Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68985
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิกุล นันทชัยพันธ์ | - |
dc.contributor.author | นางจิรารัชต์ คำใจ | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-07-21T05:52:10Z | - |
dc.date.available | 2020-07-21T05:52:10Z | - |
dc.date.issued | 2015-05 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68985 | - |
dc.description.abstract | Chronic obstructive pulmonary disease (COPD), is a disease causing obstruction of the airway and which adversely affect the respiratory system and the other organs. Pulmonary rehabilitation can slow the progression of the disease, and patients’ adherence to pulmonary rehabilitation is essential for improving their care outcome. This operational study aimed to verify the effectiveness of implementing the Empowerment Program Pulmonary Rehabilitation for persons with COPD (EPPR) developed by Kumjai, Srisaard and Ngamchen (2012). The study was conducted at a community hospital in Chiang Mai province from April to August 2014. The study participants composed of 213 persons with COPD, 147 before program implementation and 66 after program implementation. The framework of implementing evidence proposed by the National Health and Medical Research Council of Australia (National Health and Medical Research Council [NHMRC], 1999) was used as the framework of program implementation for this study. Patient behavior and health service utilization were evaluated for outcome of program implementation. Data were analyzed by using descriptive statistics. The study results revealed that: 1. The percentage of study participants who showed good practice of pulmonary rehabilitation was 48.29% and 89.39% for before and after EPPR implementation respectively. 2. The percentage of study participants who utilized health services due to dyspnea exacerbation for before and after the EPPR implementation was 44.90% and 84.84%, respectively. The findings of this study confirm the effectiveness of implementing the EPPR in terms of improving behavior for lung rehabilitation among people with COPD. The researcher recommends long term implementation of EPPR to ensure sustainability of the outcomes. Further study should be conducted in order to test other outcome. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดสำหรับผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Effectiveness of Implementing Empowerment Program on Pulmonary Rehabilitation for Persons with Chronic Obstructive Pulmonary Disease, Chiang Dao Hospital, Chiang Mai Province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นโรคที่ก่อให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ และอวัยวะอื่น ๆ การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดสามารถชะลอความก้าวหน้าของโรคได้ การปฏิบัติตัวตามกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดอย่างสม่ำเสมอ จึงมีความสำคัญต่อการยกระดับผลลัพธ์ของการดูแล การศึกษาปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดสำหรับผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังซึ่งพัฒนาโดย จิรารัชต์ คำใจ สุวรรณา ศรีสะอาด และปรียาภรณ์ งามชื่น (2555) ทำการศึกษาในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่เดือน เมษายน ถึง สิงหาคม 2557 กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยผู้เป็น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจำนวน 213 ราย แบ่งเป็นกลุ่มก่อนการใช้โปรแกรมจำนวน 147 ราย และกลุ่มหลังการใช้โปรแกรมจำนวน 66 ราย การดำเนินการใช้โปรแกรมในการศึกษาครั้งนี้อิงตามกรอบแนวคิดการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ที่เสนอโดยสภาวิจัยด้านสุขภาพและการแพทย์แห่งชาติ (National Health and Medical Research Council [NHMRC], 1999) ประเมินผลลัพธ์จากการปฏิบัติตัวในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด และจำนวนครั้งของการมาใช้บริการสุขภาพที่มีสาเหตุมาจากอาการหายใจหอบเหนื่อยกำเริบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1. ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่มีคะแนนการปฏิบัติตัวในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในระดับดี ในกลุ่มตัวอย่างที่มารับบริการก่อนการใช้โปรแกรม และกลุ่มตัวอย่างที่มารับบริการหลังการใช้โปรแกรมคิดเป็นร้อยละ 48.29 และ 89.39 ตามลำดับ 2. ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่มีการใช้บริการด้านสุขภาพที่มีสาเหตุมาจากอาการหายใจหอบเหนื่อยกำเริบของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการนำโปรแกรมมาใช้ คิดเป็นร้อยละ 44.90 และ 84.84 ตามลำดับ ผลของการศึกษาครั้งนี้สามารถยืนยันความมีประสิทธิผลของการนำโปรแกรมสร้างเสริมพลังอำนาจในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดต่อการส่งเสริมพฤติกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดสำหรับผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ศึกษาเสนอแนะให้มีการศึกษาระยะยาวเพื่อยืนยันความยั่งยืนของผลลัพธ์ และการศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาผลลัพธ์ด้านอื่นด้วย | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 4.09 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.