Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68946
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.อลงกรณ์ คูตระกูล-
dc.contributor.authorชัยพงศ์ จันทรางกูรen_US
dc.date.accessioned2020-07-21T05:41:38Z-
dc.date.available2020-07-21T05:41:38Z-
dc.date.issued2015-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68946-
dc.description.abstractThe study of The Development of Child and Youth by School Bank Project of Government Saving Bank in Mueang Chiang Mai District had 4 objectives, which were: (1) to study the role of Government Saving Bank on Child and Youth Development according to School Bank Project of Government Saving Bank in Mueang Chiang Mai District (2) to study the implementation process of child and youth development by School Bank Project of Government Saving Bank (3) to study and contribute to the development of knowledge management models for the bank staffs in implementation of child and youth development according to School Bank Project of Government Saving Bank (4) to study the potentials of cooperation, participation of educational institutions, and teachers in institutions on the development of child and youth by School Bank Project of Government Saving Bank. This study was a qualitative research. Researcher collected data from individuals concerned with School Bank Project in Mueang Chiang Mai District included the bank staffs, educational institutions, professors/teachers in institutions. The total numbers of individuals were 12 persons. The data were collected by in-depth interviews, observation without participation, and study of the documents concerned. The study found that the knowledge management models of knowledge transfer in child and youth development on saving, working with others, and using time wisely via “School Bank Project” of Government Saving Bank were caused by the bank, the educational institutions, and the teachers recognized the importance of child and youth. Because of child and youth, they liked the hope of society and major force in national development. Creating and providing opportunities to develop their potentials for shaping the future of the country to move ahead were absolutely necessary. Therefore, to support child and youth in constructive activities with good dimensions of physical health, mental health, social well-being, and intellectual health by “School Bank Project” of Government Saving Bank was the prototype in creating the well-being of child and youth to be effective. The bank officials who had knowledge about banking developed their knowledge to be the knowledge base and transferred it to the educational institutions, teachers, and child and youth in schools. Therefore, transfer of knowledge was the manner in which knowledge transfer through working process of school bank and it cultivated the habit of saving, working with others, and spending time wisely simultaneously. The important suggestions of this study were (1) the bank should develop the inspection system of saving properly to prevent the corruption problems (2) the bank should enhance forms of presentation for School Bank Project (3) the child and youth development due to School Bank Project should develop a project in form of more networks extension or prospects extension widely (4) there should be extending opportunities to promote the saving to occur in schools such as schools in rural areas (5) the development of School Bank Project due to the support of Government Saving Bank should create more networks to carry out this project with other banks in future.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาเด็กและเยาวชน ตามโครงการธนาคารโรงเรียนของธนาคารออมสิน ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeThe Development of Child and Youth by School Bank Project of Government Saving Bank in Mueang Chiang Mai Districten_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษา เรื่อง การพัฒนาเด็กและเยาวชน ตามโครงการธนาคารโรงเรียนของธนาคารออมสินในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ ได้แก่ (1) เพื่อศึกษาบทบาทของธนาคารออมสิน ในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ตามโครงการธนาคารโรงเรียนของธนาคารออมสินในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ (2) เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงาน ในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ตามโครงการธนาคารโรงเรียนของธนาคารออมสิน(3)เพื่อศึกษาและนำไปสู่แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของเจ้าหน้าที่ธนาคาร ในการดำเนินงานในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ตามโครงการธนาคารโรงเรียนของธนาคารออมสิน (4)เพื่อศึกษาถึงศักยภาพในความร่วมมือ การมีส่วนร่วมของสถาบันศึกษา และอาจารย์ในสถาบันการศึกษา ในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ตามโครงการธนาคารโรงเรียนของธนาคารออมสิน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับโครงการธนาคารโรงเรียน ในเขตพื้นที่อำเมืองเชียงใหม่ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ธนาคาร สถาบันการศึกษา อาจารย์/ครูในสถาบันการศึกษา จำนวนทั้งหมดจำนวน 12 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่า รูปแบบการจัดการความรู้การถ่ายทอดความรู้ในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ในเรื่องการออม การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ผ่าน “ธนาคารโรงเรียน” ของธนาคารออมสินนี้ เกิดจากการที่ธนาคารออมสิน สถาบันการศึกษา และอาจารย์ในสถาบันการศึกษาเห็นความสำคัญของเด็กและเยาวชน เนื่องจากเด็กและเยาวชน เป็นเหมือนความหวังของสังคม เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ การสร้างและเปิดโอกาสให้พวกเขาพัฒนาศักยภาพสำหรับการสร้างอนาคตของประเทศให้เจริญก้าวหน้าจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นการสนับสนุนเด็กและเยาวชนในกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อให้เขามีสุขภาวะที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและปัญญา “ธนาคารโรงเรียน” ของธนาคารออมสินจึงเป็นต้นแบบในการสร้างเสริมสุขภาวะของเด็กและเยาวชนให้มีประสิทธิภาพ โดยเจ้าหน้าที่ธนาคารเป็นผู้ที่มีความรู้ในเรื่องธนาคาร และได้มีการพัฒนาความรู้มาเป็นองค์ความรู้ แล้วมาถ่ายทอดให้แก่สถาบันการศึกษา อาจารย์ และเด็กและเยาวชนในโรงเรียน ดังนั้นการถ่ายทอดความรู้จึงเป็นในลักษณะที่มีการถ่ายทอดความรู้ผ่านกระบวนการทำงานของธนาคารโรงเรียนและทั้งนี้จึงมีการปลูกฝังนิสัยการออม การทำงานร่วมกับผู้อื่น การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ควบคู่กันไป ข้อเสนอแนะที่สำคัญจากการศึกษานี้ได้แก่ (1) ธนาคารออมสินควรพัฒนาระบบการตรวจสอบระบบการออมเงินให้รัดกุม เพื่อป้องกันปัญหาการทุจริต คอรัปชั่นที่จะเกิดขึ้น (2) ธนาคารออมสินควรเพิ่มรูปแบบการนำเสนอโครงการธนาคารโรงเรียน (3) การพัฒนาเด็กและเยาวชนตามโครงการธนาคารโรงเรียน ควรจะมีการพัฒนาโครงการในรูปแบบให้มีการขยายเครือข่ายหรือกลุ่มเป้าหมายในวงกว้างมากขึ้น(4) ควรขยายโอกาสในการส่งเสริมการออมให้เกิดขึ้นในโรงเรียน เช่น โรงเรียนในต่างจังหวัดที่ห่างไกลความเจริญ (5)การพัฒนาโครงการธนาคารโรงเรียนที่เกิดจากการสนับสนุนของธนาคารออมสินนั้น ในอนาคตควรมีการสร้างเครือข่ายการดำเนินโครงการนี้กับธนาคารอื่นๆ ด้วยen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.6 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.