Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68966
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อาจารย์ ดร.วรพงศ์ ตระการศิรินนท์ | - |
dc.contributor.author | พัชรินทร์ อินโอ้ | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-07-21T05:46:32Z | - |
dc.date.available | 2020-07-21T05:46:32Z | - |
dc.date.issued | 2015-09 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68966 | - |
dc.description.abstract | The purposes of the study of Evaluation of the Effectiveness of Trade Strategy in Mae Hong Son Border were 1) To evaluate the efficiency of Border Trading Strategy Project in Mae Hong Son. 2) To study the problems and obstacles of Border Trading Strategy Project in Mae Hong Son. 3) To study the participation of participants for the operation of Border Trading Strategy Project in Mae Hong Son. This study utilized a blended learning approach which included quantitative and qualitative studies. In addition this study used CIPP as evaluation model and selected 3 sample groups to participate. The first group were 6 staff from the project; the second group were 10 traders from the border and the last group were 354 of local people who lived near the trade concessions border Baan Houy Ton Nuon, Khun Yorm District, Mae Hong Son Province. Data collection were obtained by analyzing the contents in the documents of the project and the summary of the operating reports, interviewing the staff from the project and the traders from the border. The measurements criteria and indicators to evaluate the project, according to the objectives of the project and how to achieve them were set thereafter. Furthermore, this study also used the percentage, mean and standard deviation to explain the degree of opinions for the involvement, complacency, and the benefits from Border Trading Strategy Project in Mae Hong Son. The study found that the efficiency of Border Trading Strategy Project in Mae Hong Son according to the organizer’s objectives was at a moderate level. The efficiency of meeting the demand of the target group was at a poor level. For the problems and obstacles of the project were the system and the law of Department of National Park, Wildlife and Plant Conservation which made it hard to develop in order to fully expand the trading area. In Addition, the organization that was responsible for road development did not undertake feasibility studies and suitability of the area for contraction. The study also found that some organization had inconsistency of the objectives, the detail of the activities and the indicators therefore it was unable to evaluate the project. For the involvement of participants of the project found the local people thought the participating of the participants was at a low level. The government was unable to inform the project thorough all the areas. It was only a handful of traders near the border who knew about the project. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การประเมินประสิทธิผลโครงการตามยุทธศาสตร์ด้านการค้าชายแดนของจังหวัดแม่ฮ่องสอน | en_US |
dc.title.alternative | Project Effectiveness Evaluation of Mae Hong Son Border Trade Strategy | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การค้นคว้าแบบอิสระ เรื่อง การประเมินประสิทธิผลโครงการตามยุทธศาสตร์ด้านการค้าชายแดนของจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ประกอบด้วย 1) เพื่อประเมินประสิทธิผลของโครงการตามยุทธศาสตร์ด้านการค้าชายแดนของจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินโครงการตามยุทธศาสตร์ด้านการค้าชายแดนของจังหวัดแม่ฮ่องสอน 3) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการดำเนินงานตามโครงการตามยุทธศาสตร์ด้านการค้าชายแดนของจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเป็นการศึกษาในรูปแบบผสม ทั้งเชิงคุณภาพ และการศึกษาเชิงปริมาณ ซึ่งได้นำรูปแบบการประเมิน CIPP Model เป็นแนวทางในการประเมินประสิทธิผล ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้ ได้กำหนดกลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ เจ้าหน้าที่โครงการ จำนวน 6 คน ผู้ประกอบการค้าชายแดน จำนวน 10 คน และประชาชนในชุมชนใกล้เคียงจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนบ้านห้วยต้นนุ่น อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 354 คน ทั้งนี้ ได้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาของข้อมูลจากเอกสารโครงการ และรายงานสรุปผลการดำเนินงานของหน่วยงาน การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่โครงการ และผู้ประกอบการค้าชายแดน พร้อมทั้งได้กำหนดเกณฑ์การวัดประสิทธิผลโครงการ โดยเปรียบเทียบความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของโครงการ และการบรรลุตัวชี้วัดของโครงการ นอกจากนี้ ได้วิเคราะห์ความคิดเห็นจากแบบสอบถามประชาชน โดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่ออธิบายระดับความคิดเห็นของการมีส่วนร่วม ระดับความคิดเห็นของความพึงพอใจ และระดับความคิดเห็นของของการได้รับประโยชน์จากโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการค้าชายแดนของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผลการศึกษา พบว่า การดำเนินโครงการตามยุทธศาสตร์ด้านการค้าชายแดนของจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีประสิทธิผลตามกรอบของหน่วยงาน อยู่ในระดับปานกลาง และมีประสิทธิผลในด้านการตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย อยู่ในระดับน้อย สำหรับปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินโครงการฯ ที่สำคัญ คือ เรื่องระเบียบ ข้อกฎหมายของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งทำให้การพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับการขยายตัวของ การค้าชายแดนไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ ตลอดจนหน่วยงานที่รับผิดชอบกิจกรรมโครงการด้านการพัฒนาเส้นทางการคมนาคมเข้าสู่จุดผ่อนปรนการค้าชายแดน ขาดการศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสมของพื้นที่ในการดำเนินการก่อสร้างปรับปรุง อีกทั้ง ยังพบว่าบางหน่วยงานเขียนวัตถุประสงค์โครงการ รายละเอียดกิจกรรม และตัวชี้วัดไม่สอดคล้องกัน ทำให้ไม่สามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามเป้าหมายโครงการได้ ในส่วนของการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า ประชาชนมีความเห็นว่า การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการดำเนินโครงการฯ อยู่ในระดับน้อย จังหวัดยังไม่สามารถประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการให้ประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทราบอย่างทั่วถึง มีเพียงผู้ประกอบการค้าชายแดนบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมและรับทราบข้อมูลข่าวสารการดำเนินโครงการ | en_US |
Appears in Collections: | POL: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 2.92 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.