Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68990
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กมล งามสมสุข-
dc.contributor.advisorศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร.อารี วิบูลย์พงศ์-
dc.contributor.authorน้ำฝน สังเกตุen_US
dc.date.accessioned2020-07-21T06:06:12Z-
dc.date.available2020-07-21T06:06:12Z-
dc.date.issued2015-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68990-
dc.description.abstractArabica coffee is mostly consumed in the form of brewed coffee. It has a unique taste and aroma. Recently consumers pay more attention on organic products due to their ability to preserve the environment in the production process and safe to consume. Organic Arabica coffee has therefore market potential. This study has three objectives. Firstly, it is to know consumers’ consumption and purchasing behaviors for brewed coffee. Secondly, it is to know consumers’ preferences for attributes of brewed organic Arabica coffee. And finally, it is to estimate willingness to pay for attributes of organic Arabica coffee. The study focused on brew organic Arabica iced coffee. It employed traditional Conjoint analysis as main research methodology. The study interviewed 300 brew Arabica coffee consumers in 2014. These consumers were randomly selected using accidental sampling technique. Descriptive statistics was employed to analyze the consumers’ consumption and purchasing behavior. While SPSS Conjoint Program was used to analyze the consumers’ preferences for attributes of brew Arabica coffee. The results from Conjoint analysis were used to compute consumers’ willingness to pay for attributes of brew Arabica coffee. The study on consumers’ consumption and purchasing behaviors revealed that majority of consumers (54%) drank brew coffee for 1-3 glasses per week. Sixty-two percent of consumers mentioned that self-refreshing was their purpose of drinking brew coffee. Fifty-five percent of them bought brew coffee from medium size coffee shops while 63 percent of them bought it from coffee shops in the city. The brew coffee consumers (73%) preferred to buy brew coffee from coffee shops located on hillside or in the garden when they had chance. According to the sizes of brew coffee, 63 percent of consumers purchased the 16 ounce-size. Sixty-five percent of them indicated that the factors affecting their decision to by brew coffee was its taste. Surprisingly, only 46 percent of consumers knew organic coffee. However, more proportion of those who knew organic coffee were high educated ones. An analysis on consumers’ preferences for attributes of brew organic Arabica coffee showed consumers paid highest attention on price (weighted 31%) followed by size (weighted 27%), being organic coffee (weighted 24%) and type of coffee shop (weighted 18%). In details, consumers’ satisfaction would be statistically higher as price decreased or sizes of glasses increased. Especially, consumers’ satisfaction also increased when brew Arabica coffee posed an organic attribute and came from larger coffee shop. When the study computed for willingness to pay, it was found that consumers were willing to pay as much as 120.88 bath/glass when brew Arabica coffee was a non-organic type, large size (22 ounces) and bought from large coffee shop. If this mentioning brew Arabica coffee changed to organic type they were willing pay as high as 139.36 baht/glass. The results showed that consumers’ willingness to add up 18.48 bath/glass for an organic attribute of brew Arabica coffee. The study confirmed that brew organic Arabica coffee has its market potential. It is thus suggested that brew coffee shop owners should use organic Arabica coffee to serve their customers. In addition, they should also try to make story about Arabica coffee production, consumption and its environmental conservative property for the customers in order to convince them to buy more brew organic Arabica coffee.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความพึงพอใจและความเต็มใจจ่ายต่อคุณลักษณะกาแฟอาราบิก้าอินทรีย์ของผู้บริโภคen_US
dc.title.alternativeConsumers’ Satisfaction and Willingness to Pay for Organic Arabica Coffee Attributesen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractกาแฟอาราบิก้านิยมนำมาชงเป็นกาแฟสดซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากด้วยรสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ในขณะเดียวกันผู้บริโภคก็ได้ให้ความสำคัญกับสินค้าอาหารที่ผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยอนุรักษ์ป่าต้นน้ำแล้วยังเป็นผลผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค การแฟอาราบิก้าอินทรีย์จึงเป็นสินค้าที่น่าจะมีโอกาสทางการตลาด การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อทราบลักษณะและพฤติกรรมการซื้อกาแฟสดของผู้บริโภคกาแฟ 2) เพื่อทราบความพึงพอใจต่อคุณลักษณะกาแฟอินทรีย์ของผู้บริโภค 3) เพื่อทราบมูลค่าความเต็มใจจะจ่าย (willingness to pay) ของผู้บริโภคกาแฟต่อคุณลักษณะกาแฟอินทรีย์ การศึกษานี้มุ่งเน้นศึกษากาแฟสดอาราบิกาอินทรีย์ชนิดเย็น ทำการศึกษาด้วยวิธี Traditional Conjoint Analysis โดยทำการสำรวจข้อมูลในปี 2557 จากผู้บริโภคกาแฟจำนวน 300 ราย ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบพบโดยบังเอิญ (accidental sampling) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและใช้โปรแกรม SPSS Conjoint ในการวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อคุณลักษณะต่างๆ พร้อมคำนวณค่าความเต็มใจจ่าย ผลจากการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (ร้อยละ 54) ดื่มกาแฟสด 1-3 แก้วต่อสัปดาห์ ผู้บริโภคร้อยละ 62 มีวัตถุประสงค์ในการดื่มเพื่อลดอาการง่วงนอน ร้อยละ 57 ของผู้บริโภคเลือกซื้อกาแฟสดร้านขนาดกลาง และร้อยละ 63 เลือกซื้อกาแฟที่เป็นร้านทั่วไปในตัวเมือง ในส่วนร้านที่ผู้บริโภคส่วนมาก (ร้อยละ73) ชื่นชอบและจะไปซื้อกาแฟสดเมื่อมีโอกาสคือร้านกาแฟที่อยู่บนดอยหรืออยู่ในสวนกาแฟ ขนาดแก้วกาแฟที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (ร้อยละ 63) ซื้อเป็นกระจำคือแก้วขนาด 16 ออนซ์ ผู้บริโภคร้อยละ 65 ระบุว่าปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคกาแฟมากที่สุดคือด้านรสชาติกาแฟ ในส่วนของกาแฟอินทรีย์ มีผู้บริโภครู้จักเพียง ร้อยละ 46 และผู้บริโภคที่มีการศึกษามากขึ้นจะรู้จักกาแฟอินทรีย์เพิ่มขึ้น ผลการศึกษาที่ได้จากแบบจำลองความพึงพอใจของกาแฟสดอาราบิก้าอินทรีย์ พบว่าผู้บริโภคให้น้ำหนักความพึงพอใจกับคุณลักษณะด้านราคามากที่สุด (ร้อยละ 31) รองลงมาเป็นขนาดของแก้ว (มีน้ำหนักความสำคัญร้อยละ 27) ความเป็นกาแฟอินทรีย์ (มีน้ำหนักความสำคัญร้อยละ 24) และสถานที่จำหน่ายกาแฟสด (มีน้ำหนักความสำคัญร้อยละ 18) โดยผู้บริโภคจะมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อราคาของกาแฟสดลดลงหรือเมื่อขนาดแก้วกาแฟใหญ่ขึ้นประเด็นที่สำคัญคือ ผู้บริโภคจะมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นเมื่อกาแฟอาราบิก้าสดที่ซื้อบริโภคเป็นกาแฟอินทรีย์หรือเป็นกาแฟอาราบิก้าสดที่ซื้อจากร้านกาแฟมีขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อทำการคำนวณค่าความเต็มใจจ่ายกาแฟสดอาราบิก้าอินทรีย์พบว่า ผู้บริโภคมีความเต็มใจจ่ายต่อกาแฟสดอาราบิก้าทั่วไป แก้วขนาดใหญ่ (22 ออนซ์) ที่ซื้อจากร้านกาแฟขนาดใหญ่ เท่ากับ 120.88 บาทต่อแก้ว และเมื่อเปลี่ยนจากกาแฟทั่วไปที่มีคุณลักษณะอื่นๆเช่นเดียวกันเป็นกาแฟอินทรีย์ พบว่าผู้บริโภคมีความเต็มใจจ่ายเพิ่มขึ้นเป็น 139.36 บาทต่อแก้ว ซึ่งจะเห็นได้ว่าหากเปลี่ยนจากกาแฟทั่วไปเป็นกาแฟอินทร์ผู้บริโภคจะมีความเต็มใจจ่ายเพิ่มขึ้น 18.48 บาทต่อแก้ว ผลการศึกษาข้างต้นชี้ให้เห็นว่าเป็นการยืนยันว่ากาแฟสดอาราบิก้าอินทรีย์มีโอกาสทางการตลาด ดังนั้นผู้ประกอบการธุรกิจร้านกาแฟสดควรใช้กาแฟอาราบิก้าอินทรีย์เป็นวัตถุดิบในการให้บริการกาแฟสดแก่ลูกค้า และนำเรื่องราวที่เกี่ยวกับการผลิต การบริโภค และคุณสมบัติการมีส่วนช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของกาแฟสดอาราบิก้าอินทรีย์มาเล่าให้ผู้บริโภครับรู้ เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาซื้อกาแฟสดอาราบิก้าอินทรีย์ดื่มมากขึ้นen_US
Appears in Collections:AGRI: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf3.68 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.