Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69008
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร. พนม กุณาวงค์-
dc.contributor.authorวาฐิตา ณ เชียงใหม่en_US
dc.date.accessioned2020-07-22T02:08:00Z-
dc.date.available2020-07-22T02:08:00Z-
dc.date.issued2015-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69008-
dc.description.abstractThe purposes of this study are 1) analyze the implementing methods of the Royal Initiative in the Forest and Environment Reservation Pangbong Village, Doi Saket District, Chiang Mai Province projects and 2) analyze the community network factors of the Pangbong Village that associate with the Forest and Environment Reservation projects. In this study use the qualitative research methodology in the actual study location by interviewing 2 groups of the community network representatives, including: 2 person of the projects’ officers, who administrate that projects, and 15 randomize members of Pangbong’s community network. Totally, there are 17 interviewees from the both groups. Then the triangulation analysis has been applied to prove the data correction in this study. The results of this study found the robustness and the durability of Pangbong’s community network are compose from many factors. The first is the background in the network formation phase. It included the critical of the community’s problem about the natural resources. Secondly, the villagers have the unity objectives to adopt the Royal Initiatives under His Majesty King Bhumibol Adulyadej for preserved the natural resources in the watershed areas. Thirdly, the structure of the network is support their participation activities. Fourthly, the network members have full-mesh interaction according with their cultural and lifestyle. Fifthly, there are the network expansion features that appropriate with the community context. Lastly, there are always managing the knowledge of network’s members in appropriate methods. Finally, there are a few suggestions for this project’s stakeholders to managing project efficiently, including: 1) the networks administrators should minded some network’s members who play a role as informal networks collaborators. 2) The networks administrators should facilitate the networks to coordinate with another networks for the robustness and the durability of community networks. 3) Finding solutions or creating some activities that help the members can produce their products all over the year. 4) Promoting Pangbong’s model for another projects that have similarity context.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการวิเคราะห์เครือข่ายหมู่บ้านพิทักษ์ป่ารักษาสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านปางบง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeAnalysis of the Forest and Environment Reservation Pangbong Village Network, Doi Saket District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่องการวิเคราะห์เครือข่ายหมู่บ้านพิทักษ์ป่ารักษาสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านปางบง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)วิเคราะห์ถึงลักษณะและวิธีการน้อมนำแนวพระราชดำริมาใช้ในการดำเนินโครงการหมู่บ้านพิทักษ์ป่ารักษาสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านปางบง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ และ 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของเครือข่ายชุมชนหมู่บ้านปางบง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ที่เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านพิทักษ์ป่ารักษาสิ่งแวดล้อม ในการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพในพื้นที่ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ตัวแทนเครือข่ายจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารโครงการจำนวน 2 คน และกลุ่มตัวแทนเครือข่ายชุมชนจำนวน 3 เครือข่าย เครือข่ายละ 5 คน รวมเป็น 15 คน รวมเป็นผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้นจำนวน 17 คน และทำการตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลแบบสามเส้า ผลการศึกษาพบว่า ความเข้มแข็งและยั่งยืนของเครือข่ายชุมชนบ้านปางบง ประกอบขึ้นจากปัจจัยต่างๆ รวมกัน เริ่มตั้งแต่เรื่องราวในช่วงการเริ่มก่อตัวของเครือข่าย ได้แก่ลักษณะและภาวะวิกฤตของปัญหาความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมในชุมชน การร่วมแรงร่วมใจสนองแนวพระราชดำริในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ ทำให้เครือข่ายเกิดการก่อตัวในรูปแบบและโครงสร้างที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนที่มีลักษณะวิถีชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกัน ส่งผลให้การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในเครือข่ายมีลักษณะแบบทั่วถึงกัน นอกจากนั้นเครือข่ายยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ช่วยส่งเสริมการสร้าง ความยั่งยืนของเครือข่าย ได้แก่ มีกระบวนการสร้างองค์ความรู้ให้กับเครือข่าย และการมีรูปแบบ การขยายตัวของเครือข่ายที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน จากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาประกอบกันส่งผลถึงความเข้มแข็งและยั่งยืนของเครือข่ายหมู่บ้านพิทักษ์ป่ารักษาสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านปางบง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) ควรให้ความสำคัญกับสมาชิกที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นผู้ประสานงานระหว่างเครือข่ายย่อย 2) ควรส่งเสริมการประสานงานกับเครือข่ายอื่นๆ ภายนอกชุมชน เพื่อเพิ่มความยั่งยืนให้กับเครือข่าย 3) ควรส่งเสริมหรือปรับกิจกรรมของเครือข่ายให้สามารถมีผลผลิตได้ครอบคลุมตลอดปี และ 4) ควรสนับสนุนเครือข่ายชุมชนบ้านปางบงให้เป็นเครือข่ายต้นแบบสำหรับโครงการอื่นๆ ที่มีบริบทที่ใกล้เคียงกันen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.