of Lamphun Land Office used the management principle or management system that took into consideration the policies of the organization. The system had to be related in the operation. The interaction between the organization and the officers had to be linked consistently so that the management process of Survey department would be a process that the organization had systematic management. And there were interactions among Survey department, Lamphun Land Office, and the officers obviously. Thus it could be leading to a more efficient operation itself. The effectiveness of management of Survey department; the executive or Head of Survey department focused on the management that took into account the principle of operation to achieve purpose and considered the organization’s goal by using its resources wisely such as human resources, office supplies, media, etc. Meanwhile, when the resources were used wisely, it had to be maintained in both resources and materials. Using a participatory process to define ways to work together; when working in organization created problems, everybody involved had to take responsibility for the issues or difficulties arise. The organization could adapt to its environment and develop to the existence of the situation. The most important aspects of the operations in organization, everybody had to use the management principle that recognized the worthiness, the break-even point, the convenience of operation, and the groups who had benefited the most satisfaction. The organizational effectiveness evaluations which Survey department used were as follows: 1) adaptation to the environment 2) achieving the goals 3) satisfaction of clients 4) advancement and satisfaction of employees 5) acceptance of society.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการของฝ่ายรังวัด ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดลำพูนen_US
dc.title.alternativeA Study of the Management System in Survey part of Lamphun Land Officeen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่องรูปแบบการบริหารจัดการของฝ่ายรังวัด ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดลำพูน ครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการบริหารงานของหัวหน้าฝ่ายรังวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดลำพูน 2) เพื่อศึกษากระบวนการบริหารจัดการของฝ่ายรังวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดลำพูนว่า มีกระบวนการบริหารจัดการอย่างไร และ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการบริหารงานของฝ่ายรังวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดลำพูน และในการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการของฝ่ายรังวัด ซึ่งผู้ศึกษาใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ได้แก่ เจ้าที่ดินจังหวัดลำพูน หัวหน้าฝ่ายงานรังวัด ช่างรังวัด และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน จำนวนทั้งหมด 13 คน และการสนทนากลุ่มย่อยกับตัวแทนฝ่ายต่างๆ จากการศึกษาพบว่า แนวคิดการบริหารงานของหัวหน้าฝ่ายรังวัดได้นำเอาหลักในการบริหารงานภาครัฐมาปรับใช้ โดยเฉพาะการบริหารจัดการภาครัฐที่ดี (Good governance) หรือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่มาปรับใช้ให้เข้ากับสถานะ สภาวการณ์ หรือโครงสร้างระบบของหน่วยงานที่ตนเองทำอยู่ การบริหารงานของหัวหน้าฝ่ายรังวัดให้บรรลุเป้าหมายง่าย ด้วยปัจจัยหลายๆ ประการ เช่น การเข้าใจ เข้าถึงผู้ใต้บังคับบัญชา การใช้หลักการกระจายอำนาจ การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงาน การปรับบทบาทของผู้ใต้บังคับบัญชาให้เหมาะสมกับความสามารถ บุคลิก การรับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา มีการแบ่งบทบาทหน้าที่กันอย่างชัดเจน สำคัญที่สุดคือ การบริหารงานที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน การใช้อำนาจการบริหารงานที่เน้นความเป็นธรรม และการบริหารงานที่มองปัญหาจากล่างสู่บน จึงทำให้เห็นภาพความสำเร็จของการบริหารจัดการงานรังวัดบรรลุวัตถุประสงค์ ในกระบวนการบริหารจัดการของฝ่ายรังวัดนั้น ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดลำพูนนั้น เป็นการบริหารที่ใช้หลักการหรือกระบวนการบริหารอย่างเป็นระบบ โดยกระบวนการบริหารนั้นจะต้องคำนึงถึงนโยบายขององค์กรเป็นหลัก ในการปฏิบัติงานระบบจะต้องสัมพันธ์ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับพนักงาน จะต้องมีความเชื่อมโยงกันสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง จึงทำให้เห็นว่า กระบวนการบริหารจัดการของฝ่ายรังวัดจึงเป็นกระบวนการที่องค์กรมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน และมีการเชื่อมโยง ปฏิสัมพันธ์ต่อกันระหว่างฝ่ายรังวัด องค์กร และพนักงานฝ่ายปฏิบัติอย่างเห็นได้ชัดเจน จึงนำมาซึ่งประสิทธิภาพของการดำเนินงานนั่นเอง ด้านประสิทธิผลการบริหารจัดการของฝ่ายรังวัดนั้น ผู้บริหารหรือหัวหน้าฝ่ายเน้นการบริหารจัดการที่คำนึงถึงหลักการปฏิบัติงานที่ต้องบรรลุวัตถุประสงค์ และคำนึงถึงเป้าหมายองค์กรโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ทรัพยากรบุคคล อุปกรณ์สำนักงาน สื่อ ฯลฯ ในขณะเดียวกัน เมื่อมีการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่าแล้ว จะต้องมีการดูแลรักษาไว้ซึ่งทั้งทรัพยากรและวัสดุอุปกรณ์และ การใช้กระบวนการมีส่วนร่วมกำหนดแนวทางการทำงานร่วมกัน เมื่อการทำงานในองค์กรเกิดปัญหา ทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องมีความรับผิดชอบต่อปัญหาหรือข้อยุ่งยากที่เกิดขึ้น และองค์การส่วนรวมสามารถปรับตัว และพัฒนาเพื่อดำรงอยู่ต่อไปได้ ประการสำคัญที่สุด การดำเนินงานในองค์กร ทุกคนจะต้องใช้หลักการบริหารที่คำนึงถึง ความคุ้มค่า ความคุ้มทุน และความสะดวก รวดเร็วในการดำเนินงาน และกลุ่มผู้ได้ประโยชน์พึงพอใจมากที่สุด และการประเมินประสิทธิผลขององค์การที่ฝ่ายรังวัดนำมาใช้ คือ 1) การปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม 2) การบรรลุเป้าหมาย 3) ความพึงพอใจของผู้รับบริการ 4) ความก้าวหน้าและความพึงพอใจของบุคลากร และ 5) การให้การยอมรับของสังคมen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.