Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69075
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล-
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร. บุญพิชชา จิตต์ภักดี-
dc.contributor.authorจิราพร ดำงามen_US
dc.date.accessioned2020-07-24T01:22:00Z-
dc.date.available2020-07-24T01:22:00Z-
dc.date.issued2014-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69075-
dc.description.abstractContinuity of care and patient safety are enhanced with effective communication between nurses in the anesthesia unit and recovery room. The purpose of this study was to improve communication at the time of handoff between nurses in the anesthesia unit and recovery room at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital. Study methodology was guided by the FOCUS PDCA quality improvement process (Deming, 1993) which consisted of nine steps: find a process to improve; organize a team that knows the process; clarify current knowledge of the process; understand causes of process variation; select the processes improvement; plan the improvement; do the improvement; check the result, data collection and analysis; and act to hold the gain and continue improvement. The study sample included 10 registered nurses in the anesthesia unit. The research instruments included interview guidelines and the handoff communication observation checklist. Data were analyzed by descriptive statistics. The researcher used the FOCUS PDCA process to guide development a handoff protocol between nurses in the anesthesia unit and the recovery room as well as a handoff form. The anesthesia nurses were trained in the handoff protocol and all were encouraged to comply with the protocol. Following training, 99% of anesthesia nurses were compliant with the protocol. While the quality of communication at handoff times between nurses in the two units improved, some problems occurred between the senders and receivers during the handoff process. Sending nurses did not have sufficient time to complete all items in the handoff form and failed to provide essential patient data to receiving nurses. Problems identified with the receiving nurses included lack of time to have a handoff discussion and not paying attention during the discussion as sending nurses explained patient status. This study demonstrates an improvement in handoff communication between nurses in anesthesia unit and recovery room through FOCUS PDCA, handoff communication protocol and handoff communication form. Nursing administrators can apply this improvement methodology to improve communication between departments within and outside the hospital.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาคุณภาพการสื่อสารสำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยระหว่าง หน่วยวิสัญญีและห้องพักฟื้น โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeCommunication Quality Improvement for Patient Transfer Between Anesthetic Unit and Recovery Room, Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospitalen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างพยาบาลในหน่วยวิสัญญีและพยาบาลห้องพักฟื้นช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและเกิดความปลอดภัย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการสื่อสารในเวลาที่มีการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างพยาบาลในหน่วยวิสัญญีและพยาบาลห้องพักฟื้น โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ วิธีดำเนินการศึกษานี้อาศัยกระบวนการปรับปรุงคุณภาพโฟกัสพีดีซีเอ (Deming, 1993) ซึ่งประกอบด้วย 9 ขั้นตอนได้แก่ การค้นหากระบวนการในการปรับปรุงคุณภาพ การสร้างทีมงานให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการ การทำความเข้าใจกระบวนการที่จะปรับปรุง การทำความเข้าใจถึงสาเหตุของความแปรปรวนของกระบวนการ การเลือกวิธีการปรับปรุงกระบวนการ การวางแผนในการปรับปรุง การนำไปปฏิบัติ การตรวจสอบการปฏิบัติ และการยืนยันการดำเนินการและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้คือ พยาบาลในหน่วยวิสัญญีจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษาคือ แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม และแบบสังเกตการสื่อสารในเวลาที่มีการส่งต่อผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา กระบวนการโฟกัสพีดีซีเอช่วยให้ผู้วิจัยสามารถพัฒนาแนวทางในการสื่อสารสำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยระหว่างพยาบาลในหน่วยวิสัญญีและพยาบาลห้องพักฟื้น และแบบฟอร์มการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วย จากนั้นมีการฝึกอบรมพยาบาลวิสัญญีให้มีความเข้าใจแนวทางการสื่อสารในเวลาที่มีการส่งต่อผู้ป่วย และกระตุ้นให้ปฏิบัติตามแนวทางที่สร้างขึ้น ภายหลังการอบรม พบว่า ร้อยละ 99 ของพยาบาลวิสัญญี สามารถปฏิบัติตามแนวทางได้ ส่งผลทำให้คุณภาพการสื่อสารในเวลาที่มีการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างพยาบาลในหน่วยวิสัญญีและห้องพักฟื้นดีขึ้น ถึงแม้ว่าคุณภาพของการสื่อสารในเวลาที่มีการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างพยาบาลในสองหน่วยงานจะดีขึ้น แต่ยังพบว่ามีปัญหาเกิดขึ้นกับผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูลในกระบวนการสื่อสาร ได้แก่ ผู้ส่งข้อมูลไม่มีเวลาเพียงพอในการบันทึกข้อมูลในแบบฟอร์มการส่งต่อผู้ป่วย และไม่สามารถส่งต่อข้อมูลที่จำเป็นของผู้ป่วยให้ผู้รับข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิผล ปัญหาในด้านผู้รับข้อมูลพบว่าไม่มีเวลาในการซักถามข้อมูลเพิ่มเติมและขาดความใส่ใจในการรับฟังข้อมูลจากผู้ส่งข้อมูล การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการใช้กระบวนการโฟกัสพีดีซีเอ แนวทางในการสื่อสารสำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และแบบฟอร์มการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยช่วยในการปรับปรุงคุณภาพการสื่อสารสำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยระหว่างพยาบาลวิสัญญีและพยาบาลห้องพักฟื้น ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำวิธีการพัฒนาคุณภาพการสื่อสารในการศึกษานี้ไปใช้ในปรับปรุงการสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในโรงพยาบาลและภายนอกโรงพยาบาลen_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.